SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนน่าจะทราบข่าวการล้มของ Silicon Valley Bank (SVB) แล้ว (10 มี.ค.) ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นธนาคารที่ปล่อยกู้ให้ Fintech และ Startup แต่ก็มีขนาดใหญ่ติด Top 20 ในสหรัฐเลยทีเดียว

สาเหตุที่ทำให้เกิด Bank run หรือถูกลูกค้าแห่ถอนเงินออกจากธนาคารนั้น มาจากภาวะดอกเบี้ยในตลาดที่สูงขึ้น ทำให้ธุรกิจ Startup ระดมทุนได้ยากขึ้น จนเกิดการถอนเงินออก

แม้ธนาคารฯ จะรีบขายสินทรัพย์ที่ถือเอาไว้อย่างพันธบัตรออกมาเพื่อนำเงินไปคืนลูกค้า แต่การรีบขายพัธบัตรที่ให้ดอกเบี้ยคงที่ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น กลับทำให้เกิดผลขาดทุนจำนวนมาก

ท้ายที่สุดทางการสหรัฐฯ ก็ต้องสั่งปิดให้บริการ ซึ่งท่ามกลางความวุ่นวายนี้ ราคาหุ้นของ SVB Financial Group บริษัทแม่ของธนาคารฯ หักหัวลงทันที จากระดับ 260 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 80 ดอลลาร์ ร่วงเกือบ 70% ภายในวันเดียว

SVB ไม่ใช่ธนาคารเดียวที่ล้ม

แต่วิกฤตครั้งนี้ดูจะไม่จบง่ายๆ เมื่อสหรัฐฯ สั่งปิด Signature Bank อีกราย (12 มี.ค.) ที่น่าสนใจคือ เซกเมนต์ของ Signature Bank ก็มีความคล้ายกับ Silicon Valley Bank อยู่เหมือนกัน เพราะลูกค้าเป็นคนทำธุรกิจใหม่ๆ เช่น เทคฯ Startup และคริปโตฯ ฯลฯ

อีกความบังเอิญคือ ก่อนหน้านี้ (8 มี.ค.) Silvergate Bank ธนาคารด้านคริปโตฯ ของสหรัฐก็เพิ่งประกาศปิดตัวไปเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา เท่ากับว่า ในระยะเวลาเพียง 5 วัน (8-12 มี.ค.) ธนาคารในสหรัฐปิดตัวไปแล้ว 3 แห่ง

สำหรับการล้มของ Silvergate Bank ถูกกระทบจาก ‘ภาวะตลาดหมี’ ในตลาดคริปโตฯ ทำให้ธนาคารฯ ขาดทุนกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 35,000 ล้านบาท) ในไตรมาสล่าสุด

นอกจากนี้ คาดว่าธนาคารฯ ยังถูกกระทบจากการเหตุการณ์ FTX แพลตฟอร์มคริปโตฯ ที่ล้มไปก่อนหน้านี้ รวมถึง Alameda Research บริษัทในเครือ FTX

ซึ่งในกรณีของ Silvergate Bank ก็มีการประกาศว่าลูกค้าเงินฝากจะได้รับเงินชดเชยเต็มจำนวนเช่นกัน แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนว่าจะหาเงินจากไหนมาคืนเจ้าหนี้ของธนาคาร

ตลกร้ายคือ Silvergate Bank เคยเป็น 1 ใน 2 ธนาคารยักษ์ใหญ่ที่ให้ทุนกับบริษัทที่ทำธุรกิจคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งแน่นอนว่าอีกรายที่ติด Top 2 คู่กันก็คือ Signature Bank ที่เพิ่งล้มวันนี้เอง

รัฐรีบออกมาตรการช่วยเหลือ

การที่แบงก์ล้มติดๆ กัน ไม่ใช่เรื่องดีแน่ ซึ่งทางการสหรัฐฯ ก็ทราบข้อนี้ จึงรีบออกมา Take action ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลายและสายเกินแก้

โดยวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (12 มี.ค.) ฝ่ายกำกับดูแลด้านการเงินของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) กระทรวงการคลัง และองค์กรคุ้มครองเงินฝาก (Federal Deposit Insurance Corporation: FDIC) ก็รีบออกมาชี้แจงว่า

ลูกค้าที่มีเงินฝากกับ Silicon Valley Bank และ Signature Bank จะได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน ซึ่งสามารถถอนเงินออกได้ตั้งแต่วันนี้ (13 มี.ค.) เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ยังประกาศช่วยเหลือธนาคารผ่านโปรแกรมพิเศษ Bank Term Funding Program (BTFP) เสนอเงินกู้อายุ 1 ปีให้กับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อไม่ให้ถูกกระทบจากการล้มของ Silicon Valley Bank

นอกเหนือจากโปรแกรมให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือแล้ว ทางการยังตั้งกองทุนมูลค่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 8.6 แสนล้านบาท) เพื่อป้องกันไม่ให้แบงก์อื่นๆ ในระบบถูกกระทบอีกชั้นด้วย

แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ เพราะเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองครอบคลุมเพียง 250,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 8.7 ล้านบาท) ต่อรายเท่านั้น ถ้านอกเหนือจากนี้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

นักวิเคราะห์ปรับมุมมองดอกเบี้ย

หลังเกิดความเสี่ยงในภาคธนาคาร นักวิเคราะห์ทั้งในและต่างประเทศก็เริ่มออกมาปรับมุมมองต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้

โดยนักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs คาดว่าการประชุม Fed เดือนนี้ (21-22 มี.ค.) จะไม่เห็นการขึ้นดอกเบี้ยแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว จากเดิมที่คาดว่าจะขึ้น 0.25%

แม้จะคงมุมมองว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% ในการประชุมเดือน พ.ค. และเดือน มิ.ย. และคาดว่าปลายทางดอกเบี้ยจะไปสิ้นสุดอยู่ที่ 5.25-5.50% แต่เริ่มเห็นความไม่แน่นอนและการประเมินทิศทางที่ยากขึ้น เพราะมีเหตุธนาคารล้มละลายเข้ามา

ขณะที่นักวิเคราะห์ในประเทศ SCB Chief Investment Office (SCB CIO) คาดว่า Fed จะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยช้าลง แต่ยังคงมุมมองว่าจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนนี้

แม้ประเมินว่าปัญหาของ SVB รอบนี้จะไม่ลุกลามเป็นวิกฤตการเงินเหมือนในปี 2008 (2551) ก็ตาม เพราะเป็นปัญหาเฉพาะตัวของธนาคารที่ฐานเงินฝากกระจุกตัว และลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยคงที่ ท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น

เข้าใจผลกระทบต่อประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย แบงก์ชาติมั่นใจว่าธนาคารในประเทศจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ Silicon Valley Bank ล้มละลาย เพราะธนาคารของเราไม่ได้มีธุรกรรมโดยตรงกับ SVB รวมถึงลงทุน Fintech และ Startup ทั่วโลกน้อยกว่า 1% ของเงินกองทุน

ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คาดว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีความเสี่ยงจะกระทบกับสภาพคล่องทั่วโลก แต่ในส่วน Fund Flow ที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทย คาดว่ามาจากเรื่อง Fed ขึ้นดอกเบี้ยเป็นหลัก

ส่วนนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มองว่า แม้เหตุการณ์ Bank run ในต่างประเทศจะส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคาร แต่ไม่กระทบปัจจัยพื้นฐาน

โดยธนาคารประเทศเรามีเงินฝากของกลุ่ม Startup ค่อนข้างน้อย จากเงินฝากภาคธุรกิจทั้งหมดที่มีสัดส่วนเพียง 30% ของเงินฝากธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารในไทยยังมีสภาพคล่องสูง จากสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นปี 2565 ยังอยู่ที่ระดับ 95%

ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้มีสัดส่วนเพียง 12.8% ของสินทรัพย์ทั้งหมด แม้ที่ผ่านมาจะขาดทุนบ้างตามอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น แต่ผลประกอบการของแบงก์ในไตรมาสล่าสุดก็ยังคงกำไร

สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร

การล้มของ 3 ธนาคารตามที่เล่ามา ทำให้เกิดความกังวลในภาคการเงินทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐ เพราะไม่แน่ว่าธนาคารอื่นๆ ก็อาจจะมีปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ และอาจเกิดเหตุการณ์ Bank run เหมือนกัน

ซึ่งล่าสุดหุ้นของ First Republic Bank ธนาคารในซานฟรานซิสโกก็ปรับตัวลงกว่า 70% จากความกังวลดังกล่าว ขณะที่ PacWest Bancorp ร่วงเกือบ 40%

เช่นเดียวกับหุ้นแบงก์ของไทยวันนี้ที่กอดคอกันร่วง นำโดย KBANK -5.88% KKP -4.48% BBL -3.16% SCB -2.68% และ LHFG -2.61%

ที่มา:

  • www.cnbc.com/2023/03/10/silicon-valley-bank-is-shut-down-by-regulators-fdic-to-protect-insured-deposits.html
  • www.cnbc.com/2023/03/12/regulators-close-new-yorks-signature-bank-citing-systemic-risk.html
  • www.cnbc.com/2023/03/08/silvergate-shutting-down-operations-and-liquidating-bank.html
  • datacenter.poems.in.th/pdf/news/BANK031323_t.pdf
  • www.reuters.com/markets/us/goldman-analysts-no-longer-expect-fed-rate-hike-march-after-svb-failure-2023-03-13/
  • www.cnbc.com/2023/03/13/first-republic-drops-bank-stocks-decline.html
  • www.set.or.th/th/market/index/set/fincial/bank

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า