SHARE

คัดลอกแล้ว

ตั้งแต่เมื่อไหร่กันที่การยกหูโทรศัพท์หาใครสักคนต้องแจ้งล่วงหน้าเพื่อขออนุญาต? ฟังก์ชันของโทรศัพท์ที่เราคุ้นเคย คือกดเบอร์โทรศัพท์เพื่อโทรหาทันทีที่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ หรือแม้กระทั่งถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ เพราะหากอีกฝ่ายไม่สะดวกการกดปุ่มวางหูสีแดงก็ยังเป็นตัวเลือกที่ทำได้

แต่รู้หรือไม่ว่า มุมมองของคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z กำลังเกิดข้อถกเถียงนี้เป็นวงกว้าง พวกเขาบางคนถึงกับบอกว่า สายโทรศัพท์ที่ไม่ได้แชทมาบอกก่อนล่วงหน้า เข้าขั้น ‘Extremely annoyed’ หรือสร้างความรำคาญแบบสุดๆ ไปเลย หนักเข้าก็มองว่า การโทรศัพท์เป็นเรื่องไร้มารยาท หยาบคาย ล้ำเส้น กระทั่งสร้างความตระหนกตกใจว่า มีเรื่องคอขาดบาดตายอะไรร้ายแรงรึเปล่า?

 

[ มารยาทที่ซับซ้อนขึ้น จากบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ]

สำนักข่าว Channel NewsAsia หรือ ‘CNA’ รายงานผลสำรวจในปี 2023 ที่มีหัวข้อเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กๆ Gen Z ชาวออสเตรเลีย อายุระหว่าง 18-26 ปี กว่า 1,000 คน พบว่า เกือบ 60% กลัวที่จะโทรออกหรือรับสายโทรศัพท์ สอดคล้องกับผลสำรวจจากกลุ่มคนมิลเลนเนียลอเมริกันที่พบว่า มากถึง 81% รู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาใครสักคน

ข้ามมาดูฝั่งอังกฤษกันบ้าง ‘YouGov’ บริษัทวิจัยด้านการตลาดเปิดเผยผลสำรวจออกมาว่า กลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 18-24 ปี ชื่นชอบการสื่อสารด้วยการส่งข้อความมากที่สุด รองลงมา คือกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 25-34 ปี สอดคล้องกับผลสำรวจจาก ‘Robert Walters’ ในเดือนมีนาคม ปี 2024 ที่ระบุว่า มี Gen Z เพียง 16% เท่านั้น ที่เข้าใจว่าการโทรศัพท์เป็นช่องทางการสื่อสารแบบมืออาชีพ

จากค่านิยมและรูปแบบการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งมีการส่งแชทหากันมากเท่าไร การโทรศัพท์หากันแบบไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้มากเท่านั้น แม้การโทรเข้า-โทรออกจะดำเนินเรื่อยมากว่า 100 ปีแล้ว แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ยอมรับได้

‘Aparna Paul’ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร วัย 41 ปี บอกว่า เธอไม่เคยคิดว่าการโทรหาโดยไม่แจ้งล่วงหน้าจะเป็นเรื่องใหญ่เพียงนี้ กระทั่งตัดสินใจโทรหาเพื่อนร่วมงานโดยไม่ได้แชทหรืออีเมลล่วงหน้า เธอพบว่า เพื่อนร่วมงานคนดังกล่าวแสดงท่าทีรำคาญใจเมื่อต้องรับสาย ซึ่ง ‘Paul’ มองว่า การโทรหาเพื่อพูดคุยธุระเพียง 2-3 นาที ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ต้องล็อกเวลาล่วงหน้ามากขนาดนั้น 

ด้านนักวิจัยด้านการสื่อสารจากมหาวิทยาลัย University of illinois at Urbana-Champaign ให้ข้อสรุปว่า ความวิตกกังวลจากการใช้โทรศัพท์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความต้องการใช้โทรศัพท์ การที่กลุ่มคนรุ่นใหม่เลือกใช้วิธีสื่อสารทางเลือก เช่น การพิมพ์ส่งข้อความ แทนการโทรศัพท์อาจไม่ใช่แค่เรื่องความสะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังเป็นผลพวงจากการหลีกหนีความวิตกกังวลอีกด้วย

