SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 62 เวลา 18.00 น. พบยามีลครั้งแรก โดยชาวบ้านหมู่ที่ 4 บ้านบ่อม่วง ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม จ.กระบี่ พบลูกพะยูนเกยตื้น บริเวณชายหาดบ่อม่วง ต.ทรายขาว ในสภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านจึงช่วยกันจับพะยูนตัวดังกล่าวไปปล่อยในน้ำทะเล เพื่อให้ว่ายน้ำออกไป แต่ปรากฏว่า พะยูนตัวดังกล่าวถูกคลื่นซัดกลับมาที่ชายฝั่งอีกครั้ง ชาวบ้านจึงช่วยกันนำแผ่นไวนิลขนาดใหญ่ ใส่น้ำทะเล เพื่อหล่อเลี้ยงลูกพะยูนไว้ ก่อนแจ้งเจ้าหน้าที่

 

“ยามีล” เป็นลูกพะยูน เพศผู้ นับเป็นลูกพะยูนตัวที่ 2 หลังจากมาเรียมเคยเกยตื้นบริเวณ จ.กระบี่ ต่อมา สัตวแพทย์ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รับตัวมาดูแลในบ่ออนุบาลที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ถือเป็นลูกพะยูนที่เกยตื้นและมีชีวิตรอดและอยู่ในความดูแลของคนรวม 53 วัน นับตั้งแต่วันพบตัวเมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ดังนี้

 

1 ก.ค.62 ชาวบ้านพบลูกพะยูนเกยตื้น บริเวณชายหาดบ่อม่วง ต.ทรายขาว อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ในสภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ พบเป็นลูกพะยูนเพศผู้ อายุประมาณ 3 เดือน มีความยาว 111 ซม. รอบตัว 66 ซม. น้ำหนักประมาณ 25 กก. สภาพอ่อนแรงและอิดโรยมาก มีบาดแผลบริเวณแผ่นหลัง 5-6 แผล

 

2 ก.ค. 62 เจ้าหน้าที่นำลูกพะยูน มารักษาที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก แหลมพันวา จ.ภูเก็ต การตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เป็นลูกพะยูนตัวผู้ อายุเพียง 3 เดือน อัตราการเต้นหัวใจ 67 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ 4 ครั้งต่อ 5 นาที สภาพอ่อนแรงและอิดโรยมาก ตามตัวมีบาดแผลร้อยละ 50 โดยป้อนนมไปแล้ว 100 ซีซี และน้ำ 200 ซีซี เป็นบาดแผลร่องรอยขีดข่วน สภาพร่างกายยังคงแข็งแรง

4 ก.ค.62 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต เพื่อติดตามกรณีลูกพะยูนตัวดังกล่าว พร้อมสั่งการให้เร่งติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อให้ประชาชนได้ติดตามการทำงานของทีมสัตวแพทย์ และอาการของลูกพะยูนอย่างใกล้ชิด พร้อมเชิญชวนประชาชนร่วมตั้งชื่อลูกพะยูนตัวใหม่

 

5 ก.ค.62 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระกรุณาพระราชทานชื่อให้แก่ลูกพะยูนเกยตื้นตัวล่าสุดที่ จ.กระบี่ ว่า “ยามีล” ซึ่งมีความหมายในภาษายาวีว่า “ชายรูปงามแห่งท้องทะเล” และทรงรับลูกพะยูนทั้ง 2 ตัวไว้ในโครงการ “อนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ แวะเยี่ยมและให้นมยามีล เมื่อวันที่ 8 ก.ค.62

8 ก.ค.62 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ แวะเยี่ยมและให้นมยามีล ลูกพะยูนที่เข้ามาเกยตื้น ซึ่งอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับกองทัพเรือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วงหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ได้พูดกับลูกพะยูนยามีล หลังป้อนนมว่า “ขอให้หายเร็วๆ และเติบโตเป็นพะยูนที่แข็งแรงต่อไป”

 

29 ก.ค.62 ศูนย์วิจัย ทช.รายงานว่า ยามีล มีน้ำหนัก 27 กิโลกรัม ความยาว 112 เซนติเมตร ความยาวรอบตัว 71 เซนติเมตร กินนม 1,590 มิลลิลิตร กินหญ้าทะเล 10 กรัม ขับถ่ายปกติ ร่าเริงสดใส แข็งแรง กินอิ่ม นอนหลับดี สัตวแพทย์ช่วยทำแผงหญ้าทะเลเทียมให้หัดกินใต้น้ำ และดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้สามารถติดตามชีวิตยามีล ผ่านระบบกล้อง CCTV ที่กล้องหมายเลข 8 ที่ http://mariumthaidugong.dmcr.go.th/

