SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้ผลการศึกษาทั้งในและต่างประเทศจะเห็นตรงกันว่า ‘การเล่น’ นั้นมีความสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก แต่มุมมองและทัศนคติด้านลบจากผู้ใหญ่ ซึ่งมีบทบาทต่อการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตมาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ กลับยังมองว่าการเล่นเป็นกิจกรรมไร้สาระ และไม่สำคัญเท่ากับการส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่น ๆ

ในช่วงเวลาที่เด็กไทยเกิดใหม่น้อยลง ข้อมูลจากปีพ.ศ. 2564 พบว่าตัวเลขการเกิดของเด็กไทยลดลงเหลือเพียง 5.4 แสนคน และยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันสังคมไทยก็กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โมงยามแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เราจะทำอย่างไรให้เด็กไทยที่มีจำนวนน้อยลง สามารถเติบโตขึ้นมาได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ?

การเล่น คือ คำตอบสั้น ๆ ที่กลายมาเป็นความหวังที่ปฏิเสธไม่ได้

ที่จริงแล้ว ‘การเล่น’ มีความสำคัญกับคนทุกกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะกับเด็กเท่านั้น และ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เราสามารถปรับตัว ในยุคสมัยที่ความผันผวนไม่แน่นอนเกิดขึ้นอยู่ตลอด ข้อมูลจากผลการศึกษามากมายบอกตรงกันว่า หนทางการปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งพัฒนาการและทักษะแห่งยุคสมัยใหม่ ต้องใช้ ‘การเล่น’ เป็นสื่อกลาง

“เราส่งเสริม การเล่นอิสระ ที่หมายถึง การเล่นที่ไม่มีถูกผิด ไม่ตีกรอบ และไม่มีการกำหนดบังคับ เด็กจะมีโอกาสเลือก ว่าเขาจะเล่นอะไร เรียนรู้อะไร และทดลองอะไรก็ได้อย่างอิสระ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ไม่ต้องใช้เงิน แต่ต้องการความเข้าใจจากผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง ในการมองเห็นความสำคัญและส่งเสริมให้เกิดการเล่น เพราะช่วงเวลา 0-6 ปีนั้นเป็นเวลาทองของชีวิตที่สมองจะมีการพัฒนามากที่สุด และเป็นช่วงเวลาที่เด็กจะได้สั่งสม เรียนรู้ และพัฒนาการไปพร้อมกับการเลี้ยงดู ขอเพียงผู้ใหญ่มีความเข้าใจว่าสามารถสร้างพื้นที่การเล่นอิสระให้แก่เด็กทุกคนได้ การเล่นอิสระก็จะเกิดขึ้น” น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  กล่าว

ความสุขที่ไม่ได้เกิดจากการตีกรอบ ความเป็นอิสระในการผจญภัยไปในความคิดและการลงมือทำ จะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ สสส. และภาคีเครือข่าย ในฐานะผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมให้เรื่องของ ‘การเล่น’ กลายเป็นวิธีหลักในการเรียนรู้ จึงสนับสนุนแนวคิด ‘การเล่นอิสระ’ เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาการในเด็กปฐมวัยให้เติบโตขึ้นได้อย่างเต็มศักยภาพ

เพราะการส่งเสริมเด็กแบบเดิม ๆ ในห้องเรียนที่ทุกคนหันหน้าเข้าหาครูและทำตามตำรา จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดยาก เพราะขัดกับธรรมชาติของมนุษย์ เด็กจะเกิดเป็นความเครียด และทำให้พวกเขาปิดกั้นความสุข ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อพัฒนาการ  สสส. และภาคีเครือข่าย จึงร่วมมือกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.), สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) และเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลกจัดทำ “โครงการวิจัยนวัตกรรมรูปแบบการส่งเสริมการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและทักษะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21” เพื่อขับเคลื่อนส่งเสริมการเล่นและการจัดกิจกรรมทางกาย เพื่อให้เด็กมีความแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยกิจกรรมทางกายนี้องค์การอนามัยโลกยังชี้ชัดว่าช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านความสุขและสมอง ทั้งยังช่วยเสริมสร้างทักษะและความพร้อมในการเข้าเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี

