SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมนักวิจัยจีนค้นพบยาที่ใช้ในปัจจุบัน 3 รายการ มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในระดับเซลล์ได้ค่อนข้างดี ขณะนี้รออนุมัติการใช้รักษาพยาบาล

วันที่ 31 ม.ค.2563 หนังสือพิมพ์หูเป่ยเดลี (Hubei Daily) รายงานว่าคณะนักวิจัยสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AMMS) และสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น (WIV) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ร่วมกันวิจัยค้นพบยา 3 รายการ ได้แก่ เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) คลอโรควิน (Chloroquine) และริโทนาเวียร์ (Ritonavir)  มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยปัจจุบันยาทั้งหมดอยู่ในขั้นตอนสำคัญเพื่อรอการอนุมัติการใช้รักษาพยาบาล

ยาเรมเดซิเวียร์เป็นยาต้านการรวมตัวของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอ (RNA) ที่เคยใช้รักษาโรคอีโบลา ส่วนยาคลอโรควินเป็นยารักษาโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งมักใช้รักษาโรคมาลาเรีย โรคติดเชื้ออะมีบา และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ส่วนยาริโทนาเวียร์เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี (HIV)

ก่อนหน้านี้ทีมนักวิจัยจีนจากสถาบันมาเทเรีย เมดิกาแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Institute of Materia Medica) สังกัดสถาบันบัณฑิตฯ และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เทค (ShanghaiTech University) ได้คัดเลือกยา ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และยาตามแพทย์แผนจีน จำนวน 30 รายการ ซึ่งอาจมีฤทธิ์ทางการรักษาโรคจากไวรัสฯ ตัวยาที่ผ่านการคัดเลือกประกอบด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี 12 รายการ อาทิ อินดินาเวียร์ (Indinavir) ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) โลพินาเวียร์ (Lopinavir) คาร์ฟิลโซมิบ (Carfilzomib) ยาต้านไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus-RSV) หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ จำนวน 2 รายการ ยาต้านโรคจิตเภท (Schizophrenia) ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย (Immunosuppressant) และยาตามแพทย์แผนจีน อาทิ ดอกพิทูเนีย (Polygonum Cuspidatum)

นับตั้งแต่ไวรัสฯ เริ่มแพร่ระบาด คณะนักวิจัยหลายกลุ่ม ซึ่งนำโดยสถาบันไวรัสวิทยาฯ ทำการวิจัยด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจหาโรคได้อย่างรวดเร็ว ยาหรือวัคซีนต้านไวรัส การวิจัยสอบทวนแหล่งที่มาจากสัตว์ สมุฎฐานวิทยาหรือการศึกษาสาเหตุและต้นกำเนิดของโรค และการวิจัยด้านระบาดวิทยา คณะวิจัยกลุ่มหนึ่งนำโดยสื่อเจิ้งหลี่ นักไวรัสวิทยาผู้มีชื่อเสียงประจำสถาบันไวรัสวิทยาฯ เปิดเผยเมื่อวันพุธ (29 ม.ค.) ว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่อาจมีแหล่งกำเนิดจากค้างคาว โดยพวกเขาอธิบายว่าลำดับจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่มีความคล้ายคลึงกับไวรัสโคโรนาชนิดที่มาจากค้างคาวสูงถึงร้อยละ 96 อีกทั้งไวรัสสายพันธุ์ใหม่ยังมีตัวรับ (receptor) ที่ใช้เซลล์ลักษณะเดียวกับไวรัสโรคซาร์ส โดยการค้นพบล่าสุดปรากฏหลักฐานชิ้นสำคัญสำหรับศึกษาพยาธิวิทยาและแหล่งกำเนิดของไวรัสฯ ด้วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 ม.ค. คณะนักวิจัยจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ยืนยันลำดับจีโนมทั้งหมดของไวรัสฯ และสามารถแยกสายของไวรัสได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ต่อมาวันที่ 11 ม.ค. สถาบันฯ มอบข้อมูลลำดับจีโนมของไวรัสฯ แก่องค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวไปทั่วโลก

อ้างอิงข้อมูลจาก www.xinhuathai.com/china/จีนพบ-ยาในคลัง-ออกฤทธิ์_20200130?fbclid=IwAR0wjP5Em-dXvydXcdN5T-9vAXmuIG4aJaeA11lnQzN_XYs9pHPXrUQR3L0

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า