SHARE

คัดลอกแล้ว

ผ่านพ้นปี 2565 เข้าสู่ปีใหม่ 2566 แต่ละปีที่ผ่านไปนักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่า อนาคตเรากำลังอยู่กับความไม่แน่นอนอย่างมากของโลกทั้งในบริบทเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม การเตรียมพร้อมและการเตรียมตัวให้ดีที่สุดเท่านั้นที่จะทำให้รับมือกับความไม่แน่นอนนี้ได้

TODAY Bizview ได้พูดคุยและสรุปมุมมอง คำแนะนำจากนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่กับการประเมินทิศทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่าง ๆ ในโลกอย่าง “ดร.สันติธาร เสถียรไทย” ผู้เขียนหนังสือ Futuration และ The Great Remake โดยปัจจุบัน ดร.สันติธาร เป็นประธานทีมเศรษฐกิจ (Group Chief Economist) และกรรมการผู้จัดการ Sea Ltd แพลตฟอร์มดิจิทัลเจ้าของ Garena (ให้บริการเกม RoV, Free Fire), Shopee และ SeaMoney

ดร.สันติธาร ให้มุมมองการเตรียมตัวสู้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในการรับมือกับอนาคตไว้ 5 ทักษะ แต่ก่อนจะไปดูว่ามีทักษะอะไรบ้าง เขามองว่า สถานการณ์ของประเทศไทยในบริบทปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อก่อน คนรุ่นใหม่เกิดมาในประเทศไทยที่แตกต่างจากเวอร์ชั่นที่คนรุ่นก่อนรู้จักมาก

ดร.สันติธาร อธิบายว่า อยากให้ลองนึกภาพของตัวเองผ่าน คนรุ่นเจน X Y Z Baby Boom ทำงานและเรียนในบริบทอะไร เริ่มทำงานที่แรกอย่างไร หางานทำในตอนที่ประเทศไทยเป็นอย่างไร ขึ้นเป็นหัวหน้าในยุคไหน และจะเห็นว่ามันแตกต่างกันมาก คนที่เติบโตในยุคอุตสาหกรรม อาจจะชินกับการที่ยิ่งทำงานหนักแล้วมันได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะถึงเวลาทำงานหนักสู้ลำบากกัดฟันก็จะเห็นผลตอบแทนที่ดี อันนี้เป็นยุคที่ประเทศไทยเติบโตเกือบจะได้เป็นเสือตัวที่ห้า โตเฉลี่ยปีละ 7% ทิศทางของประเทศคืออุตสาหกรรม เรียนหนังสือจบมามีงานรองรับ

ขณะที่คนที่เกิดมาตอนนี้อายุ 20 กว่าต้นๆ เกิดมาในยุคที่เมื่อเรียนจบออกมาหางาน ประเทศไทยอัตรเติบโตเฉลี่ยลดเหลือ 3% กว่าๆ เป็นยุคที่เกิด Disruption เรียนการเงิน ไฟแนนซ์จบมา แต่ถึงเวลาอาชีพที่คนต้องการคือ Data Science, Digital, Tech มันพลิกมุม คนเรียนท่องเที่ยวจบมาก็เจอโควิด ดังนั้นคนรุ่นใหม่จึงชินกับยุคที่บอกว่า เราพยายามไปเต็มที่ แต่ถ้ามาผิดทางมันผิดเลย ไม่ใช่แค่ว่าคุณพยายามแล้วมันพอ หรือเพราะถ้ามันไม่ถูกทางเราเปลี่ยนดีไหม “คนรุ่นใหญ่” อาจมองว่าทำไม “คนรุ่นใหม่” ไม่สู้งาน ส่วนหน่ึงอาจจะจริงบางคนอาจจะไม่สู้จริงๆ แต่บางคนต้องเข้าใจบริบทที่เขาเกิดมาว่าเขาเป็นบริบทที่เขาเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยน ดังนั้นเขาคิดเรื่องเลี้ยวเยอะมาก ขณะที่คนรุ่นใหญ่อาจจะไม่คิดอย่างนั้น

santitarn-sathirathai

เมื่อเข้าใจในบริบทนี้แล้วก็มาสู่ 5 คำแนะนำของ ดร.สันติธาร ต่อคนรุ่นใหม่ว่าควรเตรียมตัวอย่างไรกับอนาคต และอันที่จริงก็เป็นคำแนะนำที่ใช้ได้กับคนทุกรุ่นด้วยเช่นกัน เมื่อโลกใบนี้อยู่ยากมากขึ้นทุกปี