สำนักข่าว The Wall Street Journal วิเคราะห์ว่า คนที่รู้สึกคุ้นเคยกับเสียงโทรศัพท์เข้า-ออก น่าจะเป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมๆ กับยุคเฟื่องฟูของโทรศัพท์บ้าน ที่ไม่ว่าจะได้ยินเสียงอะไรก็ต้องรีบวิ่งไปรับโดยปราศจากความกังวลว่า อีกฟากหนึ่งจะเป็นคนคุ้นเคยหรือแปลกหน้า ตรงกันข้ามกับเจเนอเรชันที่โตมากับการส่งข้อความเป็นหลักที่มักจะคาดหวังว่า การสื่อสารผ่านแชทควรเป็นด่านแรกเสมอ 

 

[ ไม่ใช่แค่เด็กๆ แต่ผู้ใหญ่ก็เกิดความกังวลได้ ]

แม้ประเด็นดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในกลุ่ม Gen Z แต่ก็พบว่า กระทั่งกลุ่มคน Gen Y ก็เกิดอาการวิตกกังวลจากเสียงโทรเข้าได้เช่นกัน ‘Merci Grace’ วัย 39 ปี บอกว่า การโทรหาล่วงหน้าโดยไม่บอกกล่าวค่อนข้างรบกวนจิตใจ เธอเลือกที่จะไม่รับสายที่ไม่ได้นัดหมายไว้ หรือหากรับก็ต้องผ่านการพินิจพิเคราะห์ระยะหนึ่งไม่ใช่การกดรับในทันที

ส่วน ‘Diana Fox’ อายุ 38 ปี กลับชอบการโทรศัพท์มากกว่าพิมพ์แชทตอบโต้กัน เพราะเธอให้ความสำคัญกับเรื่องเวลา การโทรช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า และหากปลายสายไม่สะดวกอย่างไรเสียปุ่มกดปฏิเสธก็ยังมีให้เลือกใช้งานได้

ด้วยข้อโต้แย้งทั้งหมดที่เกิดขึ้น Katherine Bindley’ ผู้สื่อข่าวสาวได้มีการสอบถามไปยังต้นกำเนิดของหนังสือมารยาทสุดคลาสสิกอย่าง “Emily Post’s Etiquette’ ที่ปัจจุบันธุรกิจได้ตกทอดมาสู่รุ่นเหลนแล้ว จากหนังสือสอนมารยาททางสังคมเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ลูกๆ หลานๆ มีความเห็นกับมารยาทเรื่องการโทรศัพท์อย่างไร?

ผู้เป็นเหลนตอบว่า ปัญหาดังกล่าวไม่น่าจะเป็นคำตอบเลือกฝั่งแบบตายตัว แต่ปัจจัยที่ต้องพิจารณาอาจเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลนั้นๆ การโทรหาโดยไม่บอกล่วงหน้าอาจใช้ได้กับคนในครอบครัว เพื่อนๆ คนสนิท หรือแม้กระทั่งการทำงานที่ต้องใช้ความเร่งรีบปัจจุบันทันด่วน แต่ไม่ใช่กับคนแปลกหน้า

Gen Z บางคนตีความการโทรศัพท์ว่า ต้องเป็นเรื่องร้ายแรงฉุกเฉินในระดับที่มีคนเจ็บสาหัส ปางตาย หรือสร้างความเสียหายให้ทรัพย์สินมหาศาล ซึ่งนี่อาจเป็นอีกประเด็นที่เข้าเค้าเรื่อง ‘Gen Gap’ แม้จะเกิดขึ้นได้กับคนเจเนอเรชันอื่นๆ ได้บ้าง แต่จากผลสำรวจที่เราไล่เรียงมาก็คงต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันมากขึ้น เพื่อให้ประสิทธิภาพการสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นกับทุกคน ทุกฝ่ายมากที่สุด

 

อ้างอิง:
https://www.channelnewsasia.com/commentary/young-people-phone-cold-call-anxiety-gen-z-millennials-career-work-4442876

https://www.wsj.com/lifestyle/phone-etiquette-text-before-calling-6015145b?mod=careers_more_article_pos40

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า