SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสาน 66 จังหวัด จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังภัยจากพายุฤดูร้อน ที่จะเกิดขึ้นตลอดสัปดาห์หน้า ( 23 – 28 เม.ย. )

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้าปกคลุมประเทศไทย จึงอาจเกิด พายุฤดูร้อน ช่วงวันที่ 23 – 28 เมษายนนี้

ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึง กทม. และปริมณฑล ทางปภ. จึงประสานไปยัง 66 จังหวัด ให้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง และจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว พร้อมปฏิบัติงานระงับเหตุทันที

สำหรับ 66 จังหวัดที่ต้องเตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” ครั้งนี้  ได้แก่

  • ภาคเหนือ 17 จังหวัด

แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

  • ภาคกลาง 25 จังหวัด

ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และ กทม.

  • ภาคใต้ 4 จังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนเรื่องพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 24 – 27 เมษายน โดยลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะได้รับผลกระทบก่อน ตั้งแต่ 24 -25 เมษายน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ กทม. และปริมณฑล จะได้รับผลกระทบตั้งแต่ 25 – 27 เมษายน

ทั้งนี้ กทม.และปริมณฑล อุณหภูมิสูงสุดในวันนี้ (22 เม.ย. 61) อยู่ที่ 35 – 37 องศาเซลเซียส

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า