Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ขณะนี้ที่บราซิลกำลังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ถูกจับตาในการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงถึง 376,669 คน และมีผู้เสียชีวิต 23,522 คน ถือเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเป็นอันดับที่ 2 ของโลกและหนักสุดในละตินอเมริกา จากสถานการณ์ที่ดูจะแย่ลงเรื่อยๆ ทางสหรัฐฯถึงกับสั่งแบนทั้งพลเมืองบราซิลและชาวต่างชาติที่เดินทางไปบราซิลในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา

  • ฝังศพหมู่

หลังการระบาดอย่างหนักทำให้บราซิลต้องเร่งขุดหลุมศพนับพันหลุม เพื่อรองรับศพของผู้เสียชีวิต มีภาพที่ปรากฏการฝังศพหมู่ (Mass Graves) ในบราซิลที่ต้องใช้แมคโครขุดหลุมเป็นทางยาว โดยศพจะถูกแช่แข็งไว้หลังจากนั้นก็ถึงจะถูกนำไปฝังในวันถัดไป บราซิลเจอสถานการณ์หนักถึงขั้นพื้นที่ฝังศพไม่เพียงพอจนต้องสร้างที่ฝังศพเป็นคอนโดมีเนียมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการจัดการศพ

ภาพถ่ายทางอากาศเผยบราซิลขุดหลุมฝังหมู่เหยื่อโควิด-19

 

 

  • ผู้นำบราซิลให้ความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจมากกว่าสาธารณะสุข

ดูเหมือนว่าการรับมือของผู้นำบราซิลจะเน้นให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจมาก่อนเรื่องสาธารณสุข ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโร มีบุคลิคลักษณะคล้ายกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “ทรัมป์แห่งละตินอเมริกา” ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนมีนาคม สื่อท้องถิ่นของบราซิลหลายแห่งรายงานว่า ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบลโซนาโร ประธานาธิบดีบราซิล ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเขาเพิ่งจะไปร่วมรับประทานอาหารกับประธานาธิบดีทรัมป์ที่รีสอร์ตในสหรัฐฯ โบลโซนาโรออกมาปฏิเสธในภายหลัง โดยยืนยันด้วยตนเองว่าผลตรวจโควิด-19 ของตนนั้นเป็นลบ เขาแจ้งข่าวผ่านทางทวิตเตอร์และลงท้ายว่า “อย่าไปเชื่อเฟคนิวส์จากสื่อ”

ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรคัดค้านมาตรการปิดเมืองและไม่เห็นด้วยกับแนวทางล็อกดาวน์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ก่อนหน้านี้ เขาเคยกล่าวออกทีวีว่า เขาไม่ได้รู้สึกอะไรกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และรู้สึกว่ามันก็เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา  (“a little flu”) เท่านั้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน เขาเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อเมื่อถูกถามเกี่ยวกับการตายที่สูงขึ้นของคนในประเทศโดยกล่าวว่า “แล้วไง ผมทำให้ปาฏิหารย์เกิดขึ้นไม่ได้หรอกนะ” (So what? I can’t work miracles) และยังทวีตข้อความถึงการปิดโรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมตั้งคำถามถึงความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น

นอกจากนี้นายเปาโล กูเดส รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของบราซิลกล่าวว่า บราซิลอาจเผชิญกับการล่มสลายของเศรษฐกิจในอีก 1 เดือนเนื่องจากการให้ประชาชนต้องอยู่บ้าน ขณะที่กองทุนระหว่างประเทศ (IMF) ก็คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจบราซิลเสี่ยงหดตัว 5.3 เปอร์เซนต์ในปีนี้

  • บราซิลผิดพลาดจากการรับมือที่ไม่มีเอกภาพ

บราซิลมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือ จนบุคลากรทางการแพทย์ต้องออกมาเดินขบวนประท้วง พวกเขาต้องทำงานอย่างหนักและไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะได้กลับบ้านหรือไม่

นอกจากนี้บราซิลยังมีแก้ปัญหาที่สะเปะสะปะ ขาดเอกภาพ บราซิลต้องเผชิญกับความขัดแย้งรุนแรงในเรื่องการรับมือกับไวรัส โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรได้สั่งปลดนายหลุยซ์ เอนริเก้ แมนเดตต้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกจากตำแหน่ง หลังมีปัญหาขัดแย้งกันในเรื่องวิธีการรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และแต่งตั้งนายเนลสัน ทีช เข้ารับตำแหน่งแทน แต่หลังดำรงตำแหน่งได้เพียง 29 วัน นายเนลสัน ทีช ก็ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งโดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลของการลาออกอย่างเป็นทางการ ขณะที่หลายฝ่ายเชื่อว่าสาเหตุที่เขาตัดสินใจลาออกเพราะไม่พอใจกับแนวทางรับมือโควิด-19 ของประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรที่ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อสกัดการแพร่ะบาดของไวรัส เขาเคยกล่าวว่า “ ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรไม่ได้ปรึกษาเขาเลย ก่อนที่จะออกคำสั่งอนุญาตให้ศูนย์ฟิตเนส ร้านเสริมสวยและร้านตัดผมกลับมาเปิดบริการอีกครั้ง”

