Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์ศิริราช แถลงผลตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูกน้องน้ำตาลเป็น ‘วัณโรคหลังโพรงจมูก’ เผยมีโอกาสพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบในปอด

วันที่ 26 มิ.ย.2562 เวลา 10.00 น. ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานผลการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูกของนางสาวบุตรศรัณย์ ทองชิว โดยมี รศ.นพ.ปรัญญา สายลักษณ์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ร่วมด้วย ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช

สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของ น้ำตาล-บุตรศรัณย์ ทองชิว เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 นั้นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ขออนุญาตส่องกล้องเข้าไปดูบริเวณหลังโพรงจมูก และพบบริเวณเยื่อบุหลังโพรงจมูกมีสีผิดปกติไปจากปกติ ขนาดประมาณ 0.5-1 ซ.ม. จึงตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาหาสาเหตุการเสียชีวิต ระหว่างตัดชิ้นเนื้อพบมีเลือดไหลออกมา หลังจากย้อมชิ้นเนื้อพบว่าเข้าได้กับวัณโรคแต่ไม่พบเชื้อ คณะแพทย์จึงได้ทำการตรวจอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) คือตรวจหา DNA ของเชื้อวัณโรคได้ผลเป็นบวก (positive) ผลการตรวจ PCR ดังกล่าว และผลการตรวจชิ้นเนื้อจึงบ่งชี้ว่ามีเชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูก ซึ่งในกรณีนี้มีโอกาสติดต่อกันได้น้อย

จากสถิติของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 พบคนไทยเป็นวัณโรคประมาณ 80,000 คน จากประชากร 69 ล้านคนโดยร้อยละ 83 จะตรวจพบที่ปอด ร้อยละ 17 ตรวจพบนอกปอด สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูกพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบนอกปอด อีกทั้งวัณโรคสามารถเป็นได้ตามอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูก รายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่าผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ และประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก การวินิจฉัยวัณโรคหลังโพรงจมูก จึงมักได้จากการตรวจชิ้นเนื้อที่ก้อน หรือต่อมน้ำเหลือง

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนจากกรณีของ น้ำตาล-บุตรศรัณย์ ทองชิว
1. อุบัติการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังไม่ลดลงสามารถเกิดได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัยและสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายอวัยวะ
2. ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปีหากพบสิ่งผิดปกติใด ๆ จำต้องสืบค้นจนพบสาเหตุของความผิดปกตินั้น
3. แม้การตรวจร่างกายจะปกติแต่หากมีอาการผิดปกติระยะเวลาหนึ่งเช่นน้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุเบื่ออาหารมีไข้ต่ำ ๆ คลำได้ก้อนผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า