Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) สสส. ถอดสูตร 3 บทเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ปลอดเหล้านพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ชี้ หลัก บวร – ผู้นำเข้มแข็ง-สร้างความร่วมมือต่อเนื่อง ยังเป็นสูตรสำเร็จที่ยั่งยืน

นายธีระ  วัชรปราณี ผู้จัดการ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) สสส. นำคณะเครือข่ายงดเหล้าโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์จากทั่วประเทศร่วมศึกษาดูงานในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ใน 3 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านห้วยขาน หมู่ที่ 3 ตำบลหมอกจำแป่ ชุมชนบ้านผาบ่อง หมู่ที่ 3 ตำบลผาบ่อง  และชุมชนป๊อกกาดเก่า ตำบลจองคำ ซึ่งเป็นชุมชนกลุ่มขาติพันธุ์ ที่ร่วมแรงร่วมใจทำให้ชุมชนเป็นพื้นที่ปลอดเหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์การทำงานรณรงค์งดเหล้าของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และนำบทเรียนที่ได้ไปยกระดับและพัฒนาการทำงานรณรงค์ทั้งในภาพรวมและในแต่ละพื้นที่

โดยใน จ.แม่ฮ่องสอน มีวิถีวัฒนธรรมและความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากถึง 9 ชาติพันธุ์ 13 กลุ่ม อาทิ ไทใหญ่ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ ลีซู ลาหู่ ปะโอ ปกาเกอญอ ฯลฯ ในอดีตจะพบเห็นการดื่มสุราในกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก โดยมองว่าการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ จึงพบเห็นการดื่มใน งานแต่งงาน งานศพ และงานต่างๆ จนทำให้แอลกอฮอล์กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชนเผ่า ซึ่งการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ดื่ม ครอบครัวและสังคม โดยองค์การอนามัยโลกได้รายงานว่าแอลกอฮอล์นำไปสู่การป่วยด้วยโรคต่าง ๆ มากกว่า 230 ชนิด สำหรับประเทศไทยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและระบบสาธารณะสุขของประเทศมาหลายทศวรรษ และในกลุ่มชาติพันธุ์พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีการดื่มหนักซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณี

จากผลกระทบที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อจัดงานบุญตามประเพณี ปัญหาความรุนแรงจากเหตุทะเลาะวิวาทในครอบครัว รวมไปถึงเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์อันดีงามของบุญประเพณีต่างๆ พวกเขาจึงร่วมใจกันลุกขึ้นมาต่อสู้กับปัญหาจนประสบความสำเร็จ กลับมาเป็นชุมชนต้นแบบปลอดเหล้า และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน

พ่อหลวงณรงค์ วิทยาสมานสกุล ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยขาน หมู่ที่ 3 ตำบลหมอกจำแป่ กล่าวว่า หมู่บ้านเรามีอายุกว่า 100 ปี มี 2 ชาติพันธุ์ คือ ไทใหญ่ กับ ปะโอ เดิมนั้นเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอันเนื่องมาจากการดื่มสุราอย่างหนักและเกิดปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือนตามมา คนในชุมชนไม่มีความสุข จึงหาทางแก้ไข โดยรณรงค์ลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้ความร่วมมือของบ้าน วัด โรงเรียน  (บวร) ทั้งนี้ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือความร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆ และการสื่อสารข้อมูลที่ดี เช่นมีการประชาสัมพันธ์ทุกครั้งที่มีงาน มีการประชุมกันทุกเดือนเพื่อขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะร้านค้าได้ขอให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการไม่ขายให้แก่ลูกค้าที่อายุต่ำกว่า 20 ปีและบุคคลที่มีอาการมึนเมา รวมถึงการขายตามเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยจะมีคณะกรรมการของชุมชนในการลงพื้นที่ตรวจตราอย่างต่อเนื่อง

สำหรับหลักการ “บวร” ของชุมชนบ้านห้วยขาน แม่บ้านจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้พ่อบ้านงดการดื่ม ส่วนโรงเรียนคณะครู จะส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา เทศกาลงานบุญต่างๆ ครูก็จะพานักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการเยี่ยมบ้านของนักเรียน และมีโครงการพระโพธิสัตว์น้อย โดยให้เด็ก ๆ เขียนจดหมายถึงผู้ปกครองเพื่อขอให้เลิกเหล้า ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะลูก คือ หัวใจของพ่อแม่ บางครั้งลูกก็เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตพ่อแม่ได้ ในส่วนของวัด นอกจากเรื่องศีล 5 แล้ว ท่านเจ้าอาวาสจะเทศนาธรรมโดยสอดแทรกเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพเข้าไปด้วย ชุมชนบ้านห้วยขาน ยึดหลักศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอย่างเหนียวแน่น ผู้คนในชุมชนต่างให้ความร่วมมือในการรักษาศีล จนได้รับรางวัลหมู่บ้านรักษาศีล 5 ระดับประเทศ ปี 2565