ผู้ว่าการเซาเปาโล(Sao Paulo) กล่าวตอนให้สัมภาษณ์กับเอ็นบีซี นิวส์ (NBC News) ว่า “ตอนนี้เรากำลังทำสงครามกับไวรัส 2 ตัว คือ ไวรัสโคโรนา และ ไวรัสโบโซนาโร”

นอกจากนี้ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมฉุกเฉินโควิด-19 ของเซาเปาโล (Sao Paulo) ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า “เราแพ้แล้วกับการต่อสู้ในครั้งนี้ และนั่นคือความจริงที่เราต้องยอมรับว่าไวรัสชนะสงครามแล้ว”

  • คนจนในสลัมบราซิลไม่ได้รับการเหลียวแล

บราซิลมีช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยสูง มีย่านตึกสูง ย่านชนชั้นกลาง และมีสลัมที่ใหญ่มาก สลัมในบราซิลเรียกว่า ฟาเวลา (Favela) ตามประวัติศาสตร์แล้วเริ่มมีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 หรือปลายๆ ศตวรรษที่ 18 กลุ่มแรกที่มาสร้างเป็นที่พักเป็นเพิงคือ ทหาร บางแห่งก็เริ่มจากชุมชนคนผิวดำที่เป็นทาสมาจากแอฟริกา คนกลุ่มนี้ไม่มีที่อยู่ในเมืองก็เลยต้องมาอยู่ในสลัม จนกระทั่งช่วงปี ค.ศ.1970 – ค.ศ. 1979 สลัมยุคใหม่ก็เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อคนยากจนอพยพหลั่งไหลเข้ามาเพราะในชนบทขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่พอเข้ามาก็ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองเลยต้องมาอยู่ในสลัม ประชากรบราซิล 6%  หรือราว 11.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในสลัม ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 กลุ่มคนรายได้น้อยก็ยังคงต้องออกไปทำงานอยู่เหมือนเดิมเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว หนึ่งในสมาชิกชุมชนให้สัมภาษณ์กับการ์เดียนนิวส์ (Guardian News) ว่า “ตอนนี้ที่ต้องออกไปทำงานเพราะต้องหาเงิน ช่วงนี้แม้จะได้รับค่าจ้างแค่ครึ่งเดียวก็ต้องไป ถามว่ากลัวโรคไหมก็กลัว แต่ถ้าไม่ทำงาน จะรอใครเอาอาหารมาวางบนโต๊ะทุกมื้อ” เช่นเดียวกับหนึ่งในผู้อยู่อาศัยในสลัมแห่งนี้กล่าวว่า “ฟาเวลา เป็นที่ที่ถูกลืมเสมอ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสังคม ฟาเวลาก็เป็นที่สุดท้ายที่จะได้ประโยชน์เหมือนกับที่อื่นๆ ทั้งด้านการแพทย์ ความสะอาด การจัดการขยะ ไม่มีความมั่นคงและปลอดภัยอะไรที่นี่ทั้งนั้น” ส่วนผู้เสียชีวิตที่อยู่ในสลัมแห่งนี้ก็ไม่มีคนเหลียวแล ถ้าตายก็ตายที่บ้านเพราะไม่มีเงินไปโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ

  • สหรัฐฯแบนคนจากบราซิลเข้าประเทศ หวั่นระบาดหนักกว่าที่เป็นอยู่

ท่าทีของสหรัฐฯที่มีต่อบราซิล เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำเนียบขาวออกมาตรการจำกัดการเดินทางจากบราซิลเข้าสู่สหรัฐ หลังจากยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในบราซิลพุ่งขึ้นแซงหน้ารัสเซีย โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ต้องการให้การระบาดในอเมริกาหนักไปกว่านี้ จึงประกาศ สั่งห้ามไม่ให้ชาวบราซิลและชาวต่างชาติที่อยู่ในบราซิลเป็นเวลา 14 วันเดินทางเข้าสหรัฐฯโดยไม่ได้รับอนุญาต” มีผลบังคับใช้วันที่ 28 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป แต่ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการค้าขายระหว่างประเทศหรือไม่กระทบกับการพานิชย์และมีข้อยกเว้นเช่น บัตรประจำตัวผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรอย่างถูกกฎหมายในสหรัฐฯ  (Green Card) มีญาติพี่น้องในสหรัฐฯ หรือลูกเรือที่จำเป็นต้องบินไปมาซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ได้รับการยกเว้น

