SHARE

คัดลอกแล้ว

ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้กลายมาเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายคนทราบดีอยู่แล้วว่า นวัตกรรมล้ำสมัยที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทคโนโลยีอวกาศแทบทั้งสิ้น

เรื่องราวความสำเร็จในการสำรวจดวงจันทร์ขององค์การนาซา (NASA) และยาน Apollo เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการสำรวจห้วงจักรวาลที่มีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นพลังขับเคลื่อนขนานใหญ่ และจุดเริ่มต้นนี้เองที่ทำให้นานาประเทศต่างก็หันมาให้ความสนใจ และเห็นความสำคัญของการสำรวจห้วงอวกาศ

ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต่างก็มีแผนจะมุ่งหน้าไปดวงจันทร์ด้วยเทคโนโลยีของตนเอง แน่นอนว่าความมุ่งมั่นนี้ มีอยู่ในประเทศไทยแล้วเช่นกัน

[ประเทศไทยกับงานวิจัยด้านการสำรวจดวงจันทร์]

ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจกับการสำรวจดวงจันทร์ โดยในปี 2021 ได้มีการประกาศตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) ซึ่งเป็นการรวมตัวของหน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศ และสถาบันอุดมศึกษารวม 14 แห่ง นำโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT 

สาเหตุที่ทำให้เกิดการผลักดันโครงการสำรวจดวงจันทร์ดังกล่าว มาจากคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยีการสำรวจห้วงอวกาศ โดยนอกจากจะเกิดการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ ก็ยังเป็นจุดเริ่มต้นของผลักดันและต่อยอดศักยภาพด้านเทคโนโลยี ซึ่งได้กลายมาเป็นนวัตกรรมระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, การสื่อสาร WiFi, การระบุตำแหน่ง GPS ไปจนถึงเทคโนโลยีการถนอมอาหารที่เรียกได้ว่าใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไปมากที่สุด

[ผนึกกำลังส่ง ‘ฉางเอ๋อ 7’ สำรวจดวงจันทร์ภายในปีหน้า]

ประเทศไทยยังได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ระดับโลกของจีน โดยร่วมลงนามกับ ห้องปฏิบัติการสำรวจห้วงอวกาศลึก (Deep Space Exploration Lab หรือ DSEL) ภายใต้องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน หรือ CNSA ในข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยบนดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station หรือ ILRS) เมื่อปีที่ผ่านมา 

เป้าหมายก็เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้ผู้เชี่ยวชาญและวิศวกรจากประเทศไทยได้มีโอกาสร่วมงานกับหน่วยงานที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ในการนำเอาตัวอย่างจากดวงจันทร์กลับมายังโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศจีน ในโครงการฉางเอ๋อ 5 

โดยมีประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าใน ‘โครงการฉางเอ๋อ 7’ ที่มีกำหนดจะนำส่งขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2026 จะมีอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชาวไทยเดินทางไปด้วย

อุปกรณ์ดังกล่าวมีชื่อว่า ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope ออกแบบขึ้นเพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศ และศึกษากิจกรรมที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ 

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ประธานคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทย กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “นี่เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยมีส่วนร่วมกับองค์การอวกาศแห่งชาติของจีน ทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการผลิตเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงที่ใช้งานในอวกาศได้จริง รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ไทยและจีน ตลอดจนพัฒนาความสามารถในการออกแบบเทคโนโลยีอวกาศยาน ที่จะช่วยให้มนุษย์ได้ค้นพบความรู้ใหม่ๆ เพื่อต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมอีกมากมาย ที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลก”

[กลุ่มธุรกิจ TCP ร่วมขยายขอบเขตด้าน ‘วิทยาศาสตร์’]

แน่นอนว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในการผลักดันการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมให้แก่นักวิจัยและวิศวกรชาวไทย 

กลุ่มธุรกิจ TCP ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านการวิจัยดังกล่าว เผยว่า การจะไปสู่จุดหมายปลายทางในการผลักดันประเทศไทยให้มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศยานด้วยตนเอง ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน

“เราเล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยกันผลักดันงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศยาน ซึ่งจะนำความก้าวหน้ามาสู่การสรรสร้างนวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม เราจึงให้การสนับสนุน NARIT ในการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัยไทย เพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านอวกาศห้วงลึกจากองค์กรด้านอวกาศชั้นนำของโลก และนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นอวกาศยานจากฝีมือคนไทยต่อไป นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนการนำดินดวงจันทร์จากฉางเอ๋อ 5 มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในไทย เพื่อปลุกพลังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนที่มีใจรักวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาเรียนรู้ และเข้าใจว่าดาราศาสตร์ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเราและงานวิจัยจากอวกาศสามารถนำไปสู่ วันที่ดีกว่าได้” สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP กล่าว

[ครั้งแรก! ที่คนไทยจะใกล้ชิด ‘ดวงจันทร์’ ที่สุด]

สำหรับผู้ที่มีความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ หรือเทคโนโลยีด้านอวกาศ นี่คือโอกาสครั้งสำคัญที่จะได้สัมผัสกับ ‘ดวงจันทร์’ ด้วยตัวของคุณเอง กับการจัดแสดงนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกของ “ดินดวงจันทร์ จากยานฉางเอ๋อ 5” บูทนิทรรศการ Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group จัดโดย NARIT ในงาน อว.แฟร์

งานนี้นอกจากจะมีโอกาสได้เห็น ‘สสารจากนอกโลก’ ด้วยตาของตัวเองแล้ว กลุ่มธุรกิจ TCP และ NARIT ยังอยากชวนทุกคนท่องไปในโลกของเทคโนโลยีอวกาศยาน ไม่ว่าจะเป็น กล้องโทรทรรศน์ความแม่นยำสูง เทคโนโลยีอวกาศ ต้นแบบดาวเทียมวิจัยฝีมือคนไทย เทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ เทคโนโลยีแมคคาโทรนิกส์ เทคโนโลยีคลื่นวิทยุและสัญญาณดิจิทัล วิทยาศาสตร์บรรยากาศ และเทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เพื่อเชื่อมต่อให้ระยะห่างขององค์ความรู้ทางวิทยาศาตร์และบุคคลทั่วไปได้เข้าใกล้กันมากกว่าเดิม ทั้งยังปลุกพลังให้เยาวชนไทยได้เห็นโอกาสในการเติบโตด้านวิทยาศาตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผ่านการสัมผัสและเรียนรู้อย่างใกล้ชิด กับงานวิจัยทางดาราศาสตร์ระดับแนวหน้าสุดล้ำของ NARIT ในงานที่จะ “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” และปลุกให้คนไทยสนใจในวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม กล้าที่จะตั้งเป้าหมายให้ไกลไม่ต่างจากนานาชาติ ในการขยายขีดจำกัดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเรา 

พบกันที่บูท Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group จัดโดย NARIT ในงาน อว.แฟร์ : SCI-POWER FOR FUTURE THAILAND บริเวณโซน F ตั้งแต่วันที่ 22-28 กรกฎาคม 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. งานนี้เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า