SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ. เตือน 5 จังหวัด ลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยา รับมือระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากเขื่อนป่าสักฯ ระบายน้ำเพิ่ม ส่งผลกระทบจ.ลพบุรี จ.สระบุรี  จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี และจ.นนทบุรี ช่วงวันที่ 8-13 ต.ค.นี้

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ระบุว่า ด้วยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้มีประกาศฉบับที่ 49/2565 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2565 แจ้งว่า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำหลากจากทางตอนเหนือไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม เวลา 18.00 น. มีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณ จ.นครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ 3,077 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวจะไหลมารวมกับแม่น้ำสะแกกรัง และลำน้ำสาขา ไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา

กรมชลประทานได้พิจารณารับน้ำเข้าคลองฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกเต็มศักยภาพคลองที่สามารถรองรับน้ำได ปัจจุบันระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ +17.64 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ซึ่งสูงกว่าระดับเก็บกัก 1.14 (+16.50 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง) เพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของบานระบายน้ำและตัวเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ +17.60 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น อยู่ในอัตรามากกว่า 2,900-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2565 ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์ระดับน้ำทะเลหนุน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือกรุงเทพมหานคร ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ โดยระดับน้ำจะมีความสูงประมาณ 1.90-2.20 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง บริเวณจังหวัดปทุมธานี ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.15-0.30 เมตร ในช่วงวันที่ 8-13 ตุลาคม 2565

พร้อมกันนี้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี ได้เน้นย้ำให้ติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และดำเนินการเพิ่มเติมในการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ นอกจากนี้ ให้เตรียมเครื่องจัก เครื่องมือ เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที

ขณะเดียวกัน ให้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร ผู้บังคับเรือโดยสาร/เรือโยงสินค้าหรือวัสดุ รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมยกของขึ้นที่สูง ให้อำเภอและองค์กรปกครองท้องถิ่นเสริมคันกั้นน้ำ

กรณีน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำท่วมขัง ให้ติดตามปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่แต่ละจุดอย่างใกล้ชิด รวมถึงเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักหรือบริเวณฝนสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้ พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้ถือปฏิบัติตามข้อสั่งการและมาตรการตามหนังสือกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี ด่วนที่สุด ที่ ปท (กปภจ) 0021/ว 7476 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2565

ทั้งนี้ หากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบทันที หมายเลขโทรศัพท์ 0 2581 7120 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง

จ.นนทบุรี ประกาศภัยพิบัติ อ.ปากเกร็ด 7 ตำบล

นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ออกประกาศจังหวัดนนทบุรี เรื่อง เขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด ด้วยได้เกิดเหตุอุทกภัยสาเหตุจากพายุโนรู กอรปกับภาวะฝนตกหนัก และฝนตกสะสมต่อเนื่อง ส่งผลให้มีน้ำไหลหลากผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ระดับน้ำท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด โดยได้ประกาศเขตพื้นที่อุทกภัยใน 7 ตำบล ในพื้นที่ อ.ปากเกร็ด แล้ว ประกอบด้วยดังนี้

1. หมู่ที่ 1-5 ตำบลบางพลับ

2. หมู่ที่ 1-10 ตำบลท่าอิฐ

3. หมู่ที่ 1-7 ตำบลเกาะเกร็ด

4. หมู่ที่ 1-6 ตำบลอ้อมเกร็ด

5. หมู่ที่ 1-6 ตำบลคลองพระอุดม

6. หมู่ที่ 1-5 ตำบลบางตะไนย์

7. หมู่ที่ 1-12 ตำบลคลองช่อย

โดยให้เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า