SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.47″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เกือบสิบปีที่โครงการ แลกเปลี่ยนเข็มและอุปกรณ์สะอาด’ ได้ดำเนินงานมาจวบจนทุกวันนี้ โดยมุ่งหวังให้ผู้เสพยาด้วยวิธีฉีดมีความเสี่ยงน้อยลงจากเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบีและซี รวมทั้งการใช้ยาอย่างปลอดภัย

จารุณี ศิริพันธุ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนโครงการยังคงยืนยันว่า เราไม่ได้สนับสนุนให้พวกเขาใช้ยาเสพติด พวกเขาใช้อยู่แล้วและยังเลิกไม่ได้ เพราะหลายคนอยู่ในภาวะพึ่งพิง เราเลยดูว่า ระหว่างที่พวกเขายังเลิกไม่ได้ พวกเขาจะใช้ยาเสพติดอย่างปลอดภัยได้อย่างไร คู่ไปกับการสนับสนุนให้เขาลดปริมาณการใช้ยาลง”

สำหรับคำว่า ‘ภาวะพึ่งพึง’ หมายถึง ผู้เสพไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปราศจากการใช้ยาเสพติดได้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537862551_75924_1.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”25px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

  • เข็มและอุปกรณ์สะอาด ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด

โครงการนี้มีขึ้นเพื่อลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราของผู้ใช้ยาเสพติดอยู่ประมาณ 2 ล้านคน และในจำนวนนี้มีผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดอยู่ประมาณ 80,000 ราย ซึ่งผู้เสพเหล่านี้มีความเสี่ยงหากใช้เข็มและอุปกรณ์การฉีดร่วมกัน

นอกจากนี้ไม่ได้มองเพียงเรื่องเข็มและอุปกรณ์สะอาดเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้เสพ โดยจะทำอย่างไรให้ผู้ใช้ยาเสพติดดำเนินชีวิตไปได้ในสังคมด้วย

แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า โครงการเข็มสะอาดเป็นการสนับสนุนให้คนใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้น แต่จารุณีอธิบายว่า โครงการดังกล่าวเป็น การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด หรือที่เรียกว่า Harm Reduction

โดย Harm Reduction หมายรวมถึง การลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากยาเสพติด ทั้งต่อร่างกาย จิตใจ สังคม รวมทั้งการป้องกันไม่ให้มีเกิดผู้ใช้ยาเสพติดรายใหม่อีกด้วย

“การป้องกันไม่ให้คนใช้ยาเสพติดเป็นหนทางที่ดีที่สุด แต่มันไม่ง่าย เพราะบ้านเรายังคงมียาเสพติด ดังนั้นสิ่งที่เราต้องรณรงค์คือ ทำให้คนที่ใช้ยาเสพติดมีข้อมูล เข้าใจเรื่องการออกฤทธิ์ของยาที่ตนเองใช้ หลีกเลี่ยงการใช้ด้วยวิธีฉีด แต่หากใช้วิธีฉีดต้องใช้เข็มใหม่ทุกครั้ง” นี่คือข้อความหลักจากคนทำงานอย่างจารุณี

เธอจึงพยายามทำให้สังคมเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น เพราะยาเสพติดเป็นเรื่องใกล้ตัว ถ้าพบผู้ใช้ยาเสพติดภายในครอบครัวหรือชุมชน ไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะเป็นเรื่องที่สามารถจัดการได้ หากทราบว่า ผู้เสพใช้ยาตัวใด และออกฤทธิ์อย่างไร เพราะยาแต่ละตัวออกฤทธิ์ต่างกัน

ในปัจจุบันมีผู้ใช้ยาเสพติดเข้าใจในเรื่องนี้ และพยายามลดผลกระทบจากการใช้ยามากขึ้น ในขณะเดียวกันภาคประชาสังคมที่ทำงานเรื่องนี้ สามารถเข้าถึงผู้เสพได้มากขึ้น โดยผู้ใช้ยาหลายคนมีข้อมูล สามารถจัดการชีวิตตัวเองได้ดี หลายคนลดการใช้ยาลงจนมีเงินเหลือเก็บ ทำให้ครอบครัวกลับมาพูดคุยกันมากขึ้น

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537862641_41071_2.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“เด็กบางคนบอกว่า ดีใจจังที่พ่อยังมีเงินมาซื้อขนมให้ ก่อนหน้านี้ไม่เคยเลยเพราะพ่อหมดเงินไปกับการซื้อยามาเสพ” 