“สิ่งที่ตรงกันข้ามกับความสุขคือความเครียด และความเครียดจะทำลายสมองของเด็ก ทำให้สมองไม่พัฒนา เราจึงต้องขับเคลื่อนเรื่องของการเล่น เพื่อพัฒนามนุษย์ตัวน้อย ๆ ให้มีความพร้อมสำหรับวัยเรียน ทั้งนี้ ความร่วมมือกับกรมอนามัยจะทำให้ความรู้ความเข้าใจถูกจัดระบบ กิจกรรมทั้งหลักสูตรออนไลน์ และ workshop ออนไซต์ จะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ ต่อยอดไปสู่หน่วยงานอื่น ๆ ของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทรวงศึกษาธิการ”

ในส่วนของสสส.จะแสวงหาความร่วมมือกับภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ ในการมาร่วมเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาเด็ก เพื่อให้เกิดเป็นความร่วมมือแบบพหุภาคี รวมถึงการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ กับหน่วยงานภาครัฐ ให้มีนโยบายที่เอื้อและเป็นมิตรต่อการที่พ่อและแม่จะสามารถดูแลครอบครัวและลูกหลานของเขาได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดพื้นที่เล่นและเรียนรู้ที่ดีขึ้นแล้ว ในระยะยาวความยั่งยืนของโครงการจะสามารถทำให้พ่อและแม่สามารถดูแลลูกอย่างมีคุณภาพด้วยตัวเขาเอง

น.ส.ทัตติยา ลิขิตวงษ์ ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก (มพด.) ตัวแทนจากหนึ่งในพันธมิตรที่ร่วมขับเคลื่อนส่งเสริมการเล่นอิสระร่วมกับสสส. กล่าวถึงสถานการณ์ของการทำงานกับเด็กปฐมวัย เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ด้วยการเล่น พร้อมกับอธิบายว่า

“ในอดีตเรามักใช้การเรียนรู้ กิจกรรม และการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็ก ๆ ให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนเก่ง มีทักษะและความรู้ แต่สิ่งที่ต้องแลกมาก็คือความสุขที่หายไปของเด็ก ๆ หากเราสามารถหยิบการเล่นเข้ามามีส่วนร่วม เด็ก ๆ จะได้เห็นความต้องการของตนเองว่าอยากจะเล่นอะไร เล่นแบบไหน ได้ออกแบบการเล่นด้วยตัวเอง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเด็กมีความสุขเพิ่มขึ้น เมื่อเด็กมีความสุขในการเล่น สมองจะเปิดและพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การสอน หรือทักษะชีวิต ดังนั้นถ้าเราส่งเสริมกระบวนการเล่นในช่วงเวลาทองของเด็ก จะช่วยให้พวกเขามีความสุข และพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ต่อไปด้วย”

หลักการเล่นอย่างอิสระ ไม่ได้เป็นแนวคิดที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของเงินหรืองบประมาณ แต่เป็นแนวคิดที่ต้องการส่งเสริมความเข้าใจในการสร้างหรือออกแบบพื้นที่ของการเล่นอิสระให้กับเด็ก ๆ อย่างเหมาะสม ของใกล้ตัวทุกชนิดรวมไปถึงวัสดุในธรรมชาติ สามารถนำมาเป็นของเล่นเพื่อสร้างการเรียนรู้สำหรับเด็กได้ โดยไม่ต้องซื้อหา

สำคัญที่สุดก็ คือ การผลักดันและขยายผล เรื่องของความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นอย่างอิสระออกไปสู่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งครอบครัว สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมไปถึงฝ่ายนโยบายของภาครัฐ เพราะช่วงปฐมวัยนั้นนับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนามนุษย์คนหนึ่งให้เติบโตขึ้นอย่างเต็มศักยภาพ เพราะหากพลาดโอกาสสำคัญในช่วงนี้ไป อาจเป็นเรื่องยากที่จะซ่อมแซมฐานรากของมนุษย์คนหนึ่งให้กลับมาสมบูรณ์

มาทำให้ “เรื่องเล่น” ให้เป็น “เรื่องสำคัญ” เพื่อเปลี่ยนโลกแห่งการเล่นของเด็กปฐมวัย ให้เป็นเครื่องมือในการพาเด็กไทยให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า