1.สร้างทักษะดิจิทัลทั้งหลาย คนรุ่นใหม่มีระดับหนึ่ง แต่ต้องไปให้ถึงขั้นระดับสูงให้ได้ คือต้องมีความเข้าใจ Data Science , Data Analytic ทั้งหลาย และประยุกต์ปรับใช้ธุรกิจในบริบทของจริงได้ ซึ่งจะเป็นทักษะที่ทำให้เราอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี อยู่ร่วมกับ AIได้ดี

2.ในโลกที่เทคโนโลยีและหุ่นยนต์แทนที่เราทุกเมื่อ เราต้องหาทักษะเฉพาะสำหรับมนุษย์ที่เทคโนโลยีมาแทนไม่ได้ จึงต้องพัฒนาทักษะการมี Creativity และ Innovation วิธีทำ Creativity ที่ดีสุด คือ การออกไปอยู่ที่ที่ตัวเองไม่คุ้น เจอคนที่แตกต่างกับเรา ถ้าเราเรียน เราจะเรียนหลายด้านหลายอย่างเพื่อออกนอกกรอบ และออกจาก Mindset เดิม ๆ ให้มากที่สุด สร้างให้ตัวเองมี Global Mindset ไปเจอผู้คนชาติต่างๆที่แตกต่างกับเรา จะช่วยสร้าง Creativity ได้มาก การทำงานกับคนต่างรุ่นก็ช่วยได้มาก

3.การฝึกฝนให้มีทักษะ Risk Management สำคัญมาก เพราะชีวิตคนเราเต็มไปด้วยความเสี่ยง การตัดสินในทุกอย่างในชีวิตมันเป็นการลงทุน เราอาจจะไม่รู้ตัวมันคือการลงทุน เราเลือกเรียนวิชาอะไร เรียนมหาวิทยาลัยไหนเราแต่งงานกับใครก็คือการลงทุน เราต้องคิดถึงปัจจัยความเสี่ยงทั้งหลายในชีวิต เพื่อกระจายและลดความเสี่ยง การเข้าใจทักษะกลุ่มนี้จึงจำเป็นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวิต

4.ทักษะการมี Growth Mindset อันนี้สำคัญที่สุด นิยามคือการที่เราคิดว่าวันพรุ่งนี้เราสามารถดีได้กว่าตัวเราในวันนี้ เป็นความลับสำคัญ ในการมี resilience (ล้มเหลว เรียนรู้ สู้ต่อ) เราจะล้มลงผิดพลาดล้มเหลว เราจะไม่ยึดติดกับมันมากเกินไป เพราะเราคิดว่าพรุ่งนี้เราจะดีได้กว่าวันนี้ ดังนั้นต้องมีหัวใจการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นนำ้ครึ่งแก้ว วันนี้เราอาจรู้สึกว่าเราเก่งแล้ว แต่พรุ่งนี้เราสามารถทำได้ดีกว่า มีอะไรที่เรายังไม่รู้พัฒนาอีก

Growth Mindset เป็นสิ่งที่ต้องคอยสร้างไว้ตลอด เพราะบางทีคนเรายิ่งสำเร็จมาก Growth Mindset จะน้อยลง เพราะเราจะเร่ิมอยากอยู่ใน Comfort Zone เราเป็นผู้ชนะแล้วไม่อยากเป็นผู้ท้าชิงแล้ว ซึ่งอันตราย เพราะความรู้ในอนาคตมันเหมือน “นมนอกตู้เย็น” ที่บูดเร็วมาก ดังนั้นต้องคอยท้าทายตัวเองให้เป็นผู้ท้าชิงคอยขวนขวายความรู้ใหม่เรื่อยๆ

5.การมี Leadership ทุกคนคิดว่าไม่ต้องมีก็ได้รอเป็นผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าก่อน แต่ทักษะการเป็นผู้นำไม่ใช่ผู้บริหาร ไม่ใช่เรื่องของอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในตำแหน่งสั่งคนได้ มีลูกน้อง แต่ Leadership คือความสามารถในการโน้มน้าวคนรอบตัวให้มาช่วยทำอะไรบางอย่าง แก้ปัญหาบางอย่างด้วยกัน โจทย์หลายอย่างทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องดึงคนอื่นมาช่วยกันทำให้ได้ แต่เราจะโน้มน้าวคนอื่นอย่างไรให้ผู้ใหญ่เพื่อนรุ่นน้องทุกคนเห็นคล้อยตามเรา มาทำด้วยกันอย่างเต็มใจไม่ใช่โดนสั่ง สุดท้ายแล้วองค์กร ทีม จะมีพลังได้มันต้องขับเคลื่อนได้ด้วยหลายคน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า