เพราะผู้เสพหลายคนหันไปรับสารทดแทนเมทาโดน ซึ่งไม่ต้องนำเงินมาซื้อยาเสพติด ทำให้ชีวิตปลอดภัยมากขึ้น

 

  • ภาครัฐเริ่มเข้าใจบทบาทและหน้าที่ ในการแก้ปัญหายาเสพติด

ตอนนี้หน่วยงานรัฐอย่างกระทรวงสาธารณสุข หรือสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้นกว่าในอดีต

อย่าง ปปส. ที่ในปัจจุบันก็มีโครงการนำร่อง มาตรการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด 37 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจารณีบอกว่า คงเป็นเพราะวิธีเดิมๆ อย่างการบังคับใช้กฎหมาย คงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอย่างแท้จริง จึงเริ่มจัดทำนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดอย่างจริงจัง

“ทางเราอยากผลักดันให้นโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดของ ปปส. เป็นไปแบบ ยั่งยืน ระยะยาว เป็นมาตรการแก้ปัญหายาเสพติดของประเทศ ไม่อยากให้เป็นโครงการ 2-3 ปีจบเท่านั้น”

ส่วนกระทรวงสาธารณสุข ก็มีบทบาทหลักในการดูแลผู้เสพมากขึ้น โดยไม่ยึดโยงอยู่กับตัวบทกฎหมายแบบที่ผ่านมา ซึ่งคนทำงานภาคประชาสังคมบอกว่า การให้เข็มและอุปกรณ์สะอาดเป็น การป้องกัน แต่กระทรวงตีความว่า ผิดกฎหมาย ทำไม่ได้

“เรารู้ว่ากฎหมายบ้านเรายังกำหนดให้ยาเสพติดผิดกฎหมาย ผู้ใช้ยาเสพติดยังอยู่ในฐานะผู้กระทำผิด แต่ในฐานะเป็นกระทรวงที่ดูแลสุขภาพประชาชน อย่าเอากฎหมายมาคุยเลย เรื่องกฎหมายไปว่ากับกระทรวงยุติธรรม ว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร สำหรับกระทรวงสาธารณสุขเรื่องชีวิตคนในประเทศต้องมาก่อน

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537863651_38369_3.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”25px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

หลายประเทศในโลก เช่น เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส มีทางออกเดียวในการแก้ปัญหายาเสพติดก็คือ ให้คนปลอดภัยจากการใช้ยา

“เมืองนอกเขาไม่จับผู้ใช้ยาเสพติดเข้าคุกแล้ว”

ในเนเธอร์แลนด์ หากตำรวจพบพลเมืองมียาเสพติดครอบครองเพื่อเสพ จะไม่จับกุม แต่ตำรวจจะให้คำปรึกษาว่า ใช้ยาให้ปลอดภัยได้อย่างไร

เนื่องจากการใช้ยาเสพติดเกิดจากหลายเหตุปัจจัย เช่น มีปัญหาในชีวิต เพื่อนชวน ใช้เพื่อผ่อนคลาย หรือบางคนใช้เพื่อทำงาน ซึ่งในต่างประเทศมองว่า ถ้าผู้เสพใช้แล้วเกิดอันตรายขึ้นมา จะต้องมีวิธีดูแลอย่างไร เพราะหากคนเหล่านี้เจ็บป่วยทำงานไม่ได้ ก็กลายเป็นทรัพยากรที่ไม่ได้ช่วยเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ

ถึงแม้หลายคนจะยังมองว่า การทำให้ยาเสพติดถูกกฎหมาย ส่งผลให้คนใช้ยามากขึ้น แต่นักเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ อย่างจารุณีกล่าวว่า อันที่จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่กลับพบมีการใช้ยาเสพติดลดลงและอาชญากรรมน้อยลง เพราะสังคมได้สร้างกฎกติกามาดูแลซึ่งกันและกัน จึงทำให้รู้สึกปลอดภัย

ทีมข่าวจึงถามกลับ แล้ว ไทย จะไปถึงจุดนั้นได้หรือไม่ เธอตอบว่า คงต้องใช้เวลา ขอแค่ให้เห็นคนที่ใช้ยาเสพติดไม่เหมือนกันทุกคน และไม่เหมารวมว่า คนเหล่านี้ไร้ศักยภาพ เป็นคนไม่ดี แต่ควรดูว่าแท้จริงคนเหล่าเป็นใคร ทำไมจึงต้องใช้ยาเสพติด และปัจจุบันใช้ยาตัวใด ผลกระทบกับคืออะไร เพื่อที่จะได้ช่วยลดผลกระทบจากการใช้ยาเสพติดชนิดนั้น

