SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปีเป็น วันคนพิการสากล นับเป็นโอกาสที่เราจะได้ตระหนักถึงปัญหาที่คนพิการต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน รวมถึงบทบาทของภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ เพื่อให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียม เพราะการมีส่วนร่วมของคนพิการ (disability inclusion) มีความสำคัญยิ่งต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเป็นหัวใจสำคัญในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 และ หลักการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

การส่งเสริมให้ทุกคนรวมทั้งคนพิการมีโอกาสและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดี ได้รับการศึกษาที่ดี หางานที่เหมาะสมได้ ตลอดจนใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

ยูริ ยาร์วิอะโฮ เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย (ซ้ายมือ) และ เรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย (ขวามือ) ร่วมสำรวจการเดินทางในกรุงเทพกับกลุ่มคนพิการ

เราสองคนได้มีโอกาสร่วมเดินทางกับผู้ใช้รถเข็นและผู้พิการทางสายตาเพื่อสัมผัสความยากลำบากที่พวกเขาต้องเผชิญในการเดินทางในกรุงเทพฯโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยการเดินทางนี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปลูกฝังจิตสำนึกและนำเสนอปัญหาในชีวิตจริงของคนพิการ แม้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในเมือง ได้มีการดำเนินการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มาพอสมควรแล้ว แต่ก็ยังพบอุปสรรคสำหรับคนพิการในการใช้ทางเท้าและระบบขนส่งสาธารณะอยู่ซึ่งยังต้องได้รับการปรับปรุง

ทางเท้าและถนนที่ไม่เรียบก่อให้เกิดอันตรายและอุปสรรคต่าง ๆ สำหรับผู้ใช้รถเข็น การมีเบรลล์บล็อกนำทางเฉพาะในบางจุดและไม่ต่อเนื่องทำให้ผู้พิการทางสายตาไม่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก บันไดและสะพานลอยที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการข้ามถนนกลับเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ใช้รถเข็น และทำให้พวกเขาต้องเสี่ยงอันตรายในการข้ามถนน

การที่เราได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่นี้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคมที่สนับสนุนสิทธิคนพิการ เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาครัฐ ตลอดจนหน่วยงานเอกชน โดยทุกฝ่ายต้องร่วมกันระบุประเด็นปัญหาที่มีอยู่ และออกแบบแนวทางการแก้ไขที่มีความเหมาะสมมากที่สุด

แค่ความห่วงใยและการเอาใจใส่นั้นไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหานี้ แต่ต้องมีข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการเข้าถึงระบบสาธารณะของคนพิการได้อย่างมีประสิทธิผล  แม้จะมีพัฒนาการมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อยกระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของคนพิการ แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องดำเนินการ เช่น แผนระยะสั้น อาจระบุจุดต่าง ๆ ในเมืองที่ยังมีอุปสรรคสำหรับคนพิการที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว อาจพิจารณาแสวงหาความร่วมมือกับภาคธุรกิจที่มีกิจการอยู่รอบๆ บริเวณสถานีขนส่งมวลชน โดยอาจเป็นการสร้างทางเดินเพิ่มที่เชื่อมอาคารไปยังสถานีขนส่ง รวมถึงการติดตั้งลิฟต์เพิ่มเติม พร้อมจัดหาอุปกรณ์และบริการเพื่อรองรับผู้ใช้รถเข็นและผู้พิการทางสายตา

เมื่อทางเท้าและระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯได้รับการปรับปรุงให้เข้าถึงได้โดยสะดวกสำหรับทุกคนแล้ว เราควรจะขยายการพัฒนาดังกล่าวไปสู่จังหวัดอื่น ๆ ในประเทศไทย เพื่อให้ทุกคนไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใด สามารถเดินทางออกมาใช้ชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกัน

ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของคนพิการและความต้องการของพวกเขานับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการทำงานของผู้กำหนดนโยบายเพื่อดำเนินการลดความเหลื่อมล้ำต่างๆ การที่คนพิการมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นการปิดกั้นโอกาสการเข้าถึงการศึกษา การหางานทำ การเข้าถึงบริการสาธารณะ ตลอดจนโอกาสการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม ดังนั้นเราขอสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นถึงความสำคัญและร่วมกันผลักดันให้คนพิการสามารถออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย

แม้ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการเมื่อปี 2551 และมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ แต่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีประสิทธิผลเพียงพอ อีกทั้งประชาชนจำนวนมากยังไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ส่งผลให้คนพิการจำนวนมากในประเทศไทยยังต้องพบเจอปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ถูกเลือกปฏิบัติ และไม่สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียม

การเห็นอกเห็นใจอย่างเดียวไม่เพียงพอ สำคัญต้องมีข้อมูลจากการวิจัย และการวิเคราะห์เชิงสถิติ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำเนินการส่งเสริมโอกาสและคุณภาพชีวิตคนพิการ

การระบาดของ COVID-19 ได้เตือนทุกคนบนโลกว่า เราไม่ควรมองข้ามปัญหาของคนที่ลำบาก การปรับปรุงการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและการใช้บริการคมนาคมขนส่ง ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อคนพิการเท่านั้น แต่ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่พวกเราทุกคนอีกด้วย เนื่องในโอกาสวันคนพิการสากลปีนี้ เราจึงอยากเน้นย้ำอีกครั้งว่าการพัฒนาที่หลอมรวมคนพิการจะช่วยพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

บทความโดย เรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย และ ยูริ ยาร์วิอะโฮ เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า