SHARE

คัดลอกแล้ว

สมาคมวิศวกรโครงสร้างไทยเผย 3 ปัจจัย ผลกระทบแผ่นดินไหวระยะไกลต่ออาคารสูงในกรุงเทพฯ ขณะที่ล่าสุดแผ่นดินไหวในประเทศลาวรวม 21 ครั้ง และที่ อ.เฉลียมพระเกียรติ จ.น่าน เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.8 อีก 1 ครั้ง

วันที่ 21 พ.ย.2562 เวลาประมาณ 04.03 น.ที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวใน สปป.ลาว ขนาด 5.9 ที่ระดับความลึก 5 กิโลเมตร ละติจูด 19.46 องศาเหนือ ลองจิจูด 101.83 องศาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 19 กิโลเมตร ต่อมาเวลา 06.50 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีกครั้งขนาด 6.4 ความลึก 3 กิโลเมตร และหลังจากแผ่นดินไหวหลัก ก็ได้มีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นระยะ ระดับความแรงระหว่าง 2.4 – 4.8 ตามมาอีกหลายครั้ง

แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้รับรู้ได้ในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ตึกสูงในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลก็สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้เช่นกัน

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย

ล่าสุดศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย เปิดเผยถึงสาเหตุที่อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวระดับกลางและอยู่ห่างประมาณ 600-700 กม. แต่ก็ทำให้อาคารหลายแห่งได้รับผลกระทบ โดยมี 3 ปัจจัยที่อาคารสูงในกรุงเทพฯ ต้องระมัดระวัง คือ

1. สภาพชั้นดินของ กทม. เป็นชั้นดินเหนียวอ่อน ดังนั้น แม้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นจากระยะไกล แต่ด้วยสภาพชั้นดินของ กทม. จะขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้แรงขึ้นได้อีก 3-4 เท่า จึงทำให้อาคารได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวดังกล่าว

2. อาคารสูง เช่น คอนโดมีเนียม อาคารสำนักงาน ที่มีความสูง 10 ชั้นมีค่าความถี่ธรรมชาติต่ำ ซึ่งเป็นค่าความถี่การสั่นของอาคารที่ใกล้เคียงกับการสั่นไหวของพื้นดิน ทำให้เกิดการสั่นเข้าจังหวะกันระหว่างพื้นดินและอาคาร ทำให้อาคารสูงมีการสั่นสะเทือนที่แรงกว่าอาคารทั่วไป

3. อาคารสูงหลายแห่งใน กทม. หากก่อสร้างก่อนปี 2550 มีแนวโน้มที่จะไม่ได้ออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหว เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทานความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เริ่มประกาศใช้บังคับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา

จากปัจจัยทั้ง 3 นี้ทำให้อาคารสูงหลายแห่งมีการสั่นไหวที่รุนแรงกว่าปกติ ทั้งนี้การสั่นไหวของอาคารใน กทม. เนื่องจากแผ่นดินไหวเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีตเช่น ในปี พ.ศ. 2547 เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียขนาด 9.3 ริกเตอร์ และในปี 2554 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริกเตอร์ในประเทศลาว

แผ่นดินไหวที่อาจส่งผลกระทบต่ออาคารสูงใน กทม. อาจมาจาก 3 แหล่ง ได้แก่
1. บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกในมหาสมุทรอินเดีย มีระยะห่างจาก กทม.ประมาณ 1200 กม.
2. แผ่นดินไหวทางภาคเหนือและจากประเทศลาว มีระยะห่างจาก กทม. ประมาณ 600-700 กม.
3. แผ่นดินไหวที่มาจากทางภาคตะวันตกได้แก่ จ. กาญจนบุรี และจากประเทศพม่า มีระยะห่างจาก กทม. ประมาณ 300-400 กม.

ภาพประกอบจาก FB เป็นเรื่อง เป็นลาว

ศ.ดร.อมร กล่าวว่า เราควรให้ความใส่ใจกับแผ่นดินไหวที่มาจากทิศตะวันตกและประเทศพม่าด้วย เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่มีพลังคือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ นอกจากนี้ยังมีรอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า ซึ่งอยู่ห่างในระยะประมาณ 400 กม. และอาจเกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรงถึง 8.5 ริกเตอร์ หากเกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบให้อาคารใน กทม. ได้รับความเสียหายได้

สำหรับผลกระทบของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศลาวในครั้งนี้นั้น คิดว่าอาจมีผลกระทบให้อาคารสั่นไหว แต่คงไม่กระทบต่อโครงสร้างมากนัก เนื่องจากเป็นเพียงแผ่นดินไหวระดับปานกลางและเกิดขึ้นค่อนข้างไกลจาก กทม. อย่างไรก็ตามแนะนำให้เจ้าของอาคารตรวจสอบอาคารของตนว่ามีรอยร้าวที่บริเวณใดบ้าง เช่น เสา คาน ผนังอาคาร เป็นเบื้องต้น และหากตรวจพบรอยร้าวก็ควรแจ้งวิศวกรเข้าตรวจสอบเหตุการณ์ด้วย

ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บจากเหตุแผ่นดินไหว

ด้านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ แจ้งว่าเวลา เวลา 04.03 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ความลึก 5 กิโลเมตร ที่แขวงไซยะบูลี ของลาว และต่อมาเวลา 06.52 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 จุดศูนย์กลางห่างไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก ของ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ระยะทาง 19 กิโลเมตร ซึ่งการสั่นสะเทือนค่อนข้างแรงและรับรู้ได้ถึงเวียงจันทน์ สอท.ได้ตรวจสอบชุมชนไทยที่โรงไฟฟ้าเมืองหงสา ทราบว่ามีการสั่นสะเทือนในพื้นที่โครงการหลายครั้ง อาคารบริเวณโรงไฟฟ้าและที่พักได้รับความเสียหาย ยังไม่มีรายละเอียด และยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บ

https://www.facebook.com/PhenluangPhenlao/posts/617588085445484

ส่วนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ของบริษัท ช.การช่าง รับรู้แรงสั่นสะเทือน แต่ไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรืออาคารเสียหาย ซึ่ง สอท. ติดต่อชุมชนไทยในแขวงหลวงพระบาง ระบุว่ารับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว แต่ยังไม่มีข่าวสารเกี่ยวกับความเสียหาย

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือประสงค์ขอความช่วยเหลือ ติดต่อหมายเลขฉุกเฉินของ สอท. ณ เวียงจันทน์ ได้ที่หมายเลข +856-20-5551-2228

https://www.facebook.com/RoyalThaiEmbassyVientiane/posts/2596844290401035

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า