SHARE

คัดลอกแล้ว

ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนเริ่มสนใจและตื่นตัวด้านการเงินกันมากขึ้น ทำให้เกิดการนิยามนิสัยทางการเงินรูปแบบต่างๆ และถูกหยิบยกขึ้นมาจัดหมวดหมู่กันมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม ‘FIRE’ กลุ่มคนที่ต้องการมีอิสรภาพทางการเงินให้ไว โดยมีการวางแผนทางการเงินแบบเข้มข้น หรือกลุ่ม ‘HENRY’ กลุ่มคนที่มีรายได้สูง แต่ยังไม่รวยสักที ฯลฯ ซึ่ง TODAY Bizview เองก็ได้เคยหยิบหยกมาพูดถึงในช่วงก่อนหน้า

ในบทความนี้ TODAY Bizview จะพาให้ผู้อ่านไปรู้จักกับนิสัยทางการเงินในรูปแบบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัย อย่าง YOLO, DINK, PANK และ WOOF เพิ่มเติม

[ YOLO = You Only Live Once เกิดมาครั้งเดียว มีชีวิตจงใช้ซะ ]

‘YOLO’ หรือ You Only Live Once คือกลุ่มคนที่มีนิสัยทางการเงินแบบเต็มที่กับปัจจุบัน กล้าจับจ่ายใช้จ่ายเพื่อซื้อประสบการณ์และสิ่งของเพื่อความสุขของตัวเอง โดยไม่กังวลถึงแผนการเงินในอนาคตของตนเอง แทนที่จะต้องรอไปใช้เงินในตอนแก่ ก็มีความสุขกับวันนี้ซะเลย

ทั้งนี้ คำว่า YOLO เป็นคำที่ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปี 90s ก่อนจะกลับมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายอีกครั้งในเพลงฮิปฮอปของ Drake เมื่อช่วงปี 2011 และกลายมาเป็นแนวคิดในการใช้ชีวิตของกลุ่มกลุ่มคนเจน Z หลายคนในยุคนี้

คนรุ่นใหม่มีความกล้าจับจ่ายใช้สอยไปกับประสบการณ์ต่างๆ เช่น การท่องเทียว อาหารราคาแพง คอนเสิร์ต กิจกรรมเอกซ์ตรีม ปาร์ตี้ในสถานที่ต่างๆ รวมถึงสินค้าราคาแพงอย่างสินค้าแบรนด์เนม หรือรถหรู เพื่อสื่อสารความเป็นตัวเองออกมาให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงเงินในกระเป๋าน้อยกว่าคนยุคก่อน

แม้แนวคิดการเงินแบบ YOLO จะมีข้อดีในแง่การเติมเต็มความสุขด้านประสบการณ์และการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า การใช้ชีวิตที่ทุ่มกับสินค้าและประสบการณ์ต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงแผนการเงินในอนาคตเลย ก็อาจจะกลายเป็น ‘เกิดมาครั้งเดียว มีชีวิต (ชด) ใช้ซะ’ ในช่วงบั้นปลายได้

[ DINK = Double Income No Kids ช่วยกันหาเงิน แต่ไม่มีลูก ]

ในยุคที่ค่าครองชีพ ราคาที่พักอาศัย ค่าดูแลรักษาพยายาล เงินเฟ้อ ฯลฯ กำลังเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง การมีชีวิตอยู่เพื่อดูแลตัวเองเพียงอย่างเดียวก็ดูเหมือนจะไม่ได้เรื่องง่ายแล้ว ยิ่งการมีลูกเพิ่มอีกหนึ่งคนในชีวิตยิ่งแล้วใหญ่

จึงเกิดเป็นแนวคิดที่เรียกว่า ‘DINK’ หรือ Double Income No Kids หมายถึง การมีชีวิตคู่ แต่งงานกัน ช่วยกันหาเงิน แต่ไม่มีลูก เพื่อที่จะได้มีไลฟ์สไตล์ของคู่แต่งงานที่ดีอย่างที่ออกแบบได้ 

