SHARE

คัดลอกแล้ว

วันหัวใจโลก (World Heart Day) ตรงกับวันที่ 29 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ขอเชิญชวนประชาชนร่วมรณรงค์วันหัวใจโลก ในหัวข้อ “My Heart, Your Heart : ใจเขา ใจเรา”สัญญากับตัวเอง จะมอบสิ่งดีๆให้กับหัวใจ โดยการบริโภคอาหารและน้ำที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และงดสูบบุหรี่ เพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนทั่วโลก

เมื่อวันที่ 28 ก.ย.61 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 29 ก.ย.ของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันหัวใจโลก’ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงขอเชิญชวนประชาชนที่มีร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือ กลุ่มโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะอ้วน สูบบุหรี่ และไขมันในเลือดสูง หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น เพื่อป้องกันโรคหัวใจ หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าปี 2558  ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 17.7 ล้านคน

สำหรับในประเทศไทย พบว่าคนไทยมีแนวโน้มการป่วยและตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มสูงขึ้น เห็นได้จากข้อมูลในปี 2555-2559 พบจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนี้ 15,070 ราย / 17,394 ราย / 18,079 ราย / 19,417 ราย และ 21,008 ราย ตามลำดับ

น.พ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค

สำหรับปี 2561 นี้ สมาพันธ์หัวใจโลก ได้กำหนดคำขวัญในการรณรงค์ว่า “My Heart, Your Heart :  ใจเขา ใจเรา” ซึ่งเป็นการทำสัญญากับตัวเอง โดยประเด็นในการสัญญา 3 ข้อ คือ

  1. สัญญา…ว่าจะดื่มกินอย่างชาญฉลาด ด้วยการลดบริโภคเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลและน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน เปลี่ยนจากการกินขนมหวานมากินผลไม้สดแทน งดดื่มแอลกอฮอล์หรือควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม พยายามงดเว้นอาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ซึ่งล้วนมีเกลือ น้ำตาล  และไขมันสูง
  2. สัญญา…ว่าจะกระฉับกระเฉงมากขึ้น ด้วยการตั้งเป้าอย่างน้อย 30 นาที กับการออกกำลังกายในระดับเข้มข้น 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์
  3. สัญญา…ว่าจะโบกมือลาบุหรี่ ด้วยการเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ดีที่สุดที่ดูแลหัวใจให้มีสุขภาพดี, เลิกบุหรี่ภายใน 2 ปี จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด, การสูดดมควันบุหรี่ของผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ก็ทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เลิกบุหรี่นอกจากจะช่วยตัวคุณเองสุขภาพดีขึ้นแล้ว ยังมีผลดีต่อคนรอบข้างด้วย  ถ้าไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ด้วยตัวเองควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ การมีภาวะความดันโลหิตสูง การมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะอ้วนลงพุง การสูบบุหรี่ การเป็นโรคเบาหวาน การไม่ออกกำลังกาย การไม่กินผักและผลไม้ และความเครียด

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้สนับสนุนให้ประชาชนทราบถึงปัจจัยเสี่ยง และอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ และหมั่นตรวจเช็คความเสี่ยงของแต่ละบุคคลอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับตรวจเช็ค ส่วนสูง น้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ไขมัน และน้ำตาลในเลือด โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถให้คำแนะนำและคำปรึกษาว่าระดับไหนคือความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและอัมพาต และการดูแลรักษาร่างกายที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ประวัติความเป็นมาของวันหัวใจโลก

วันหัวใจโลกมีต้นกำเนิดมาจากสมาพันธ์นานาชาติ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ ที่เป็นปัญหาในการทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตโดย International Society of Cardiology  ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี1946 และ International Cardiology Federation ในปี 1970 ต่อมาในปี 1978 ทั้ง 2 สมาพันธ์ได้รวมตัวกันเป็น International Society and Federation of Cardiology (ISFC). และเปลี่ยนชื่อเป็น World Heart Federation ในปี 1998

วันหัวใจโลกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2000 โดยสมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) อันเกิดจากความร่วมมือของสององค์กร คือ The International Society of Cardiology (ISC) และ International Cardiology Federation ซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้งวันหัวใจโลกขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้วันนี้เป็นวันสำคัญสากลที่ช่วยเตือนให้คนทั่วโลกตระหนักถึงอันตรายของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ และเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกกว่า 17.5 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ในช่วงสิบปีแรกของการก่อตั้งวันหัวใจโลก ทางสมาพันธ์หัวใจโลกกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกันยายนเป็นวันหัวใจโลก กระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 2011 จึงมีมติเปลี่ยนแปลงวันหัวใจโลกขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้วันที่ 29 กันยายน ของทุกปี เป็นวันหัวใจโลก สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาล วิชัยยุทธ แนะวิธีสังเกตอาการของโรคหัวใจ ดังนี้

• เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก จะรู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายๆ มีของหนักทับอยู่ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก
• หอบ เหนื่อยง่ายผิดปกติ มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย หรือต้องใช้แรง แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
• ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ เต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆ หยุดๆ ปกติหัวใจจะเต้นสม่ำเสมอประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง 150-250 ครั้ง/นาที
• มือ เท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
• เป็นลมหมดสติบ่อยๆ วูบ เนื่องจากจังวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดอุดตัน มันก็ไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือด เพื่อส่งสารอาหารไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์
• ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจต้องรับภาระที่หนักมากขึ้น เนื่องจากหัวใจจำเป็นต้องใช้พลังมากมายในการสูบฉีดโลหิ
• คอเลสเตอรอล คือ ไขมันที่อยู่ในหลอดเลือด เมื่อร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูง สะสมอยู่ในระยะเวลานาน ก็จะเกิดการอุดตันของคลอดเลือด จนเป็นสาเหตุของการเป็นโรคหัวใจ
• โรคอ้วน
• โรคเบาหวาน ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจด้วย
• การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายต่อหัวใจ เนื่องจากทำให้หลอดเลือดตีบตัน
• ความเครียด ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

วิธีป้องกันและดูแลหัวใจ
• หมั่นตรวจร่างกายเพื่อควบคุมระดับความดันและไขมันในเลือดเป็นประจำ
• การรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ
• ลดปริมาณไขมัน โซเดียม และน้ำตาลให้น้อย
• ควบคุมน้ำหนัก
• หยุดสูบบุหรี่

ท่าบริหารเพื่อดูแลสุขภาพของหัวใจ

การออกกำลังกายมีผลดีต่อสุขภาพ เพราะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้นแล้ว ยังช่วยเรื่องระบบการไหลเวียนของโลหิต สามารถหล่อเลี้ยงสมองและหัวใจได้ดีอีกด้วย

  • ท่า Paschimottanasana (ท่านั่งก้มตัว)

– ขาเหยียดตรง เท้าชิด ลำตัวตรง

– เกร็งขา ตึงหัวเข่า

– ยกแขนขึ้นยืดลำตัว พับตัวลง มือจับเท้า

– งอข้อศอกกางออก ดึงลำตัวไปด้านหน้า ผ่อนคลายคอ ไหล่ หายใจสบาย

  • ท่า Ustrasana (ท่าอูฐ)

– คุกเข่า ให้เข่ากว้างเท่าสะโพก

– วางหน้าแข้ง หลังเท้าราบไปกับพื้น

– มือวางสะโพก ยืดต้นขา ลำตัว

– แอ่นหลัง ขยายช่วงอก ไหล่ ออกกว้าง

– ยืดต้นขา ลำตัว อก คอ สายตามองด้านหลัง

– ฝ่ามือกดบนส้นเท้า ต้นขาตั้งฉากกับพื้น

– มือวางบนสะโพก กดเท้า หน้าแข้ง ยกตัวออกจากท่า

 

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติม จาก Vichaiyut Hospital โรงพยาบาล วิชัยยุทธ , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า