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|25px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537865533_60640_4.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“ไทยเองรับแนวคิด Harm Reduction มานานแล้ว แต่การทำงานค่อนข้างคืบหน้าน้อย”

จารุณีบอกต่อ อาจเป็นเพราะสังคมยังไม่ค่อยเข้าใจ และคงคิดว่าเป็นแนวคิดที่สนับสนุนให้มีคนใช้ยาเสพติดมากขึ้น รวมถึงเข้าใจว่า โครงการเข็มและอุปกรณ์สะอาดส่งเสริมให้คนใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้นหรือไม่ ทำให้เป็นโจทย์สำคัญ เพราะทัศนคติเช่นนี้ไม่ง่ายในการขับเคลื่อน

นอกจากนี้ก็อาจเป็นเพราะการตีความทางกฎหมายยาเสพติดในไทย ซึ่งกฎหมายที่ใช้อยู่มีลักษณะเป็น มาลาโพรฮิบิตา (Mala Prohibita) คือรัฐกำหนดขึ้นทั้งหมด เปรียบเช่นสัญญาณไฟจราจร ที่รัฐเป็นผู้กำหนดให้เป็นความผิดขึ้นมา

ยาเสพติดก็เช่นกัน มีการกำหนดประเภทยาเสพติดว่า อยู่ในประเภท 1 หรือประเภท 2 มีฐานความผิดตามประเภท ซึ่งการลงโทษผู้ถือครองยาเสพติด ก็เป็นสิ่งที่รัฐกำหนดขึ้นเองทั้งสิ้น ทำให้กฎหมายประเภทนี้ สามารถนำเอานโยบายมา เบี่ยงเบน ได้

หมายความว่า หากประเทศไทยเจอวิกฤตคนติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มสูงขึ้น จากการไม่มีเข็มหรืออุปกรณ์สะอาด รัฐจะใช้นโยบายเบี่ยงเบนว่า กระทรวงสาธารณสุขต้องสนใจเรื่องนี้ ต้องดูแลคนในประเทศ ก็สามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม ภาคประชาสังคมมีความหวัง หากร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายลดอันตรายจากการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง การติดเชื้อเอชไอวีในผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดจะมีแนวโน้มลดลง เพราะในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขทราบว่า การดูแลผู้เสพจะต้องใช้แนวทางด้านสาธารณสุข (Public health Approach) ไม่ใช่กฎหมายมาจัดการอีกต่อไป

ส่วนการจะทำให้หน่วยงานรัฐสนับสนุนโครงการนี้ โดยมีเข็มหรืออุปกรณ์สะอาดทั่วทุกโรงพยาบาล คงเป็นเรื่องที่ต้องทำงานร่วมกันต่อไป

 

  • ในมายาคติคนไทย เหมารวมว่า ผู้ใช้ยาเสพติด 2 ล้านคน มีปัญหาทั้งหมด

“เราเจ็บปวดมาพอแล้วที่จะปล่อยให้ยาเสพติดเป็นเรื่องของคนไม่ดี ไอ้ขี้ยา ทัศนคติเช่นนั้นมีแต่ทำลายและไม่สร้างสรรค์”

เนื่องจากประเทศไทยมีผู้ใช้ยาเสพติดอยู่ 2 ล้านคน ซึ่งตามตัวเลขสากลระบุว่า 10% หรือประมาณ 2 แสนคนเท่านั้นที่ใช้ยาแล้วเกิดผลกระทบ หรืออยู่ในภาวะพึ่งพิง

จารุณีกล่าวว่า สังคมไทยต้องเริ่มแยกแยะให้ได้ก่อน ว่าผู้เสพบางคนต้องได้รับการดูแลรักษา แต่บางคนแทบไม่ต้องไปทำอะไร เพราะบางคนใช้เป็นครั้งคราว เช่น นานๆ ที สัปดาห์ใช้ครั้งหนึ่ง ซึ่งคนเหล่านนี้จัดการตัวเองได้ ทำงานได้

ที่สำคัญต้องไม่ไปจับผู้เสพทุกคนไปบำบัดหรือเข้าคุก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่มีปัญหาจากการใช้ยาเสพติด

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537866588_81471_5.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

