SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ถดถอยจริง หรือเพียง ถดถอยทางทฤษฎี เป็นเรื่องที่ยังเถียงกันไม่จบสิ้น ปัจจัยกดดันหลักๆ มาจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ขณะที่ตัวเลขสำคัญต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ อัตราการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls หรือ NFP) กลับออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้

ในขณะที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index หรือ CPI) ได้มีการประกาศตัวเลขเดือน ส.ค. เมื่อสัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 8.3% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ในระดับ 8.1% ซึ่งเมื่อดูตัวเลขยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

แต่ก็มีสัญญาณที่ดีจากการปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการประกาศจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา

แม้ตัวเลขบ่งชี้จะออกมาดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75%

นอกจากนี้ ‘เจอโรม พาวเวลล์’ ประธาน Fed ยังแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป แม้จะต้องแลกมาด้วยการหดตัวทางเศรษฐกิจ จนกว่าเงินเฟ้อจะลงมาอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2%

ดังนั้น แรงกดดันเหล่านี้จะยังคงสร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และการลงทุนทั่วโลกต่อไปอีกระยะ เป็นเหตุผลให้นานาชาติต่างกังวลว่าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงอยู่ในภาวะถดถอย และมีความไม่แน่นอนสูงเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลต่อการค้าระดับประเทศตามมาในที่สุด

อย่างไรก็ตาม บริษัทไทยที่ทำธุรกิจ และมีฐานลูกค้าในสหรัฐฯ กลับมีความเห็นที่แตกต่างกับภาพรวมศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยอ้างอิงจากปริมาณของกลุ่มลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และมองว่าจะเป็นโอกาสที่สามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอีกทางหนึ่งเลยทีเดียว

‘ชูเดช คงสุนทร’ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บมจ. ไวส์ โลจิสติกส์ หรือ WICE ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจส่งผลในกลุ่มเกษตร กลุ่มสินค้าคงทน และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

แต่ยอดปริมาณขนส่งสินค้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นกลุ่มตลาดหลักของบริษัทกลับมีแนวโน้มเติบโต

โดยในช่วงปี 2564 บริษัทมีปริมาณขนส่งเกินกว่าเป้าหมายที่เคยตั้งไว้ 6,000 TEUs (หน่วยตู้ 20 ฟุต) และในช่วงครึ่งปีแรก 65 บริษัทสามารถขนส่งได้จำนวน 5,091 TEUs หรือคิดเป็น 51% จากเป้าหมายที่วางไว้สิ้นปี 10,000 TEUs

นอกจากนี้ สถานการณ์ด้านค่าระวางเรือที่มีท่าทีผ่อนคลายลงเป็นปัจจัยหนุน ประกอบกับการบริหารเที่ยวขนส่งร่วมกับบริษัทในเครือ จะส่งผลให้ต้นทุนในการขนส่งปรับลดลง

และคาดว่าหากสถานการณ์เงินเฟ้อมีท่าทีผ่อนคลายลง จะทำให้มีปริมาณการขนส่งในตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน

‘รชต ลีลาประชากุล’ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ไทย-เยอรมัน โปรดักส์ หรือ TGPRO ผู้ผลิตและจำหน่ายท่อสแตนเลส เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง แต่บริษัทกลับมีปริมาณคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มท่อสเตนเลสฟู๊ดเกรด หรือ ท่อสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

โดยมองว่าแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีความผันผวนมากขนาดไหน อุตสาหกรรมอาหารก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในการบริโภคของคนในประเทศ และ ตัวเลขยอดขายยังอยู่ในระดับ 35-40%

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการนำเข้าสินค้า คือ ต้องเป็นสินค้าที่มีการรับรองมาตรฐาน 3A หรือ ทริปเปิ้ลเอ (Triple A) โดยใช้กับอุตสาหกรรมอาหารและนมในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าดังกล่าว

สำหรับครึ่งปีหลัง 2565 บริษัทยังคงบริษัทมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าสหรัฐฯ รวมถึงประเทศกลุ่มทวีปอเมริกาใต้ และ ทวีปแอฟริกา โดยเน้นการส่งออกสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูง อาทิ ท่ออุตสาหกรรมอาหาร ท่อน้ำแข็งปลอดเชื้อ และท่อสเตนเลสส่งผ่านความร้อน ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าของบริษัท

ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายสัดส่วนของยอดขายต่างประเทศที่ 20-25% จากเป้าหมายปกติ 15%

‘ธีรพงศ์ จันศิริ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU บริษัทผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง กล่าวว่า แม้ที่ผ่านมาสถานการณ์เงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลในด้านต่างๆ ของธุรกิจอาหารแช่แข็งในสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนการส่งออก 44% อาทิ ซัพพลายเชนที่ค่าขนส่งยังคงอยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม ทุกวิกฤติยังคงมีโอกาสสำหรับบริษัทเสมอ โดยในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่และส่งออกไปยังลูกค้าต่างประเทศในกลุ่มยุโรปและสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้มียอดขายในช่วงไตรมาส 2/65 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 38,946 ล้านบาท

ด้านทิศทางครึ่งปีหลังยังคงมั่นใจในแผนการดำเนินงานท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายต่างๆในการบริหารจัดการต้นทุนและราคาวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง

พร้อมปรับเป้ายอดขายจาก 7-8% เป็น 10-12% จากการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและการเพิ่มราคาสินค้า อีกทั้งเงินบาทอ่อนค่ายังเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กับธุรกิจอีกด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า