ยามีลเริ่มป่วย ระดมทีมแพทย์วินิจฉัยยามีลท้องอืด ต้องส่งตัวผ่าตัด

19 ส.ค.62 ทีมสัตวแพทย์ ศูนย์วิจัย ทช. ตรวจพบยามีลมีอาการเกร็งท้อง ซึ่งอาการดังกล่าวยังเป็นต่อเนื่อง สัตวแพทย์ให้ยาลดอาการอักเสบ ร่วมกับยากระตุ้นทางเดินอาหาร พร้อมสอดท่อระบายแก๊ส ทำให้ยามีลมีอาการดีขึ้นบ้าง แต่ยามีลก็ยังมีอาการเกร็งท้อง ผลเอ็กซเรย์พบลำไส้เล็กมีการสะสมของแก๊สจำนวนมาก กระเพาะอาหารมีอาหารอยู่ แต่ไม่มีการเคลื่อนตัว และไม่พบวัตถุแปลกปลอม

 

21 ส.ค.62 ระดมทีมแพทย์ จากทีมสัตวแพทย์ ศูนย์วิจัย ทช.ทะเลอันดามัน ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และทีมสัตวแพทย์ของศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวม 12 คน วินิจฉัยอาการโรคของยามีล และแนวทางการรักษา

เวลา 21.43 น. วันที่ 22 ส.ค.62 หลังกลับจากผ่าตัด ยามีลมีภาวะช็อก หัวใจหยุดเต้น ทีมแพทย์เร่งช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR แต่ไม่สามารถช่วยน้องกลับมาได้ ยามีลได้จากไปอย่างสงบ

22 ส.ค.62 อาการยามีล ยังมีการสะสมของแก๊สในกระเพาะอาหารและบริเวณลำไส้ มีอัตราการเต้นหัวใจสูง และชักเกร็งเป็นบางครั้ง แพทย์จึงให้ยาช่วยลดอาการปวดและยาซึม ส่วนผลการ x-ray พบว่าอาหารส่วนที่เป็นของเหลวสามารถเคลื่อนที่ผ่านระบบทางเดินอาหารได้ แนวทางการรักษาจะพยายามนำอาหาร ซึ่งเป็นหญ้าทะเลที่ค้างในกระเพาะออกมา เพื่อลดการหมักหมม และให้สารน้ำและเกลือแร่ผ่านทางท่อให้อาหาร ร่วมกับการใช้ยาปฎิชีวนะ สถานะยังคงเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

  • เวลา 17.00 น. เริ่มวิกฤติ นำตัวยามีล ส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลวิชระ ภูเก็ต เพื่อผ่าตัดโดยใช้กล้อง Endoscope นำก้อนหญ้าทะเลที่อัดแน่นในบริเวณกระเพาะอาหารออก โดยการอัดแน่นของหญ้าทะเล เกิดจากสภาวะลำไส้หยุดทำงาน เป็นสาเหตุให้เกิดการสะสมและเกิดการสร้างแก๊สขึ้นในระบบทางเดินอาหาร โดยแก๊สที่เกิดขึ้นทำให้ผนังลำไส้บางลง เกิดการแตกของเส้นเลือดฝอยและเกิดภาวะการติดเชื้อตามมา นอกจากนี้แก๊สที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบไปดันบริเวณปอดทำให้เกิดการหายใจติดขัดด้วย
  • เวลา 20.30 น. ผลการทำทีซีสแกนพบการอักเสบของปอด มีกลุ่มก้อนหญ้าทะเลในบริเวณกระเพาะ จึงสอดท่อกล้องตรวจภายในและฉีดน้ำสลายการเกาะแน่นของหญ้าทะเล จากนั้นจึงเริ่มดูดออกได้ร้อยละ 30 ก่อนทยอยล้างออกเพิ่มในวันต่อไป หลังใช้เวลาผ่าตัดรวม 1 ชั่วโมงครึ่ง จากนั้นย้ายยามีลกลับมาพักฟื้นยังบ่ออนุบาล ของศูนย์วิจัย ทช.ทะเลอันดามัน โดยยามีลมีอัตราการเต้นหัวใจที่ต่ำ ต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด
  • เวลา 21.43 น. ยามีลมีภาวะช็อก หัวใจหยุดเต้น ทีมแพทย์เร่งช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR แต่ไม่สามารถช่วยน้องกลับมาได้ ยามีลได้จากไปอย่างสงบ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า