  • ความสัมพันธ์อันดีของบราซิลกับสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของบราซิลก็ออกมาพูดถึงเรื่องที่สหรัฐฯแบนคนจากบราซิลเข้าประเทศว่า “ไม่ได้กระทบกับความสัมพันธ์อันดี” และถือว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นก็ต้องดำเนินมาตรการแบบนี้ทั้งนั้นเพื่อป้องกันประเทศตัวเองอยู่แล้ว และก่อนหน้าที่สหรัฐฯจะประกาศแบนบราซิล ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้มีการพูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรแล้วด้วย ทั้งสองยังได้พูดคุยกันเรื่องความร่วมมือในการต่อสู้กับโควิด-19 ด้วยการพัฒนายา “ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน” ที่ทั้งคู่เห็นตรงกันว่าควรผลักดันเรื่องนี้ แต่นายแพทย์เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่งออกมาแถลงระงับการวิจัยยาตัวนี้ เนื่องจากข้อกังวลด้านความปลอดภัย หลังจากที่มีบทความตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์แห่งหนึ่ง ระบุว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ได้รับยาชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิต

นอกจากนี้ทำเนียบขาวยังมอบเงินช่วยเหลือบราซิลราวๆ 6.5 ล้านดอลล่าห์สหรัฐหรือราวๆ 200 ล้านบาทและสัญญาว่าจะส่งเครื่องช่วยหายใจนับพันเครื่องมาช่วยบราซิลอีกด้วย

  • การประท้วงที่บราซิลทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ท่าทีประชาชนบราซิลมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเช่นที่เมือง เซาเปาโล (Sao Paulo) พบว่าก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับการกระทำของประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโร มีผู้ประท้วงออกมาเดินขบวนเพื่อสนับสนุน และอยากให้บราซิลรีบกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง โดยหนึ่งในผู้ประท้วงกล่าว่า “เธอไม่เห็นด้วยกับการใส่หน้ากากอนามัย และมองว่ามันงี่เง่าด้วยซ้ำที่รัฐบาลจะสั่งห้ามคนออกนอกบ้าน ทุกคนระมัดระวังตัวเองอยู่แล้วในการป้องกันตัว แต่จะมาสั่งให้ห้ามออกบ้านไปทำงานไม่ได้ ไม่อย่างนั้นพวกเราจะกินอะไร”  และกล่าวว่า สิ่งที่ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรทำอยู่นั้นถูกต้องแล้ว เขาดำเนินการบนหลักการที่ถูกต้อง มีภาพของประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรที่ออกพบปะถ่ายรูปกับผู้ชุมนุมตามปกติโดยที่เขาเองก็ไม่ใส่หน้ากากอนามัยเช่นกัน

  • กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยเรียกร้องให้ประธานาธิบดีรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิต

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) รายงานว่านายอาร์เธอร์ เวอร์กิลโลก นีโต นายกเทศมนตรีเมืองมาเนาส์ (Manaus) ในประเทศบราซิล กล่าวด้วยความโมโหระหว่างให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็น (CNN) เรียกร้องให้ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรแห่งบราซิล สมควรลาออกจากตำแหน่งและต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมต่อความสูญเสียของประเทศชาติ ที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จำนวนมากกว่า 20,000 ศพ โดยเขากล่าวว่าว่า “หยุดพูด และกลับบ้านไปได้แล้ว (Stay home and shut your mouth)  การเปิดประเทศให้ผู้คนใช้ชีวิตตามปกตินั้น เหมือนกับการฆาตกรรมหมู่ ไม่รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ความฝันของประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรคือการเป็นเผด็จการ แต่เขาโง่เกินไป”

สถานการณ์ในเมืองมาเนาส์ (Manaus) ตอนนี้ย่ำแย่เพราะผู้คนต้องการการรักษาแต่ไม่มีสถานที่รองรับอย่างพียงพอและต้องดิ้นรนเอาตัวรอดกันเอง ญาติผู้เสียชีวิตต้องไปรอรับศพคนในครอบครัวที่เสียชีวิตจากโควิด-19 โดยมาเนาส์ (Manaus) มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 700 คนในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีคนที่ต่อต้านประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโรโดยตะโกนด่า ขณะที่ประธานาธิบดี ชาอีร์ โบโซนาโร กำลังทานอาหารในคาเฟ่โดยบอกว่า “เขาเป็นฆาตกร เป็นขยะ” ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากขนาดนี้

คงต้องติดตามกันต่อว่าหลังจากนี้สถานการณ์ในบราซิลจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร ท่ามกลางกระแสต่อและสนับสนุนผู้นำที่มีอย่างท้วมท้นและจำนวนผู้ติดและเสียชีวิตก็มากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า