Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาฯ ผ่าน กม.ทำแท้ง แต่อายุครรภ์ต้องไม่เกิน 12 สัปดาห์ แจง เพื่อให้ผู้หญิงมีทางออกเมื่อประสบปัญหาชีวิต ชี้หลังได้รับคำแนะนำแล้ว ให้ตัดสินใจเอง จะตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์

วันที่ 20 ม.ค. 2564 มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น มีทั้งหมด 4 มาตรา โดยในมาตรา 3 นั้นกำหนดโทษสตรีที่ทำแท้ง หรือยอมให้ผู้อื่นทำแท้ง ขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับมาตรา 4 นั้น ระบุว่า ถ้าเป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาถือว่าไม่ผิด ดังนี้ 1.หญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น 2.เนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมาก หรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่า หากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง 3.หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ
4.หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ และ5.หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ด้านนายประสิทธิ์ มะหะหมัด ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นมุสลิม ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ภายหลังจากมีปฏิสนธิและทารกอยู่ในครรภ์ 120 วันแล้ว ถือว่าเด็กมีชีวิตแล้ว หากทำแท้งถือว่าบาปมหันต์ ยกเว้นจะมีเหตุจำเป็น เช่น แพทย์วินิจฉัยแล้วว่ามีอันตรายถึงชีวิตของมารดา เป็นต้น แต่ถ้าเด็กได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ว่าเกิดมาไม่สมประกอบ หรือพิการ ตามหลักของอิสลามห้ามทำแท้ง เพราะเชื่อว่าเกิดมาแล้วสังคมจะไม่ทอดทิ้ง และช่วยเหลือกัน

ขณะที่กรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า มาตรา 4 ข้อยกเว้นที่ 5 นั้น บัญญัติขึ้นเพื่อให้ทางออกกับสตรีที่ประสบปัญหาในชีวิต เช่น พ่อของลูกเกิดเสียชีวิต หรือปฏิเสธการเป็นพ่อ ยืนยันว่า กรรมาธิการฯ มีเจตนาให้ผู้หญิงมีทางออกเมื่อประสบปัญหาในชีวิต และให้ได้รับคำแนะนำ จากนั้นจึงค่อยตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะตั้งครรภ์ต่อไป หรือจะยุติการตั้งครรภ์

ภายหลังจากอภิปรายกันพอสมควรแล้ว ที่ประชุมสภาฯ จึงลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 276 เสียง ไม่เห็นชอบ 8 เสียง และงดออกเสียง 54 เสียง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า