SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ. เผย 4 จังหวัดภาคเหนือ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา ตาก ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 – PM10 เกินค่ามาตรฐาน คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมประสานจังหวัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศต่อเนื่อง

วันที่ 20 ก.พ. 62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงาน 4 จังหวัดภาคเหนือ คุณภาพอากาศในภาพรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานทั้ง 4 จังหวัดเตรียมพร้อมรับมือปัญหาไฟป่า และหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร และพื้นที่ริมทางหลวง อย่างเคร่งครัด ตลอดจนขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาขยะและเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าและปัญหาหมอกควันปกคลุมพื้นที่

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการประสานข้อมูลคุณภาพอากาศกับกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 05.00 น. พบว่า มีจังหวัดที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เกินค่ามาตรฐาน 100 ใน 4 จังหวัด ได้แก่

-เชียงใหม่ ต.ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่

-ลำพูน ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน

-พะเยา ต.เวียง อ.เมืองพะเยา

-ตาก ต.แม่ปะ อ.แม่สอด

โดยมีค่า PM2.5 ระหว่าง 53 – 63 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่า PM10 ระหว่าง 71 – 95 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ AQI มีค่าระหว่าง 106 – 131 ซึ่งคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประสาน 4 จังหวัดภาคเหนือเตรียมพร้อมป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างต่อเนื่อง โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินมาตรการควบคุมการเผาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ เน้นการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ลักลอบจุดไฟเผาพื้นที่เกษตรกรรมให้กำหนดช่วงเวลาและจัดระเบียบการเผา ประกาศเขตห้ามเผา ส่งเสริมการจัดทำแนวกันไฟ และรณรงค์การไถกลบแทนการเผา

ส่วนพื้นที่ริมทางหลวง ให้เฝ้าระวังการเผาในเขตริมทางหลวงอย่างเข้มข้น อีกทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงให้พร้อมปฏิบัติการระงับไฟป่า พร้อมประชาสัมพันธ์ผลกระทบของหมอกควันต่อสุขภาพอนามัย และข้อมูลคุณภาพอากาศ รวมถึงคำแนะนำในการปฏิบัติตนแก่ประชาชน ตลอดจนขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาขยะและเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อป้องกันสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน

สำหรับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุมให้หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน เพราะจะสูดดมฝุ่นละอองจำนวนมากเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เจ็บป่วยได้ รวมถึงใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันมิให้สูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย ส่วนผู้ขับขี่ให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนเป็นพิเศษ เพราะทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางอยู่ในระดับต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานแก้ไขปัญหาโดยด่วนต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า