Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ข้อมูลสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนนของประเทศไทย ภายในงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 15 “ทศวรรษใหม่ วิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัยต้องมาก่อน” เปิดเผยว่า โดยเฉลี่ยในช่วง 10 ปีผ่านมามีอัตราผู้เสียชีวิตราว 20,000 ราย แม้ช่วง 3 ปีให้หลังที่เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลผู้ใช้รถใช้ถนนน้อยลง แต่อัตราการเสียชีวิตกลับไม่ต่างมากนัก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการผลักดันความปลอดภัยทางถนน ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN ที่พยายามให้ประเทศสมาชิกลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงในช่วงปี ค.ศ. 2011-2020 หรือที่เรียกว่า (Decade of Action for Road Safety) ไม่ประสบผลสำเร็จ และที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่ที่ประเทศไทยเท่านั้น สมาชิกประเทศอื่น ก็มีสถิติไม่ต่างกัน

ท่ามกลางความกังวลถึงผลกระทบที่อาจทวีคูณขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย วงเสวนาจึงเชิญนักวิชาการจากหลากหลายสาขาวิชามาร่วมถกปัญหาในหัวข้อ บทเรียนที่ผ่านมาและก้าวย่างทศวรรษใหม่ (Second Decade for Road Safety) สู่ระบบแห่งความปลอดภัยทางท้องถนน เพื่อหาทางออกเรื่องนี้ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (HIPP), แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.), และคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา

“บทเรียนที่ผ่านมา ต้องมองย้อนกลับไปในช่วง ทศวรรษที่ 1 ในปี 2554-2563 มีการประกาศให้เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัย เพื่อที่จะลดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้ได้ครึ่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเราไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกับอีกหลายประเทศทั่วโลก

โดยสิ่งสำคัญมองว่า หน่วยงานทั้งหลายจะต้องช่วยกันถอดบทเรียนนี้ นำบทเรียนในทศวรรษที่ผ่านมา มาดูว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เราไม่ประสบความสำเร็จในการเดินไปสู่เป้าหมาย ในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้ได้ครึ่งหนึ่ง ถ้าเราปล่อยไปเฉย ๆ โดยไม่เรียนรู้อะไรเลย ถือว่าเราทำผิดมหันต์ โดยหลังจากนี้ การก้าวย่างต่อไปในทศวรรษที่ 2 ต้องขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งภาคประชาสังคมทั้งหมด ที่ต้องร่วมกันถอดบทเรียน และเอาบทเรียนในอดีตมาเป็นประสบการณ์” นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา และประธานกรรมการ คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน

เป้าหมายหลักของการตั้งเป้าในทศวรรษที่ 2 ในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนน คือ ต้องลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือ 12 ราย ต่อประชากร 100,000 คน ภายในปี 2570 นั้นหมายความว่า ใน 1 ปีต้องมีอัตราผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณ 8,400 รายเท่านั้น และถือเป็นเป้าหมายสำคัญของแผนที่จะกำหนดใช้ต่อไปหลังจากนี้

นายแพทย์ วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) เปิดเผยว่าจากการประเมินการทำงานในประเทศไทยเรื่อง ถนนปลอดภัย พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องยานพาหนะปลอดภัย ขณะที่ พฤติกรรมปลอดภัย อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น โดยสิ่งที่คิดว่ายังเป็นปัญหาของประเทศไทย คือ ระบบการจัดการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเราเห็นพ้องกันว่า เรื่องของการจัดการมีปัญหาค่อนข้างมาก นอกจากนี้การทำรายการความปลอดภัยทางท้องถนน โดย สอจร. ยังพบข้อมูลใหม่ ๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์และนำไปสู่แผนแม่บทฉบับต่อไป

“สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการเก็บสถิติพบว่า คนที่เสียชีวิตจากคนที่อายุ 60 ปี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมเมื่อ 20 ปีก่อน มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 5% แต่ในวันนี้เพิ่มขึ้นถึง 25% เป็นเรื่องที่น่าตกใจและน่ากลัวมาก นั่นหมายความให้เห็นว่าคนสูงอายุหากเกิดอุบัติเหตุมีแนวโน้มเสียชีวิตมากกว่าช่วงอายุอื่น และที่สำคัญเมืองไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นี่จึงเป็นข้อสังเกตให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ที่จะต้องวางแผนในอนาคต ต้องมองเป้าหมายถึงคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น” นายแพทย์ วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.)

และเมื่อไปดูข้อมูลจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า ผลกระทบจากการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางท้องถนน หากนำมาคิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจในแต่ละปีนั้น ปรากฏว่ามีความเสียหายอย่างมหาศาล

“มูลค่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ข้อมูลโดย TDRI สามารถประเมินความสูญเสีย (ทุนมนุษย์) ได้ดังนี้ หากมีการเสียชีวิต 1 ราย จะต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 6.7 ล้านบาทต่อราย, หากบาดเจ็บสาหัส สูญเสียรายได้ประมาณ 2 ล้านบาทต่อราย, หากพิการจะสูญเสียรายได้ประมาณ 4.8 ล้านบาทต่อราย และหากบาดเจ็บเล็กน้อย ต้องสูญเสียประมาณ 5.6 หมื่นบาทต่อราย

และหากนำมาคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียของประเทศ โดยอ้างอิงผู้เสียชีวิตในปี 2562 ที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 17,831 ราย จะคิดเป็นมูลค่าการสูญเสียของประเทศ ประมาณ 642,743.3 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.9% ของ GDP ในประเทศไทย” ณิชมน ทองพัฒน์ นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นการประเมินการสูญเสียของผลกระทบที่เกิดจากการสูญเสียจากอุบัติเหตุ

หลังจากนี้การพัฒนาร่างแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนฉบับที่ 5 นายแพทย์ วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ระบุ จะนำบทเรียนจากการวิเคราะห์ของหน่วยงานต่าง ๆ จากแผนฉบับเดิม และปัญหาจากประเทศต่าง ๆ มาใช้วิเคราะห์เป็นแนวทางเพื่อพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จ โดยแผนแม่บทฉบับที่ 5 จะเน้นตามกรอบแนวคิดหลัก 4 เรื่อง คือ

      1. ผู้ใช้รถจักรยานยนต์
      2. วัยรุ่นและเยาวชน
      3. การจัดการความเร็ว
      4. การติดตามและประเมินผล

โดยมีปณิธานคือ ต้องสามารถดำเนินการได้จริง มีกลไกการทำงานในระดับพื้นที่ กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายหลักที่กำหนด นั่นก็คือ ต้องลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือ 12 ราย ต่อประชากร 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2570 ตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งแนวทางการทำงานและเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ไทยพิชิตหมุดหมายนี้ได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า