SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมชลประทานปรับแผนเร่งพร่องน้ำเขื่อนแก่งกระจาน, วชิราลงกรณ ขุนด่านฯ และเขื่อนน้ำอูน หลังทั้ง 4 เขื่อนใหญ่วิกฤตมีน้ำเกินเกณฑ์ควบคุม 

วันที่ 20 ส.ค.2561 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน สั่งให้กรมชลประทานเร่งระบายน้ำต่อเนื่องเพื่อรับมือพายุดีเปรสชันเบบินคา แม้จะเคลื่อนออกจากภาคเหนือตอนบนของไทยเข้าปกคลุมประเทศเมียนมา แต่ยังคงทำให้ไทยฝนตกหนักทุกภาค

สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 19 ส.ค. มีปริมาณน้ำ 767 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 108% ของความจุอ่าง น้ำไหลลงอ่างประมาณ 37 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ตอนบนของเขื่อนแก่งกระจาน ทำให้มีน้ำไหลลงอ่างมากขึ้น จึงมีการระบายน้ำออกจากอ่างช่องทางปกติและกาลักน้ำ ปริมาณน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่เขื่อนเพชร

เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ปริมาณน้ำอยู่ที่ 7,759 ล้าน ลบ.ม. หรือ 88% น้ำไหลเข้า 132.05 ล้าน ลบ.ม./วัน น้ำระบาย 41.42 ล้าน ลบ.ม./วัน พื้นที่ท้ายเขื่อนยังไม่ได้รับผลกระทบ การบริหารจัดการน้ำเร่งพร่องน้ำ โดยเพิ่มการระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนที่เพิ่มขึ้นปริมาณ 41.42 ล้าน ลบ.ม./วัน

เขื่อนขุนด่านปราการชลมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ 194 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 86% ของความจุอ่างเร่งระบายน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม มีน้ำไหลลงอ่างวันละประมาณ 4.04 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่มีการระบายน้ำวันละประมาณ 4 ล้าน ลบ.ม. ยังไม่ส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งแต่อย่างใด ส่วนเขื่อนน้ำอูนมีปริมาณน้ำเก็บกัก 529 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 102% มีน้ำเข้าเขื่อน 3.65 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำออกจากเขื่อน 5.37 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งการระบายน้ำทุกเขื่อนนั้นจะทำให้ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผวจ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือถึงทุกอำเภอเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่มตลอด 24 ชั่วโมงเนื่องจากฝนตกหนัก ประกอบกับเขื่อนวชิรลงกรณเพิ่มการระบายน้ำผ่านช่องปกติวันที่ 18-22 ส.ค. เฉลี่ย 43 ล้าน ลบ.ม. วันที่ 23-27 ส.ค. เป็น 53 ล้าน ลบ.ม. และผ่านทางระบายน้ำล้น (สปิลเวย์) วันละ 10 ล้าน ลบ.ม. อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนลุ่มแม่น้ำได้

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมภาคเหนือหลายจังหวัดยังวิกฤต เช่น จ.น่าน ประสบอุทกภัยหนักสุด 9 อำเภอ ที่ จ.เชียงราย หนักสุดที่ ต.แม่คำ อ.แม่จัน พนังดินริมน้ำคำพังน้ำทะลักท่วมกว่า 250 หลังคาเรือน เสียชีวิต 1 ราย เช่นเดียวกับที่ จ.นครพนม น้ำท่วมหนัก 10 อำเภอ และที่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย น้ำในแม่น้ำโขงล้นตลิ่งเอ่อท่วมหลายพื้นที่แล้ว หากน้ำยังเพิ่มระดับไม่หยุดจะส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำเจอน้ำท่วมขยายวงกว้างซ้ำ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า