ด้วยสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อนค่อนข้างมาก จากที่เมื่อก่อนหากแต่งงานกันแล้วสามารถให้คนใดคนหนึ่งทำงาน เพื่ออีกคนหนึ่งสามารถออกมาดูแลลูก ก็สามารถหารายได้เพียงพอต่อการดูแลครอบครัวแล้ว 

แต่ปัจจุบันค่าครองชีพที่ค่อนข้างสูง คู่สามีภรรยาต่างต้องทำงานกันทั้งคู่ หากจะมีลูกขึ้นมาคนหนึ่งก็ต้องจ้างพี่เลี้ยงเข้ามา ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เวลาในการดูแลลูกก็น้อยลงไป

ไม่เพียงเท่านั้นสังคมที่โซเชียลมีเดียเติบโตค่อนข้างไว การจะดูแลทั้งด้านความคิดและจิตใจของเด็กคนหนึ่งก็จึงไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน

กลุ่ม DINK จึงมองว่า การแต่งงานและช่วยกันหารายได้จะยิ่งทำให้ต้นทุนต่อคนในการใช้ชีวิตถูกลง สามารถนำเงินเพื่อนำไปออกแบบชีวิตในแบบที่คนสองคนต้องการ อยากกินอะไรก็ได้ที่อยากกิน อยากเที่ยวที่ไหนก็ได้ที่อยากไป และนำเงินที่เหลือเพื่อไปเก็บออม ลงทุนไว้ใช้ยามเกษียณ

[ PANK = Professional Aunt No Kids หญิงผู้ประสบความสำเร็จ ]

ยุคสมัยที่ความสำเร็จไม่ได้ผูกขาดไว้กับแค่เพศชาย และความสำเร็จของหญิงสาวก็ไม่ได้ผูกไว้กับการแต่งงาน แนวคิดของ ‘PANK’ หรือ Professional Aunt No Kids หญิงสาวโสดวัย 30 ปีขึ้นไป ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและไม่มีลูก จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

PANK จะใช้เวลาในช่วงวัยสาวประมาณ 20-30 ปีไปกับการสร้างความก้าวหน้าในชีวิตตนเอง ทั้งสำหรับเจ้าของธุรกิจและพนักงานประจำ มากกว่าการมุ่งเน้นเป้าหมายไปกับการมองหาชีวิตคู่เพื่อแต่งงานและอยู่ด้วยกัน หรือการมีลูก

จากปัจจัยดังกล่าวทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีเงินเหลือ และมีกำลังซื้อ กำลังจับจ่ายใช้สอยสำหรับที่ไม่ได้จำกัดไว้เพียงแต่การซื้อสินค้าดีๆ หรือการใช้จ่ายสำหรับประสบการณ์ที่เหนือระดับสำหรับตัวเองเท่านั้น แต่ยังสามารถจับจ่ายใช้สอยไปเพื่อหลานๆ และพ่อแม่อีกได้อีกด้วย

[ WOOF = Well Offer Older Fold เกษียณสำราญ มีอิสระในชีวิต ]

‘WOOF’ หรือ Well Offer Older Fold กลุ่มผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่ไม่มีภาระจากด้านหนี้สิน หรือค่าใช้จ่ายของลูก เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกๆ กำลังเรียนจบ มีกำลังทรัพย์ และอิสระในการใช้ชีวิตแล้ว

กลุ่ม WOOF มีแนวโน้มจะลงทุนไปกับสุขภาพของตัวเอง ให้ร่างกายยังคงแข็งแรง เพื่อจะได้ไปทำกิจกรรมที่ชอบได้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีอิสระภาพทั้งทางด้านการเงินและเวลา สามารถออกไปจับจ่ายใช้สอยในรูปแบบของคนวัยเกษียณได้อย่างเต็มที่

ซึ่งกลุ่มเกษียณสำราญเหล่านี้ก็กำลังเติบโตในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ถือเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ‘Wellness’ เช่น การทำสปา, การนวด, การแช่ออนเซน รวมถึงธุรกิจอาหาร และการท่องเที่ยวของผู้สูงวัย ฯลฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า