SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แนะข้อควรปฏิบัติรับมือผลกระทบจากภัยแล้ง ขอประชาชนเตรียมภาชนะกักเก็บน้ำและใช้น้ำอย่างประหยัด ติดตามสถานการณ์น้ำและแผนการจัดสรรน้ำในพื้นที่ เพื่อวางแผนใช้น้ำอย่างสอดคล้อง 

วันที่ 19 ก.ค.2562 นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ภัยแล้งเป็นภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและสร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือและลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ดังนี้ ภาคประชาชน ใช้น้ำอย่างประหยัด เปิดและปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้ง ใช้ภาชนะรองน้ำพร้อมนำน้ำที่เหลือไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เตรียมภาชนะไว้กักเก็บน้ำ โดยจัดหาและซ่อมแซมให้พร้อมสำหรับสำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภค เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ โดยติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่ก๊อกน้ำ ฝักบัว หรือชักโครก เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำและลดปริมาณการใช้น้ำ รวมถึงหมั่นตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ โดยปิดก๊อกน้ำทุกตัว จดเลขมาตรวัดน้ำไว้ หากตัวเลขเปลี่ยนแปลงแสดงว่ามีน้ำรั่วซึมให้รีบดำเนินการซ่อมแซม

เกษตรกรควรรักษาความชื้นในดิน โดยการไถพรวนดินอยู่เสมอ ไม่เผาตอซัง รวมถึงนำวัสดุมาคลุมหน้าดิน อาทิ ฟางข้าว แกลบ ขี้เลื่อย หรือพลาสติก พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์น้ำ และแผนการจัดสรรน้ำในพื้นที่ เพื่อวางแผนการใช้น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ รวมถึงสร้างระบบกักเก็บน้ำในพื้นที่ อาทิ ขุดร่องน้ำ หรือใช้ระบบน้ำบาดาล และทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย อาทิ น้ำพลาสติกคลุมดิน ใช้ระบบน้ำหยดในพื้นที่เพาะปลูก สำหรับการจัดการพืช ควรปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย อาทิ ถั่วลิสง ข้าวโพด รวมถึงงดทำนาปรังช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันนาข้าวเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ

ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ควรจัดหาแหล่งน้ำสำรองและกักเก็บน้ำไว้ใช้ พร้อมวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำในพื้นที่ ตรวจสอบระบบการจัดสรรน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงเลือกใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีประหยัดน้ำ เพื่อลดการสิ้นเปลืองน้ำ และนำน้ำมาหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ การใช้น้ำที่มีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยลดการใช้น้ำ ใช้น้ำซ้ำ และนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ ตามหลัก 3R (Reduce,Reuse,Recycle) รวมถึงการวางแผนการใช้น้ำให้สอดคล้องกับแผนการจัดสรรน้ำและปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่จะช่วยลดผลกระทบวิกฤตขาดแคลนน้ำได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า