Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดทดลองวัคซีนโควิด-19 ในคนระยะแรก ช่วงเดือน เม.ย.2564 ขณะที่ ศ.นพ.ยง เผยมี 13 บริษัทกำลังทำการทดลองวัคซีนระยะ 3 เชื่อมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้มากกว่าที่เคยตั้งไว้

วันที่ 24 พ.ย.2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ถึงความคืบหน้าการทดลองและวิจัยวัคซีนรักษาเชื้อโควิด- 9 โดยระบุว่า แสงสว่างปลายทางเริ่มมองเห็นชัดเจนขึ้น หลังจากที่บริษัทวัคซีนต่างๆ ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้มากกว่าที่เคยตั้งไว้

ขณะนี้มีวัคซีนถึง 13 บริษัท ที่ทำการศึกษาอยู่ในระยะที่ 3 มีการประกาศผลออกมาแล้วถึง 3 บริษัท มีประสิทธิภาพในการป้องกันดีทีเดียว นอกจากนี้ในการป้องกันและรักษา ยังมี การใช้ภูมิต้านทาน ที่สร้างขึ้นมา monoclonal antibody มาใช้ในการป้องกันและรักษาระยะแรก ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อไม่ให้โรครุนแรง มีประสิทธิภาพลดปริมาณไวรัสได้ แอนติบอดี้ที่สร้างขึ้นมา จะจำเพาะกับตัวไวรัส เช่นเดียวกับพลาสมาที่ได้รับจากผู้ที่หายจากโรคและมีภูมิต้านทานสูง ก็จะมีแอนติบอดี้ แต่ต้องให้ระยะแรกที่ผู้ป่วยยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานด้วยตัวเอง และมีอาการรุนแรง

การนำเอาพลาสม่า มาทำเป็นเซรุ่ม ก็เช่นเดียวกัน ในเซรุ่มก็จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด-19 สามารถใช้ได้เช่นเดียวกับการใช้ป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เช่นเมื่อถูกเข็มเจาะเลือดผู้ป่วยตำมือ หรือสัมผัสโรค การให้เซรุ่มจำเพาะรักษาโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

ข้อดีของเซรุ่ม ที่สกัดจากพลาสมาผู้ที่หายป่วยและมีภูมิต้านทานสูง เซรุ่มสามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้ ไม่ต้องให้ทางหลอดเลือดแบบการให้พลาสม่า สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าการเก็บ Plasma และถูกบรรจุเป็นขวดขวดเล็กๆไม่เหมือนกับ Plasma ที่ต้องเก็บเป็นถุง ซึ่งขณะนี้ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ที่ได้รับบริจาคพลาสม่าจากผู้ที่หายป่วยและมีภูมิต้านทานสูง ได้นำเอาพลาสม่าจำนวนหนึ่ง มาทำเป็นเซรุ่มเรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ได้เริ่มเห็นชัดมากขึ้น อย่างไรก็ตามวัคซีนที่จะเข้ามาถึงประเทศไทย อย่างเร็วก็คงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนนับจากนี้ เราจะต้องช่วยกัน ป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศไทย รอเวลาที่จะมีวัคซีนและยารักษาที่มีประสิทธิภาพ ปีหน้าจะต้องดีกว่าปีนี้แน่นอน ทั้งทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คาดเมษายน 2564 ไทยทดลองวัคซีนโควิด-19 ในคน

ด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยความคืบหน้าการวิจับและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของไทยว่า กำลังเข้าสู่การจองโรงงานวัคซีน เพื่อผลิตวัคซีนต้นแบบสำหรับการทดลองในคนคาดว่าจะเริ่มทดลองในเดือนเมษายน 2564 ขณะนี้บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ที่ร่วมการทดลองได้นำงบประมาณมาร่วมจัดซื้อวัตถุดิบ แต่ก็มีความกังวลเรื่องน้ำยาที่จะใช้ในการผลิตอาจไม่เพียงพอ

สำหรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณในการพัฒนาวัคซีนจำนวน 300 ล้านบาท โดยรัฐบาลทยอยจ่ายงวดละ 42 ล้านบาท แต่คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณสูงกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ แต่งบประมาณที่ได้จากรัฐอาจไม่ทันก็ได้รับการสนับสนุนจากการบริจาค

การพัฒนาวัคซีนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเริ่มเข้าสู่การทดลองในคนระยะที่ 1 ช่วงเดือน เม.ย.2564 เมื่อทดลองในคนระยะที่ 1 สำเร็จ คาดว่าจะทดลองในคนระยะที่ 2 ช่วงเดือน มิ.ย. หากผลการทดลองได้ประสิทธิผล จะไม่ทดลองในระยะที่ 3 เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับต่างประเทศที่พัฒนาและได้ผล โดยการเก็บข้อมูลในระยะที่ 1 และ 2 จะดูถึงปริมาณวัคซีนที่คนไทยได้รับกี่โดสถึงจะมีความปลอดภัย และกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากพันธุกรรมของคนไทยและต่างชาติแตกต่างกัน ปริมาณการใช้วัคซีนจึงแตกต่างกันด้วย คาดว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ใช้เองได้ภายในปลายปี 2564

ทั้งนี้ทีมวิจัยวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 สัญชาติไทยในขณะนี้ 5 ทีม ประกอบด้วย
1. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีม ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม เป็นชนิด สารพันธุกรรมไวรัส (mRNA) มีการทดสอบในลิงแล้ว
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีม ศ.นพ. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ ผลิตจากใบยาสูบชนิดพิเศษ มีการทดสอบในหนูแล้ว
3. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นชนิด อนุภาคไวรัสเสมือน อยู่ในขั้นเตรียมทดสอบในหนูทดลอง
4. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตจากวัคซีนโปรตีนซับยูนิต อยู่ในขั้นเตรียมทดสอบในหนูทดลอง
5. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ผลิตจากวัคซีนชนิดเชื้อตายและอื่นๆ อยู่ในขั้นตอนระหว่างการวิจัย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า