SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์การอนามัยโลกเผย ไมโครพลาสติกที่ปะปนอยู่ในน้ำที่เราดื่ม ยังไม่ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพในตอนนี้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (UoN) ประเทศออสเตรเลียระบุว่า หากเฉลี่ยแต่ละสัปดาห์คนเราจะบริโภคพลาสติกชิ้นเล็กๆเข้าไปประมาณ 2,000 ชิ้น

วันที่ 23 ส.ค. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วานนี้(22 ส.ค. 2562) องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าไมโครพลาสติก (microplastic) หรือพลาสติกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งปะปนอยู่ในน้ำที่เราดื่ม ยังไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพในขณะนี้

ดร.มาเรีย เนรา ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และปัจจัยสังคมต่อสุขภาพ (PHE) สังกัดองค์การฯ กล่าวว่า“ข้อมูลอันจำกัดที่เรามีตอนนี้ชี้ว่าไมโครพลาสติกในน้ำดื่มยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในตอนนี้ แต่เรายังคงต้องศึกษากันต่อไป รวมถึงต้องหยุดยั้งการปนเปื้อนของพลาสติกทั่วโลกด้วย เราต้องศึกษาผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสุขภาพโดยเร่งด่วน เพราะไมโครพลาสติกมีอยู่ทุกที่”

การศึกษาที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 โดยมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (UoN) ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่าคนเรารับพลาสติกเข้าไปในร่างกายโดยเฉลี่ย 5 กรัมต่อสัปดาห์ ซึ่งมีน้ำหนักใกล้เคียงกับบัตรเครดิต 1 ใบ โดยแต่ละสัปดาห์ คนเราจะบริโภคพลาสติกชิ้นเล็กๆ เข้าไปประมาณ 2,000 ชิ้น คิดเป็น 21 กรัมต่อเดือน หรือมากกว่า 250 กรัมต่อปี

มาร์โก ลัมแบร์ตินี ผู้อำนวยการทั่วไปขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ระดับนานาชาติ เปิดเผยว่า “ผลการศึกษาเหล่านี้เป็นคำเตือนถึงรัฐบาลประเทศต่างๆ เพราะพลาสติกไม่ได้แค่กำลังปนเปื้อนมหาสมุทรและทางน้ำ หรือคร่าชีวิตสัตว์น้ำเท่านั้น แต่ยังอยู่ในร่างกายพวกเราทุกคน และเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบริโภคมันเข้าไปได้”

การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก (SUNY) และเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2018 ระบุว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของน้ำดื่มบรรจุขวด มีการปนเปื้อนอนุภาคไมโครพลาสติก รายงานระบุว่าผลการวิเคราะห์น้ำดื่มแบบขวด 11 ยี่ห้อ จำนวน 259 ขวด ซึ่งสุ่มจากพื้นที่ 19 แห่งใน 9 ประเทศ พบว่ามีอนุภาคพลาสติกอยู่ในน้ำดื่มเฉลี่ย 325 อนุภาคต่อ 1 ลิตร

อนุภาคขนาดเล็กนี้อาจมาจากหลากหลายที่ ทั้งเส้นใยเสื้อผ้าสังเคราะห์ เม็ดบีสต์ในยาสีฟัน หรือพลาสติกชิ้นใหญ่ที่อาจย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อถูกทิ้งและสัมผัสกับอากาศ อนุภาคเหล่านี้จะไหลไปตามแม่น้ำ มหาสมุทร ซึ่งปลาหรือสัตว์ทะเลอื่นๆ อาจกินเข้าไป และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์

องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ผู้จัดจำหน่ายและผู้ควบคุมผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ให้ความสำคัญกับการกำจัดเชื้อโรคและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ เช่น สารที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงร้ายแรง ลัมแบร์ตินีกล่าวว่า “ปฏิบัติการระดับโลกเป็นเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นต่อการจัดการกับวิกฤตนี้”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า