SHARE

คัดลอกแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาที่เอเชีย โซไซตี้ (Asia Society) ย้ำบทบาทของไทยในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน เร่งแก้ปัญหาปากท้อง

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 เวลา 12.05 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับผู้บริหาร Asia Society ได้แก่ มาดามโจเซ็ท ชีราน ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร Asia Society คุณทอม นากอร์สกี้ รองประธานบริหาร Asia Society และ แขกรับเชิญ โดยภายหลังเสร็จสิ้นการรับประทานอาหารได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืนระหว่างประเทศ จากความแข็งแกร่งภายในสังคมไทย”

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มากล่าวปาฐกถา ณ Asia Society ถือเป็นปาฐกถาครั้งแรกในรอบ 7 ปี ของนายกรัฐมนตรีไทย ขอบคุณ Asia Society ที่ได้ดำเนินบทบาทอย่างแข็งขัน ในการส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความร่วมมือระหว่างเอเชียกับสหรัฐฯ เป็นเวลากว่า 60 ปี ซึ่งไทยภูมิใจที่เป็นประเทศแรกในเอเชียที่เป็นมิตร และภาคีสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ซึ่งความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สหรัฐฯ นี้ยังได้สร้างเสถียรภาพและความเจริญสู่ภูมิภาค ประเทศไทยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบทโลก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเสถียรภาพของสังคมและสวัสดิภาพความกินดีอยู่ดีของประชาชน อาทิ ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ ไปจนถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้ความท้าทายต่างๆเหล่านี้ ไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีเสถียรภาพ สันติภาพ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นภูมิภาคที่เชื่อมต่อและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ หรือที่ฝ่ายสหรัฐฯ ในปัจจุบันรวมเรียกว่า อินโด-แปซิฟิก ถือว่าเป็น “ภูมิภาคแห่งโอกาส” เนื่องจากมีประชากรรวมกันแล้วเกือบ 3 พันล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และเป็นศูนย์อุตสาหกรรมการผลิตหลากหลายสาขาที่สำคัญ ประเทศไทยจึงดำเนินนโยบายเพื่อเสริมสร้าง “ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน” กับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศนอกภูมิภาคที่ร่วมความคิด (like-minded) และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ตัวไทยเองเพื่อสามารถแสดงบทบาทนำดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงพัฒนาการในประเทศไทย ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้วางรากฐานด้านต่างๆ และยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปากท้องและการเอารัดเอาเปรียบในสังคม ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลปรับปรุงกฎระเบียบ และวิธีทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ นักธุรกิจและนักลงทุนเพิ่มขึ้น ด้านสังคม รัฐบาลประกาศให้การต่อต้านการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ และได้กำกับดูแลการจัดการปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ด้านการเมือง ปฏิบัติตาม Roadmap อย่างครบถ้วน ต่อจากนี้ ประเทศไทยจะเดินไปข้างหน้าภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีมีเป้าหมายคือ จะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูง ภายในปี 2579 มีความมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน มีพัฒนาการทางสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมในสิทธิพื้นฐาน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ตลอดจน เพิ่มพูนบทบาทเสริมสร้าง “ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน” กับนานาประเทศ โดยมีอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นจุดตั้งต้น

การเป็นประธานอาเซียนของไทยในปีนี้ ไม่เพียงเน้นการมองไปสู่อนาคต และเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อเป็นหลักให้ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือ และเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้นกับประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศคู่เจรจาต่างๆ ของอาเซียน ภายใต้แนวคิดหลักคือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องครอบคลุมในทุกมิติหรือ Sustainability of Things (SoTs)

อย่างไรก็ดี ไทยให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศสมาชิกซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญตามวิสัยทัศน์อาเซียน เพราะเชื่อว่าเมื่อประเทศต่างๆ มีระดับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน ก็จะเกิดความเข้าใจกันและร่วมมือกันใกล้ชิดขึ้น นายกรัฐมนตรีให้คำมั่นว่าในช่วงเวลาการเป็นประธานอาเซียนที่เหลือของไทย จะเดินหน้าส่งเสริมความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วน กับประเทศทั้งภายในและภายนอกอาเซียน และในปี 2565 ไทยจะรับหน้าที่ประธานการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคไทยยินดีเปิดรับความเห็นและข้อแนะนำจากมิตรประเทศเพื่อให้วาระประธานเอเปคของไทยเกิดประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกและประชาคมระหว่างประเทศในวงกว้าง โดยในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีหวังว่าการกล่าวปาฐกถาครั้งนี้ จะเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความเข้าใจต่อพัฒนาการและบทบาทระหว่างประเทศของประเทศไทย และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นหุ้นส่วนใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า