SHARE

คัดลอกแล้ว
สธ. เปิดระบบรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา ต้องลงทะเบียนและได้รับการประเมินว่าสามารถเดินทางกลับได้ ส่งฟรี แนะผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ควรเดินทางกลับเอง
วันที่ 24 ก.ค. 2564 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง ประเด็นการนำผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลับภูมิลำเนา และเข้าสู่ระบบการรักษา สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่พักอาศัยหรือทำงานใน กทม. ที่ต้องการกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนาตัวเอง สามารถโทรติดต่อไปที่สายด่วนหมายเลข 1330 กด 15 หรือผ่านทางเว็บไซต์ https://crmdci.nhso.go.th ของ สปสช. ซึ่งจะเป็นการสอบถามและตรวจสอบข้อมูลบุคลที่มีความประสงค์จะเดินทางกลับ เพื่อต้องการให้ผู้ติดโควิด-19 เดินทางกลับภูมิลำเนาอย่างปลอดภัย ใช้เวลาประสานโรงพยาบาลปลายทางภายใน 3 วัน พร้อมจัดพาหนะรับส่งทั้งรถบัส รถทัวร์ รถไฟ และเครื่องบิน
จากนั้นจะมีการส่งข้อมูลมาให้ทางกระทรวงสาธารณสุข ในการประสานกับปลายทาง คือ จังหวัดที่ผู้ติดโควิด-19 จะเดินทางไปเพื่อให้เตรียมสถานที่ ขณะเดียวกันก็จะประสานกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) เตรียมนำรถรับ-ส่ง คาดว่าใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 3 วันหลังจากประสาน ผู้ป่วยโควิด-19 จะสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาโดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอดเส้นทาง แต่ช่วงระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่มารับ ขอให้ผู้ติดโควิด-19 ปฏิบัติตามมาตรการเช่นเดิม แต่หากพบว่าระหว่างนี้มีอาการรุนแรงขึ้น สามารถโทรไปที่สายด่วน 1330 หรือ 1668 ได้เลย
ทั้งนี้ ในกรุงเทพมหานครมีประชากรประมาณ 8 ล้านคน แบ่งเป็นคนกทม. 5.59 ล้านคน มีประชากรแฝง 2.41 ล้านคน ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคาดว่ากลุ่มคนเหล่านี้อาจมีผู้ติดเชื้อ ที่อยู่ในกทม. และต้องการเดินทางกลับ ซึ่งข้อมูลหลังจากวันที่ 19 ก.ค. รัฐบาลมีมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ มีคนเดินทางออกไปต่างจังหวัด จนถึงปัจจุบัน 504,241 คน คาดว่าจะมีคนติดเชื้อออกไปด้วย จึงต้องมีมาตรการในการดูแล และเมื่อถึงภูมิลำเนาต้องได้รับการรักษา
ด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขา สปสช. กล่าวว่า ขณะนี้มีการติดต่อเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ติดต่อยากมากขึ้น ต้องขอความกรุณารอสาย แต่ระบบการจัดการมีมาตรฐานแน่นอน เมื่อติดต่อเข้ามาแล้วจะมีการประสานปลายทางให้ ข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกส่งให้กระทรวงสาธารณสุขทุก 8 โมงเช้า ไม่มีรายชื่อตกค้าง มีการกำหนดการส่งกลับที่ได้มาตรฐานอย่างปลอดภัย ไม่แนะนำให้เดินทางกลับเอง เพราะอาจจะเกิดการแพร่เชื้อในจุดใดจุดหนึ่งได้ระหว่างเดินทาง ส่วนการติดต่อสายด่วน 1330 ขณะนี้กำลังเพิ่มอีก 500 คู่สาย จากที่มีอยู่แล้ว 1,600 คู่สาย ซึ่งขณะนี้ กสทช. ชี้แจงแล้วว่าโทรฟรีไม่เสียค่าใช้บริการแล้ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ขณะที่ รอ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความประสงค์จะกลับต่างจังหวัด หากประเมินอาการแล้วเหมาะสมจะเดินทางได้ ก็จะนำส่ง โดยจะมีรถต่างๆ ทั้งรถตู้ รสบัส รสทัวร์ รถไฟ หรือเครื่องบิน
สำหรับพาหนะที่เหมาะกับการเดินทางไกลคือ เครื่องบิน และรถไฟ โดยเฉพาะเครื่องบินจะต้องเป็นผู่สุขภาพร่างกายแข็งแรงระดับหนึ่ง และได้รับการรับรองจากแทพย์ โดยทั้งทางบก ทางอาการ สพฉ. จะประสานพาหนะ ความปลอดภัยระหว่างเดินทาง จะมีทีมแพทย์ ทีมบุคลากรทางการแพทย์ติดตามไปด้วย ขอย้ำว่า การนำส่งตรงนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า