SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ พัดถล่มหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ.2547

ปภ.ภูเก็ตยืนยันพร้อมรับมือภัยสึนามิ มีการตรวจสอบระบบเตือนภัยเป็นประจำทุกสัปดาห์ สั่งการแต่ละพื้นที่เสี่ยงสำรวจเส้นทางอพยพหนีภัยให้เป็นปัจจุบัน

เมื่อนับย้อนไป 14 ปี ช่วงเช้าของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 หลังจากนักท่องเที่ยว หรือชาวบ้านได้พักผ่อนในวันอาทิตย์ ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวหมู่เกาะนิโครบาร์ ห่างจากชายฝั่งภูเก็ต ประมาณ 1,000 กิโลเมตร แต่ก็ไม่มีใครคิดอะไร คิดเพียงแต่ว่าเกิดแผ่นดินไหว และรับความรู้สึกได้ แต่เวลาผ่านไปประมาณชั่วโมงเศษๆ ชาวบ้านที่อยู่บริเวณชายหาดก็พบว่า น้ำทะเลได้ลดตัวลงแต่ก็ไม่มีใครคิดอะไร นึกว่าเป็นเพียงน้ำขึ้นลงตามปกติ แต่จากนั้นไม่นาน ก็ได้มีคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าชายฝั่งทั้งฝั่งอันดามัน ทำให้เกิดความเสียหายทั้งบ้านพักอาศัย โรงแรมที่พัก รถยนต์ รถจักยานยนต์ รวมทั้งชีวิตของชาวบ้าน ประชาชน นักท่องเที่ยว ที่อาศัยและพักตามโรงแรมต่างๆ มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งความสูญเสียและความเสียหายเป็นจำนวนมาก

มาถึงวันนี้ (26 ธ.ค.61) เป็นเวลา 14 ปี ที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในด้านอันดามัน ต่างเฝ้าระวัง รวมทั้งติดตามการแจ้งเตือนจากหน่วยงานราชการ หรือ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ว่าเกิดแผ่นดินไหวที่ไหน วัดค่าได้เท่าไร เพื่อจะได้ทำการเฝ้าระวัง หรือต้องอพยพไปที่ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ก็ได้นำระบบเตือนภัย ซึ่งเป็นเสาสัญญาณเตือนภัยมาติดตั้ง โดยในจังหวัดภูเก็ตติดตั้งทั้งหมดจำนวน 19 หอ และจะมีการตรวจสอบสัญญาณด้วยการเปิดเพลงชาติไทยทุกเช้าวันพุธ เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

นายประพันธ์ ขันธ์พระแสง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต (ปภ.ภูเก็ต) กล่าวถึงความพร้อมรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยสึนามิ ว่า  ระบบการเตือนภัยสึกนามิของจังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมค่อนข้างมาก โดยในส่วนของอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ จะมีทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งได้มีการวางระบบการเตือนภัยของจังหวัดภูเก็ตไว้ 5 ระบบ ซึ่งทางศูนย์เตือนภัยฯ จะมีการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเสาเตือนภัยขนาดใหญ่ซึ่งมีรัศมีการส่งสัญญาณเสียงของแต่ละหอเตือนภัยประมาณ 1 – 2 กิโลเมตร ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก จำนวน 19 หอ รวมทั้งบนเกาะแก่งต่างๆ ด้วย

ซึ่งจะมีการทดสอบสัญญาณด้วยการเปิดเพลงชาติไทยทุกเช้าวันพุธ ยืนยันว่ามีความพร้อม 100% นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งทำการติดตั้งไว้ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง, ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน, ทัพเรือภาคที่ 3 และสถานีวิทยุกระจายเสียงต่าง ๆ  เช่น เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยในท้องที่ จำนวน 15 จุด,  เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม จำนวน 11 จุด, ชุดควบคุมการถ่ายทอดสัญญาณ จำนวน 2 จุด เป็นต้น

“ระบบการเตือนภัยสึนามิเรามีความพร้อม 100%  จุดใหญ่ที่จะก่อให้เกิดสึนามิของจังหวัดภูเก็ตจะเป็นคลื่นที่เกิดมาจากหมู่เกาะนิโครบาร์ ห่างจากชายฝั่งภูเก็ต ประมาณ 1,000 กิโลเมตร โดยจะมีเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงสี่สิบห้านาทีก่อนคลื่นจะมาถึงฝั่งในการเตือนพี่น้องประชาชนให้อพยพไปยังจุดปลอดภัย ฉะนั้นจึงฝากไปถึงพี่น้องประชาชนชาวภูเก็ตว่า อย่าตื่นตกใจ หากเกิดแผ่นดินไหวในทะเลบริเวณหมู่เกาะนิโครบาร์และจะเกิดคลื่นสึนามิ ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจะส่งสัญญาณเตือนมายังศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและศูนย์ต่างๆ รวมถึงแจ้งไปยังชุดควบคุมในแต่ละพื้นที่ เพื่อทำการอพยพ หากเกิดคลื่นใกล้ฝั่งประมาณ 250 กิโลเมตร บริเวณเกาะเมียง จ.พังงา จะมีเครื่องวัดระดับน้ำของกรมอุตุนิยมวิทยา หากพบระดับน้ำทะเลลดลงมากกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะเกิดคลื่นสึนามิได้ ก็จะแจ้งมายังศูนย์ป้องกันภัย ซึ่งจะมีเวลาประมาณ 45 นาที ในการแจ้งเตือนให้ประชาชนอพยพไปยังจุดปลอดภัย”

นายประพันธ์ กล่าวถึงการเตรียมเส้นทางอพยพไปยังจุดปลอดภัยของแต่ละพื้นที่ว่า ทางท้องถิ่นต่างๆ ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งมีจำนวน 7 แห่ง ตั้งแต่เทศบาลตำบลราไวย์ จนไปถึงองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตได้มีหนังสือและการประสานงานภายในให้แต่ละท้องถิ่นทำการสำรวจเส้นทางหนีภัยสึนามิให้เป็นปัจจุบัน และให้จัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของท้องถิ่นนั้นๆ เมื่อเกิดเหตุจะต้องมีการนำแผนมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการภัย รวมถึงป้ายบอกทาง เนื่องจากเราต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ และทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะมีกำหนดจัดฝึกซ้อมหนีภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันในช่วงเดือนเมษายน 2562 ฉะนั้นขณะนี้ข้อมูลทางกายภาพ ทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั้ง 6 จังหวัดกำลังเร่งสำรวจ รวมถึงจำนวนตึกสูงที่ต้านแรงสึนามิได้ เพื่อใช้เป็นหลบภัยในส่วนของผู้สูงอายุหรือผู้พิการจะได้ไม่ต้องอพยพไปยังจุดปลอดภัยซึ่งจะอยู่ค่อนข้างไกล

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

https://youtu.be/cAsbmYRGvFk

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า