SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์การสวนสัตว์ (อสส.) ร่วมกับคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ประสบความสำเร็จในการผลิตงานวิจัยผสมเทียมช้างตัวที่ 2 ของประเทศได้สำเร็จ เตรียมต่อยอดขยายพันธุ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์

วัน 25 ม.ค.2562 วานนี้นายสุริยา แสงพงค์ รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยศูนย์นวัตกรรมทางการสืบพันธุ์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์และวิจัย สวนสัตว์เปิดเขาเขียว คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ดำเนินการโครงการวิจัย “ปัจจัยที่มีผลต่อวงรอบการสืบพันธุ์และการพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำเชื้อช้างเพื่อการผสมเทียม” มาตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งประสบความสำเร็จในช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา

ล่าสุดประสบความสำเร็จในการผสมเทียมช้าง ครั้งที่ 2 ได้ลูกช้างซึ่งขณะนี้มีอายุ 3 เดือน 16 วัน มีสุขภาพสมบูรณ์ นิสัยร่าเริง และซุกซน ถือเป็นลูกช้างที่เกิดจากการผสมเทียมที่มีชีวิตรอดเป็นเชือกที่ 2 ของไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ประเทศของโลกที่ประสบความสำเร็จ คือ สหรัฐอเมริกา และเยอรมันนี โดยก่อนหน้านี้ไทยได้ผสมเทียมลูกช้างเอเชียเพศเมีย ได้ 1 เชือก ที่เกิดจากช้าง “พังจิ๋ม” ตกลูกช้างในวันที่ 8 ตุลาคม 2561 เวลา 19.50 น. น้ำหนัก 128 กิโลกรัม มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงทั้งแม่และลูก มีระยะการตั้งท้อง 21 เดือน 12 วัน

นายสุริยา กล่าวว่า โครงการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อวงรอบการสืบพันธุ์ และการพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำเชื้อช้างเพื่อการผสม เทียม เริ่มมามาตั้งแต่ปี 2559 โดยเก็บน้ำเชื้อช้างเอเชียตัวผู้ ชื่อพลายบิลลี่ที่ตรวจพบระดับฮอร์โมน ช่วงวันที่ 26-28 ธ.ค.2559 และผสมเทียมกับช้างเอเชียเพศเมียชื่อพังจิ๋ม จากสวนสัตว์เปิดเขาเขียวที่มีช่วงการตกไข่ จากนั้นผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งและน้ำเชื้อ แช่เย็น โดยการใช้กล้องเอนโดสโคป ขนาดความยาว 1.3 เมตร สอดผ่านทางช่องคลอด และน้ำเชื้อใช้กระบอกฉีดยา ขนาด 50 มิลลิลิตร เป็นตัวฉีดน้ำเชื้อเข้าท่อผสมเทียมชนิดพิเศษที่สอดผ่าน working channel ของกล้องเอนโดสโคป ปล่อยบริเวณช่องเปิดคอมดลูก จนนำมาสู่ความสำเร็จ ที่น่าภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

รองผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ ระบุว่า แผนงานวิจัยต่อยอดจะเร่งแก้ปัญหาช้างป่าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่มีขนาดเล็กลงและสุขภาพไม่สมบูรณ์จากปัญหาเลือดชิดมากเกินไป พร้อมทั้งจะต่อยอดในกลุ่มสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองที่ใกล้สูญพันธุ์ด้วย เช่น แรดขาว ที่อยู่ในสวนสัตว์ต่างๆมากว่า 20 ปี แต่ไม่สามารถมีลูกได้ตามธรรมชาติ กระซู่ สูญพันธุ์จากไทยแล้ว แต่จะใช้ความร่วมมืองานวิจัยระหว่างประเทศกับมาเลเซียที่ยังเหลือกระซู่ อยู่แต่ไม่มากแล้ว สมเสร็จ เก้งหม้อ เลียงผา เสือลายเมฆ ผสมเทียมจนประสบความสำเร็จแล้ว แมวลายหินอ่อน เสือปลาเสือไฟ กวางผา เพื่อไม่ให้เกิดบทเรียนเช่นเดียวกับสมันที่สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ด้วยการใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาสนันสนุนการอนุรักษ์และรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศ

ปัจจุบันไทยมีช้างเลี้ยง 4,719 เชือก และช้างป่ามีประมาณ 3,500 – 4,000 ตัว โดยทุกภาคส่วนยังให้ความสำคัญต่อการขยายพันธุ์ช้างในประเทศไทยเพิ่มขึ้น แต่กลับประสบปัญหาแหล่งที่อยู่อาศัยกระจุกตัวและแหล่งอาหารไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญเกิดปัญหาการผสมพันธุ์จนเกิดสายพันธุ์ช้างที่เลือดชิดเกินไป จึงได้ช้างป่าหรือช้างบ้านที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้งานวิจัยผสมเทียมเป็นทางเลือกหนึ่งของหารแก้ปัญหาสายพันธุ์เลือดชิดของสัตว์ป่าได้

ทั้งนี้ จากข้อมูลอ้างอิงของ http://www.elephant.se ระบุว่า การเกิดลูกช้างจากการผสมเทียม ไม่เพียงแต่เป็นเชือกที่ 2 ของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังถือเป็นเชือกที่ 3 ในระดับเอเชีย ภายหลังจากปรากฏข้อมูลว่า มีช้างเอเชียเพศเมียที่มีการตั้งท้องจากการผสมเทียม ในประเทศแถบเอเชีย มีเพียงสาธารณรัฐประชาชนจีน และ ประเทศไทย ประเทศละ 1 เชือกเท่านั้น

ขอบคุณภาพจาก องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ Zoological Park Organization of Thailand

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า