  • ผู้ติดยาเป็นเหยื่อ ไม่ใช่อาชญากร

จากความเห็นของจารุณี ผู้ใช้ยาเสพติดถือเป็นเหยื่อจากการค้ายา และผลประโยชน์ทั้งหลาย การที่คนๆ หนึ่งตัดสินใจใช้ยาล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งบางคนอาจแค่อยากลอง แต่ยาเสพติดบางตัวเมื่อใช้เป็นเวลานาน สามารถทำให้เกิดภาวะติดทางสมอง หรือที่เรียกว่า ‘โรคสมองติดยา’ ได้ และแน่นอนว่า คนเหล่านี้ไม่รู้จะหาทางออกเช่นไร เพราะหากปรึกษาคนในครอบครัว อาจถูกด่าและคงไม่ถามว่า ใช้ยาตัวใด หรือมีคำแนะนำอย่างไร นอกจากพาไปบำบัด

“ผู้ใช้ยาเสพติดจำนวนมาก ถูกครอบครัวพาไปบำบัดมานับร้อยครั้ง บางคนถูกบำบัดจนคิดว่า ชีวิตนี้เลิกยาไม่ได้แล้ว ซึ่งจะทำลายความตั้งใจและความมุ่งมั่นของเขาลงไปเรื่อยๆ”

เธออธิบายให้ทีมข่าวฟังว่า การติดยาเสพติด อาจไม่ต่างกับการเสพติดพฤติกรรมที่มีอยู่ในสังคม ยกตัวอย่างเช่น ผู้เสพติดเกม อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือการช้อปปิ้ง ก็เป็นสารพัดการเสพติด เมื่อดูรายละเอียดก็พบว่า มีการทำงานกับสมองคล้ายกับภาวะติดยาเสพติดเช่นกัน

คนที่ติดพฤติกรรมเหล่านี้จำนวนไม่น้อย จัดการกับตัวเองไม่ได้ ลุกไปทำงานไม่ไหว บางคนขังตัวเองอยู่ในห้องเป็นเวลาหลายวัน ทำให้ต้องออกจากงาน มีผลกระทบต่อการเรียน

อย่างไรก็ตาม ถ้าลองเปลี่ยนมุมมองว่า การใช้ยาเสพติดไม่ได้ต่างกับพฤติกรรมเสพติดอื่นๆ ก็อาจทำให้มุมมองเรื่องนี้เป็นเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งจารุณีกล่าวว่า ในวันนี้ถือเป็นความท้าทาย ที่จะทำให้สังคมเข้าใจ ‘คนติดยาเหมือนคนติดเกม’ และจะทำให้เรียนรู้ในเรื่องนี้แบบไหนได้บ้าง

“ไม่มีใครหรอกที่ตั้งใจใช้ยาเสพติดตั้งแต่แรก แต่มันมีเหตุที่มาทั้งหลาย จนทำให้เขาต้องใช้ พอใช้แล้วเขาก็ไม่รู้จะไปเล่าให้ใครฟัง เพราะกลัวโดนรังเกียจหรือตีตรา จับเขาไปบำบัด ส่งตำรวจ เขาก็เลยปิดตัวเงียบ ไม่อยากยุ่งกับใคร”

การบำบัดผู้ใช้ยาเสพติดในประเทศไทย หากเป็นผู้ติดสารอนุพันธ์จากฝิ่น เช่น ฝิ่น เฮโรอีน จะมีสารทดแทนคือเมทาโดน ซึ่งสามารถรับได้ที่โรงพยาบาล แต่ปัจจุบันยังมีอยู่ไม่กี่แห่ง ส่วนยาเสพติดประเภทกระตุ้น เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ สามารถเข้ารับการบำบัด แมทริกซ์โปรแกรม ได้ที่โรงพยาบาลเช่นกัน

จารุณีบอกว่า ผู้เสพยาบ้าโดยส่วนใหญ่จะใช้มาระยะหนึ่ง และสักพักก็หยุดใช้ หรือเลิกใช้ไปเอง ดังนั้นสิ่งที่คนในครอบครัวต้องรู้ เมื่อลูกหลานใช้ยาชนิดนี้คือ ใช้ถี่แค่ไหน อาการเป็นอย่างไร ใช้เวลาไหน เนื่องจากคนที่ใช้ยาบ้าจะมีอาการขาดน้ำ จึงต้องแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ หรือถ้าใช้ติดต่อกันจะไม่ได้นอน เบลอ หรืออาจจะหลอนได้

เพราะฉะนั้นต้องดูเวลาที่ใช้ เช่น ไม่ควรใช้ตอนกลางคืน เพราะจะทำให้ไม่ได้พักผ่อน ถ้ามีข้อมูลเหล่านี้ก็จะคุยกับลูกหลานได้อย่างเข้าใจ และเมื่อมีการดูแล เพื่อให้ปลอดภัยจากการใช้ยา สักพักผู้เสพอาจหยุด หรือเลิกใช้ไปเอง แต่ถ้าอยู่ในภาวะที่ใช้มาอย่างต่อเนื่อง ควรเข้ารับโปรแกรมที่โรงพยาบาล ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงความพร้อมของคนที่จะเข้ารับบริการด้วย

