Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.youtube.com/watch?v=EGtuNP60W48&feature=youtu.be

      กองทุนรวม ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับมือใหม่ที่ต้องการเริ่มลงทุน แต่ถึงอย่างนั้นหลาย ๆ คนก็ยังมึนงงว่า เราควรเริ่มศึกษาจากตรงไหน มีกองทุนเยอะแยะไปหมด แล้วต้องดูอย่างไรถึงจะรู้ว่ากองทุนกองนั้นเหมาะกับเราหรือไม่

      ในบทความนี้ ดร.พีรภัทร ฝอยทอง นักวางแผนการเงินส่วนบุคคล จะอธิบายถึงสิ่งที่ “มือใหม่” ควรรู้เมื่อต้องการซื้อกองทุน

 

1. ทำความรู้จักสินทรัพย์ลงทุน

      อันดับแรก เราแบ่งสินทรัพย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น บ้าน ที่ดิน ทองคำ ฯลฯ กับสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ หรือสินทรัพย์การเงิน ซึ่งสินทรัพย์การเงินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ หนึ่ง ตราสารหนี้ และสอง ตราสารทุน

      ตราสารหนี้ เมื่อเราเอาเงินไปลงทุนเราจะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” หมายความว่า เราเอาเงินไปให้เจ้าของกิจการนั้น ๆ ยืม เมื่อครบกำหนดเราจะได้เงินคืนพร้อมกับดอกเบี้ย

      ส่วนตราสารทุน หรือ หุ้น เมื่อเราเอาเงินไปลงทุนเราจะมีสถานะร่วมเป็น “เจ้าของ” หมายความว่า ถ้ากิจการนั้นทำกำไร เราก็จะได้ส่วนแบ่งกำไรตามสัดส่วนของหุ้นที่เราถือ แต่ถ้าขาดทุน เราก็จะขาดทุนด้วย

      “คุณสามารถลงทุนเองก็ได้ โดยตรง หมายถึงไปซื้อตราสารหนี้ฉบับนั้นมาเลย หรือไปซื้อหุ้นตัวนั้น หรืออีกทางหนึ่งคือจะซื้อผ่านกองทุนรวมก็ได้ ซึ่งเขาก็จะมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารจัดการให้ คือไปซื้อตราสารต่าง ๆ แล้วมาจัดพอร์ตให้คุณ” ดร.พีรภัทร อธิบาย

 

2. รู้จักความเสี่ยง ของสินทรัพย์แต่ละประเภท

      ยกตัวอย่าง ตราสารหนี้ คือ การให้เจ้าของกิจการยืมเงินไปทำธุรกิจ โดยคนที่ลงทุนนั้นมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ดังนั้น คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ลูกหนี้คนนี้เมื่อผ่านไป 1 ปี เขาจะมีเงินมาคืนเรา มันจึงมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) เป็น AAA, AA+, AA, AA-, BBB เป็นต้น ซึ่งเราสามารถเลือกดูได้

      ความเสี่ยงสูง หมายความว่า บริษัทนั้น ๆ มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูง ผู้ลงทุนเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินคืน เขาก็จะให้ผลตอบแทนเยอะ แต่ถ้าบริษัทไหนมีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่มั่นคง น่าจะคืนเงินได้ตรงเวลา เขาก็จะให้ผลตอบแทนน้อยลง



3. ดู Fund Fact Sheet (หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ)

      เวลาเลือกกองทุน ต้องเปรียบเทียบกองทุนที่เป็นประเภทเดียวกันก่อน เช่น กองทุนหุ้น ก็ดูเปรียบเทียบกับกองทุนหุ้นด้วยกัน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก็ดูเปรียบเทียบกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ด้วยกัน ดังนั้น เวลาดู Fund Fact Sheet อันดับแรกต้องดูว่า กองทุนนี้เป็นกองทุนประเภทไหน ไปลงทุนในสินทรัพย์อะไร จากนั้นดูว่า กองทุนนี้เหมาะกับใคร ไม่เหมาะกับใคร และสามดูว่า ความเสี่ยงของกองทุนประเภทนี้มีอะไรบ้าง

      และสี่ อย่าลืมดูค่าธรรมเนียม เวลาเราซื้อกองทุน เขาจะมีผู้จัดการกองทุนที่คอยดูแลบริหารจัดการ ดังนั้น เขาจึงคิดค่าธรรมเนียมจากเรา ซึ่งค่าธรรมเนียมถูกหรือแพงเราต้องดูด้วย เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อผลตอบแทนหรือกำไรที่เราจะได้รับ

 

4. ผลตอบแทน ต้องดู 3 ระยะ

      การจะดูว่ากองทุนนั้น ๆ สามารถทำกำไรให้คุณได้มากหรือได้น้อยขนาดไหน ควรดูสัก 3 ช่วงเวลา คือ ระยะสั้น ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ระยะกลาง ๆ ช่วง 1 ปีที่ผ่าน และระยะยาว ช่วง 3 ปีที่ผ่าน ถ้ากองทำผลงานได้สม่ำเสมอ ติดอยู่อันดับต้น ๆ ทั้ง 3 ช่วงเวลา นั่นแปลว่า กองทุนกองนี้ก็น่าจะยังเก่งอยู่ในอนาคต

 

5. สำคัญที่สุด ต้องรู้จักกระจายความเสี่ยง

      ในการวางแผนการเงิน ไม่มีใครลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเพียงอย่างเดียว เราต้องจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยง “หลักการทางการเงินเขาบอกว่า คุณอย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว ถ้าคุณเอาไข่ไก่ไปใส่ในตะกร้าใบเดียว แล้วตะกร้าใบนั้นตก แปลว่าไข่ของคุณแตกเสียหายทั้งหมด ก็เหมือนกันครับ ถ้าคุณเอาเงินไปใส่ไว้ในสินทรัพย์ลงทุนประเภทเดียว แล้วสินทรัพย์ลงทุนประเภทนั้นมันเจ๊ง มันขาดทุน คุณก็จะเงินหมดเลย” ดร.พีรภัทร ทิ้งท้าย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า