SHARE

คัดลอกแล้ว

REDPAPER เปิด 3 เมกะเทรนด์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย อุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน ชี้ผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรยกระดับสินค้าและบริการด้วยการเพิ่มคุณค่าใหม่ๆ สอดรับกับไลฟ์สไตล์และความต้องการที่หลากหลาย

พร้อมยึดแนวคิด Human Centric พัฒนาพื้นที่ด้วยความเข้าใจพฤติกรรมการที่แตกต่างกันของผู้ใช้งาน ควบคู่กับการนำ ESG เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

รายงานข้อมูลและเทรนด์ด้านอสังหาริมทรัพย์ หรือ REDPAPER ฉบับที่ 4 เรื่อง เกาะติด 3 เมกะเทรนด์มาแรงของอสังหาริมทรัพย์ไทย จัดทำโดย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT ผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรรายแรกของประเทศไทย ร่วมกับบริษัท นัมเบอร์ส 10 รีเสิร์ช จำกัด ศึกษาความเคลื่อนไหวและแนวโน้มของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย อุตสาหกรรม และอาคารสำนักงาน

โดยได้ผลสรุปออกมาเป็น 3 เมกะเทรนด์ที่จะเป็นทิศทางอสังหาริมทรัพย์ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งส่งผลต่อการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต

เทรนด์ #1 เน้นเพิ่ม “คุณค่า” ให้กับสินค้าและบริการ

จากการสำรวจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า การให้ความสำคัญและเพิ่มคุณค่ากับสินค้าและบริการเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะยกระดับสินค้าและบริการนั้น ๆ มากขึ้น

โดยในธุรกิจที่อยู่อาศัยมีผลสำรวจว่า ผู้บริโภคต้องการบ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 44% ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ซึ่งอยู่ที่ 33% เพราะบ้านเดี่ยวสามารถส่งมอบคุณค่าในยุคที่คนใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านมากขึ้น ด้วยพื้นที่ใช้สอยกว้างขวางและสามารถปรับใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น รวมถึงใส่ใจเรื่องการเลือกเฟอร์นิเจอร์และวัสดุที่สะท้อนถึงตัวตนและรสนิยมของผู้อยู่อาศัย

ขณะที่ธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าให้เช่านั้น ผู้เช่าต้องการผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีบริการครอบคลุมทุกความต้องการ เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานมากที่สุด พร้อมด้วยความใส่ใจในแง่ของการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการควบคู่กัน

ในส่วนของการออกแบบอาคารสำนักงานจะต้องมีฟังก์ชันและสิ่งอำนวยความสะดวกครบ มีพื้นที่หลากหลายรูปแบบให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย และสร้างบรรยากาศออฟฟิศที่ทำให้พนักงานมีความสุขเหมือนอยู่บ้าน

ซึ่งผลการสำรวจพนักงานออฟฟิศ พบว่า 49% ต้องการให้ออฟฟิศมีพื้นที่สีเขียว, 33% ต้องการมองเห็นวิวทิวทัศน์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน และ 30% ต้องการการทำงานในออฟฟิศที่มีความยืดหยุ่น

เทรนด์ #2 มุ่งตอบสนองผู้ใช้พื้นที่ด้วยแนวคิด “Human Centric”

แนวคิด Human Centric ซึ่งให้ความสำคัญกับการออกแบบและฟีเจอร์ต่างๆ ที่ยึดผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น เห็นได้จากการพัฒนาบ้านที่ต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อออกแบบบ้านให้เหมาะกับการอยู่อาศัยของคนทุกวัย และสอดรับกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป

เช่นเดียวกับการออกแบบอาคารสำนักงานที่มีการปรับเปลี่ยนตามรูปแบบจากเดิม โดยมีการออกแบบพื้นที่ทั้งแบบ Fixed Space ผสมผสานกับ Co-Working Space รองรับการทำงานของแต่ละธุรกิจที่มีจำนวนพนักงานแตกต่างกัน เพื่อสร้างความคล่องตัวและสามารถบริหารจัดการต้นทุนทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมนั้นต้องเจาะลึกถึงพฤติกรรมการใช้งานและความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม นอกจากที่ต้องพร้อมให้บริการพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าสำหรับลูกค้ารายใหญ่ทั้งแบบอาคารสำเร็จรูป (Ready-Built) และสร้างตามความต้องการ (Built-to-Suit) แล้ว ต้องมีพื้นที่รองรับลูกค้าขนาดเล็กและกลางที่อาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ

ซึ่งมองได้ว่าเป็นโอกาสในการขยายตลาดด้วยการเพิ่มบริการ Co-Warehouse หรือ Co-Space เป็นการสร้างพื้นที่ให้ลูกค้าขนาดเล็กและกลางใช้พื้นที่คลังสินค้าร่วมกัน

เทรนด์ #3 ปักหมุด “ESG” ในทุกองค์ประกอบของการทำธุรกิจ

ประเด็น ESG หรือ Environment, Social, Governance (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) เป็นเรื่องที่หลายองค์กรคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจ เพราะปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทที่มีนโยบายหรือแนวทางที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งจากการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ภัยพิบัติหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคให้น้ำหนักและจริงจังถึงเรื่อง ESG มากขึ้น

จากการสำรวจพบว่า กลุ่มผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย พร้อมทั้งมีการปรับสูตรการผลิตสินค้าเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

สอดคล้องกับกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างที่ระบุว่าดีเวลลอปเปอร์ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแม้จะมีต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้นก็ตาม ด้วยเล็งเห็นว่าสามารถใช้งานได้ในระยะยาวและตอบโจทย์เรื่องรักษ์โลก เป็นไปในทิศทางเดียวกับการก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้าที่มีการใช้พลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน และดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน ซึ่งบริษัทข้ามชาติให้ความสำคัญกับเรื่อง Carbon Footprint และ Net Zero Emission

ด้านผู้พัฒนาอาคารสำนักงานก็พัฒนาอาคารตามมาตรฐาน LEED และ WELL Building Standard เช่นกัน

REDPAPER พบว่าทั้ง 3 เมกะเทรนด์นี้เป็นโจทย์สำคัญของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจับเทรนด์เหล่านี้ให้ทันและจัดทัพธุรกิจให้สอดรับกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า ผู้ใช้บริการ พันธมิตรทางธุรกิจ และภาคสังคมไปพร้อมกัน ช่วยสร้างแต้มต่อสำหรับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับรายงานฉบับสมบูรณ์ สามารถอ่านได้ที่ www.frasersproperty.co.th/th/downloads/redpaper

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า