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|25px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537873382_52758_6.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

  • ‘จารุณี’ ฝากถึงภาครัฐและสังคม 

การแก้ปัญหายาเสพติด ต้องคิดร่วมกันหลายฝ่าย ภาครัฐต้องมั่นใจว่า การดูแลคนที่ใช้ยาเสพติดเป็นหน้าที่ และต้องไม่ถูกละเว้น

ขณะที่กระทรวงยุติธรรม และ ปปส. ต้องดูแลเรื่องกฎหมาย แต่ก็มีบทเรียนมากมายแสดงให้เห็นว่า กฎหมายไทยมิได้ช่วยแก้ปัญหาผู้เสพผู้ติด

เพราะตามสถิติ รัฐจับกุมผู้ค้ารายใหญ่เข้าคุกได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จับแต่ ปลาซิวปลาสร้อย เช่นผู้เสพ ซึ่งปีหนึ่งต้องจับผู้เสพเข้าคุกหลายแสนคน ต้องถามว่าเพื่ออะไร

คนที่เข้าคุกไปแล้ว จะต้องถูกตราหน้าว่า ขี้คุก แม้ให้เข้าไปไม่กี่วัน สังคมก็ยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คนนี้เคยเข้าคุกมาก่อน

จารุณีกล่าวว่า งานน้อยมาก ที่จะรับคนเคยติดคุกมาทำงาน ประวัติของคนถ้าเสียหายไปแล้ว คง ‘คืนคนดีสู่สังคม’ ได้ยาก

รัฐจับผู้เสพไปไว้ในคุก เท่ากับแย่งงานไป เพราะผู้เสพเหล่านี้ทำงานอยู่ดีๆ และใช้ยาเสพติดเป็นครั้งคราวเท่านั้น พอติดคุกไปสักระยะ ก็ปล่อยตัวออกมา และหางานให้ทำ ถือเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งกันมาก

คุกเมืองไทยมีพื้นที่ให้อยู่พอสำหรับ 120,000 คน แต่ตอนนี้ผู้ต้องขังมี 3 แสนกว่าคน และกว่า 70% เป็นคดียาเสพติด ที่ส่วนใหญ่เป็นฐานความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจารุณีจึงเกิดคำถามว่า คุกมีไว้ขังใครกันแน่ คุกไม่ใช่บ้านของคนใช้ยาเสพติด จึงต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเรื่องนี้กันใหม่ เพราะมีผลกระทบ

ในส่วนของประชาชนทั่วไป เรื่องสำคัญคือ ข้อเท็จจริงของยาเสพติด

เธอกล่าวว่า ถ้าวันหนึ่งค้นกระเป๋าลูก และพบยาบ้าหนึ่งเม็ด คุณจะทำอย่างไร คุณจะรีบเอาลูกไปบำบัด หรือจะหาข้อมูลว่ายาบ้าหนึ่งเม็ด ทำให้เกิดผลกระทบแบบไหน ออกฤทธิ์อย่างไร และค่อยๆ พูดคุยกับลูก แบบนี้จะไม่เป็นการผลักเขาให้ออกจากบ้าน

ผู้ใช้ยาเสพติดหลายคนถูกผลักออกจากครอบครัว เพราะไปข้องแวะกับยาเสพติด หลายคนไม่อยากออกจากบ้าน และหลายคนยังอยากอยู่กับครอบครัว แต่เป็นเพราะครอบครัวไม่เข้าใจ

คนเหล่านี้จึงจำใจเดินออกมา แล้วก็ถูกสังคมตีตราไม่ยอมรับ ซึ่งผู้เสพบางรายตีตราตัวเองด้วย รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีค่า ซึ่งนั่นเป็นการถูกกระทำซ้ำ

ท้ายสุดจารุณีฝากไว้ ถ้าทุกคนเข้าใจและช่วยกันหยุดความคิด ผู้ใช้ยาคือคนไม่ดี คืออาชญากร ขี้คุก เลิกตัดสินเหมารวมว่า ใครเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจะเป็นเช่นนั้นทั้งหมด เวลานั้นถึงจะจัดการกับปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537881540_75948_7.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”25px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ทวีทัศน์ ทับทิมศรี  สัมภาษณ์และเรียบเรียง

นลิน​ อรุโรทยานนท์  ถ่ายภาพ

และภาพประกอบบางส่วนจาก มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า