SHARE

คัดลอกแล้ว

      เคยลองคิดเล่น ๆ กันบ้างไหมว่า เมื่ออายุ 60 ปีแล้วเกษียณ เราจะใช้เงินเดือนละกี่บาท 

      บางคนอาจบอกว่า 5,000 บาท 10,000 บาท หรือ 30,000 บาท แต่ใครที่ยังไม่มีคำตอบ ลองเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของคนไทยทุกวันนี้ดูก่อนก็ได้ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าปี 2561 คนไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,346 บาทต่อเดือน

      ทีนี้จากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยด้านบน สมมติว่าเมื่อเกษียณแล้วเราอยากใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท ให้พอกินอยู่ได้ไปจนเสียชีวิต คุณคิดว่าเราควรต้องมีเงินเก็บทั้งหมดกี่บาท

      4,800,000 บาท เป็นตัวเลขกลมๆ ที่คำนวณจากการนำเงิน 20,000 บาท มาคูณกับระยะเวลา 20 ปี หรือ 240 เดือน โดยคาดการณ์ว่าเราน่าจะเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี บางคนอาจมีชีวิตสั้นหรือยาวกว่านั้น ตัวเลขชุดนี้จึงเป็นแค่ตัวอย่างสำหรับคำนวณคร่าว ๆ ให้พอเห็นภาพกัน โดยที่ยังไม่ได้คิดถึง “อัตราเงินเฟ้อ” ซึ่งจะส่งผลให้ข้าวของต่าง ๆ แพงขึ้นในอนาคตด้วย

      แล้วเราจะเก็บเงินจำนวนนี้ได้อย่างไร

 

Pay Yourself First คือ สเต็ปแรกที่คนอยากรวยควรทำ

      “เมื่อได้เงินมา เราควรจ่ายให้ตัวเองก่อน” ดร.พีรภัทร ฝอยทอง นักวางแผนการเงินส่วนบุคคล แนะนำว่า การหักเงินส่วนหนึ่งของรายได้ออกมาเพื่อเก็บออมก่อนจะนำเงินไปใช้จ่ายทุก ๆ เดือน จะทำให้เราสามารถเก็บเงินได้จริง โดยอาจเริ่มต้นออมง่าย ๆ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน และควรเก็บออมตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน เพราะระยะเวลาและความสม่ำเสมอจะส่งผลให้เรามีเงินเก็บมากขึ้น แม้จะออมต่อเดือนไม่มากนัก ยกตัวอย่างเช่น

 

  • คนอายุ 25 ปี ถ้าออมเงินเดือนละ 1,000 บาท จนถึงอายุ 60 ปี โดยได้รับผลตอบแทน 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จะมีเงินเก็บประมาณ 1,400,000 บาท
  • ในขณะที่คนอายุ 35 ปี ออมเงินเดือนละ 2,000 บาท หรือเป็น 2 เท่าของคนแรก จนถึงอายุ 60 ปี โดยได้รับผลตอบแทน 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเท่ากัน จะมีเงินเก็บแค่ประมาณ 1,300,000 บาท

 

      สาเหตุที่ทำให้คนอายุ 25 ปี แม้ออมต่อเดือนน้อยกว่าแต่สุดท้ายกลับมีเงินเก็บมากกว่า ก็คือ ดอกเบี้ยทบต้น

      “ใส่เงินไปเร็ววันนี้ ดอกเบี้ยที่ได้รับกลับมาจะไปบวกกับเงินต้นก้อนเดิม กลายเป็นเงินต้นก้อนใหม่ที่ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พอผ่านไป 10 ปี มันจะมีมูลค่ามหาศาล สมมุติบอกว่ามีเงินเดือน 15,000 บาท หักออกมาก่อนเลย 1,000 บาท เพื่อเก็บ คุณจะคิดแล้วว่า อ๋อ เดือนนี้ฉันมีเงินแค่ 14,000 บาท จะต้องหาวิธีใช้ 14,000 บาท ให้อยู่ได้ทั้งเดือน แต่ถ้าคุณบอกว่าฉันมี 15,000 บาท คุณก็ใช้เต็ม 15,000 บาท พอสิ้นเดือนไม่เหลือเงินเก็บ เพราะฉะนั้นต้องเก็บก่อนใช้” ดร.พีรภัทร อธิบาย

 

‘การออม’ ไม่ใช่แค่การฝากเงินกับธนาคาร

      “มันมีเงินเฟ้ออยู่” อธิบายเป็นภาษาง่าย ๆ ภาวะเงินเฟ้อ คือการที่ราคาสินค้าต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นตามกาลเวลา ทำให้ในอนาคตเงินเก็บที่เรามีอยู่อาจซื้อข้าวของได้น้อยลงกว่าเดิม เช่น ปัจจุบันเราอาจใช้เงิน 100 บาท ซื้อของราคา 100 บาท ได้ 1 ชิ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปของชิ้นเดิมอาจราคาเพิ่มขึ้นเป็น 103 บาท 106 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หมายความว่าถ้าเราเก็บเงิน 100 บาทไว้เฉย ๆ ในอนาคตเงินจำนวนนี้จะไม่สามารถใช้ซื้อของได้ เพราะสินค้าแพงขึ้น

      ฉะนั้น การฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำหรืออยู่ที่ 0.50 เปอร์เซ็นต์ต่อปี อาจทำให้เงินเก็บมีมูลค่าเพิ่มขึ้นไม่ทันเงินเฟ้อและส่งผลให้เรามีเงินไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในอนาคต การลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจึงเป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจ

 

3 ข้อต้องรู้ ก่อนเริ่มลงทุน

  • รู้สถานะทางการเงินของตนเอง ว่าปัจจุบันมีสินทรัพย์และหนี้สินอะไร เท่าไหร่บ้าง
  • รู้ว่าแต่ละเดือน มีรายรับ-รายจ่ายอะไร เท่าไหร่บ้าง : ค่าใช้จ่ายไหนที่สามารถตัดหรือลดลงได้ เพื่อนำเงินส่วนนั้นกลับมาออมเพิ่ม
  • รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงอะไรบ้าง : แต่ละคนสามารถรับความเสี่ยงได้ไม่เหมือนกัน ลองทำแบบทดสอบเพื่อที่จะรู้ว่าคุณสามารถลงทุนแบบไหนได้

 

      “ตราสารทางการเงินมีเยอะมาก มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีความเสี่ยง มีผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป สมมุติผมบอกว่าคุณต้องรู้จักหุ้น ถามว่าคุณต้องรู้จักหุ้นทุกตัวในตลาดไหม ก็คงไม่ แต่คุณต้องเข้าใจลักษณะของหุ้นก่อน ว่าหุ้นคืออะไร ถ้าคุณจะไปลงทุนในพันธบัตร คุณเข้าใจหรือเปล่าว่าพันธบัตรคืออะไร ปัจจุบันข้อมูลเยอะมากและหาได้ไม่ยาก เพียงแต่คุณอาจจะต้องค่อย ๆ ทำความเข้าใจ อันนี้เดี๋ยวเรามาลองดูกันว่า ถ้าคุณอยากจะลงทุนจริง ๆ คุณควรจะดูข้อมูลอะไรบ้างครับ” ดร.พีรภัทร ทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า