นายอมร ศรีจระกูล  กำนันตำบลผาบ่อง  กล่าวว่า ในตำบลเรามี 12 หมู่บ้าน มีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง ไทใหญ่กะเหรี่ยง ปกาเกญอ ศาสนามีทั้งคริสต์และพุทธ จากความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงนำมาเป็นจุดขายด้วยการส่งเสริมให้ชุมชนบ้านผาบ่องเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เมื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวจึงไม่อยากให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตานักท่องเที่ยว จึงเริ่มรณรงค์งานประเพณีปลอดเหล้าโดยการสนับสนุนของเครือข่ายงดเหล้า ตั้งแต่ปี 2554 ใช้เวลา 5 ปีจึงสำเร็จ จนกระทั่งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ในปี 2561

“เทคนิคสำคัญในการสร้างความร่วมมือของชุมชนบ้านผาบ่องคือการทำอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการหลักการ บวร ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ชี้ให้ลูกบ้านเห็นถึงงบประมาณในการจัดงานถ้าไม่มีเหล้าจะลดลงไปเหลือหลักพันบาท แต่เดิมถ้ามีการเลี้ยงเหล้าต้องใช้งบประมาณหลายหมื่นบาท บางครั้งเจ้าภาพต้องไปกู้ยืมเงินมาจัดงาน นอกจากนี้ได้ทำให้ชุมชนเห็นร่วมกันว่างานบุญไม่ควรมีเหตุทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุและความสูญเสียต่างๆ”

นายอมร กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานทำให้ภาพลักษณ์หมู่บ้านดีขึ้น นักท่องเที่ยวก็อยากมา เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น นอกจากนี้ทำให้คนในชุมชนให้ความร่วมมือมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มแรกให้ความร่วมมือเพียงร้อยละ 60 และเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะชุมชนเห็นผลมีประโยชน์ จากนั้นได้นำโมเดลความสำเร็จหมู่บ้านหนึ่งไปขยายผลต่ออีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งปรับให้เข้ากับบริบทของแต่ละหมู่บ้าน โดยมีผู้นำชุมชนที่ดำเนินการสำเร็จไปพูดคุยเพื่อให้ความรู้เรื่องแนวคิดและวิธีการแก่ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านอื่นๆ จนทำให้งานบุญประเพณีทั้งหมดของตำบลผาบ่องเป็นประเพณีปลอดเหล้า

นางเทพินท์ พงษ์วดี ประธานสภาวัฒนธรรม ตำบลจองคำ หนึ่งบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนให้ตำบลจองคำเป็นต้นแบบของสังคมเมืองที่สามารถจัดงานประเพณีปลอดเหล้ามานานกว่า 10 ปี เริ่มต้นจากการขับเคลื่อนงานปอยส่างลองปลอดเหล้า งานบวชสามเณรของชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามที่นักท่องเที่ยวต่างหลั่งไหลเข้ามาชมในทุกปี และสามารถขยายไปสู่งานบุญประเพณีปลอดเหล้าทั้งหมดของตำบลจองคำ

“ปัจจัยความสำเร็จของการเคลื่อนงานลดเหล้าในชุมชนคือ ผู้นำต้องเป็นหลักที่เข้มแข็งให้กับคนชุมชน มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาเพื่อให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยทำงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งพัฒนาสังคม วัฒนธรรมจังหวัดเทศบาลเมือง ปกครองท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน” นางเทพินท์ กล่าว

นางเทพินท์ กล่าวอีกว่า การดำเนินการใดๆ ผู้นำชุมชนต้องประเมินก่อนว่าจะก่อเกิดประโยชน์กับทั้งคนในชุมชนและสังคมโดยรวม ก่อนนี้ชุมชนป๊อกกาดเก่ามีการทะเลาะวิวาทกันตั้งแต่หัวตลาดจนถึงท้ายตลาด ส่วนใหญ่สาเหตุหลักมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ จึงใช้แนวทางของ บวร เข้ามาร่วมด้วย พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อครอบครัว เช่น การที่พ่อแม่ทะเลาะกันจะทำให้ลูกขาดความอบอุ่น รวมถึงไม่มีเงินเก็บเพราะหมดไปกับค่าเหล้า ผู้นำต้องใช้ความจริงใจในการเข้าไปพูดคุยเพื่อให้คนในชุมชนเข้าใจ เจ้าอาวาสยังเข้ามาช่วยในการโน้มน้าวจิตใจให้ชาวบ้านเลิกเหล้า การดำเนินงานต้องใช้เวลา แต่เมื่อเกิดผลสำเร็จ ชุมชนจะสงบร่มเย็น มีระเบียบในการอยู่ร่วมกัน คนในชุมชนใกล้ชิดกันมากขึ้น จากเดิมที่ต่างคนต่างอยู่ ปัจจุบันทุกคนในชุมชนต่างมาร่วมทุกกิจกรรมของชุมชน นอกจากนี้การจัดการชุมชนยังส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้เพิ่ม โดยเปิดตลาดกองจู้เพื่อเป็นพื้นที่ขายสินค้าให้กับชาวไทใหญ่  ซึ่งในตลาดจะมีเวทีแสดงวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมชนเผ่าไทใหญ่และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า