SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ พรรครีพับลิกัน คว้าชัยชนะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 47  ซึ่งหากเราพิจารณาถึงนโยบายของทรัมป์ จะพบว่า นโยบายของทรัมป์ได้เอื้อหนุนแรงบวกต่อราคาทองคำ

โดยนโยบายหลักๆ ของทรัมป์ ได้แก่ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก 21% เหลือ 15% จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะสูงขึ้น จากการขาดดุลงบประมาณมากขึ้น การเก็บภาษีนำเข้าจากจีน 60% ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อสูงหรือการเพิ่มข้อจำกัดผู้อพยพก็เสี่ยงทำให้ต้นทุนแรงงานสูงขึ้นเกิดภาวะเงินเฟ้อ

และสิ่งที่นักลงทุนจะเริ่มกลับมาให้ความสนใจต่อจากนี้ คือโอกาสที่เงินเฟ้อกลับมาพุ่งสูงอีกครั้งหรือไม่?

เนื่องจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเดือน พ.. ล่าสุด Fed มีมติลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 4.50-4.75% ประธาน Fed มั่นใจในเศรษฐกิจสหรัฐฯ และมองว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง เป็นการส่งสัญญาณว่า Fed จะลดดอกเบี้ยต่อไป

และการที่ทรัมป์คว้าชัยชนะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวล ประธาน Fed มองว่า ไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ Fed และไม่สามารถไล่ประธาน Fed ออกจากตำแหน่งได้ทางกฎหมาย ทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐฯ มีทิศทางเป็นขาลงต่อเนื่องในปีหน้า

แต่ด้วยนโยบายของทรัมป์ อาจทำให้ตลาดกลับมาสนใจกันใหม่ว่า เงินเฟ้อที่มีความเสี่ยงจะกลับมาพุ่งสูง แล้วทิศทางดอกเบี้ยขาลงในปีหน้าจะจบเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้หรือไม่? แม้ประธาน Fed ยังส่งสัญญาณเดินหน้าปรับลดดอกเบี้ยต่อไป

อีกปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนจะเริ่มกลับมาสนใจ คือ หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลบวกกับทองคำในระยะยาว ปัจจุบันสหรัฐฯ มีหนี้สาธารณะ 35 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วน 123% ของจีดีพี

ทั้งนี้ ถ้าเราพิจารณาตั้งแต่ที่ทรัมป์ได้ชัยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2559 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ก่อนปี 2559 น้อยกว่า 100% แต่นับตั้งแต่ทรัมป์ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ หนี้สาธารณะต่อ GDP ของสหรัฐฯ ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมากกว่า 100%

และ ณ ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 123% ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากนโยบายปรับลดภาษีของทรัมป์ ทำให้เก็บเงินภาษีได้น้อยลง สหรัฐฯ มีรายได้ที่ลดลง ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย หนี้สาธารณะจึงเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และด้วยนโยบายของทรัมป์ ก็ยังคงสนับสนุนเรื่องการลดภาษีน้อยลงกว่าเดิม โดยลดภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก 21% เหลือ 15% ตรงนี้อาจยิ่งทำให้ตลาดกลับมากังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ได้ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ยังคงสร้างแรงบวกต่อราคาทองคำให้ปรับตัวขึ้นต่อไปได้

หนี้สาธารณะสหรัฐฯ

หนี้สาธารณะสหรัฐฯ

สัดส่วนหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ต่อจีดีพี

สัดส่วนหนี้สาธารณะสหรัฐฯ ต่อจีดีพี

นอกจากนี้ ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่มีความเสี่ยงจะกลับมาพุ่งสูงขึ้น จากนโยบายสงครามการค้าที่รุนแรงโดยเฉพาะกับจีน ซึ่งนโยบายของทรัมป์ คือ America First เสนอให้จัดเก็บภาษีสินค้าจีนอัตรา 60% และจัดเก็บภาษีขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด และมาตรการกีดกันผู้อพยพ อาจทำให้ต้นทุนแรงงานสูงขึ้น เงินเฟ้อสูงขึ้น

และถึงแม้ว่าดอกเบี้ยขาลงของสหรัฐฯ จะจบลงเร็วหรือ Fed อาจจะจำเป็นต้องปรับลดดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ เริ่มอ่อนแอลงก็ตาม ล้วนทำให้เกิดแรงซื้อทองคำเข้ามาในฐานะสินทรัพย์ที่ปกป้องความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาลง

รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ สงครามในตะวันออกกลาง ประเด็นความขัดแย้งจีนกับไต้หวัน และความไม่แน่นอนในการเมืองสหรัฐฯ จากที่ทรัมป์ ยังมีคดีติดตัวหลายคดี ซึ่งล้วนหนุนราคาทองคำให้ยังมีทิศทางขาขึ้นในระยะยาว

แม้ว่าช่วงนี้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลงระยะสั้น จากสัญญาณทางเทคนิคของราคาทองคำ จาก Modified Stochastic ยังคงเกิดเส้นตัดกันลงมา และยังไม่เข้าสู่ Oversold และเกิด Bearish MACD แต่คาดว่าราคาทองคำเป็นการย่อตัวเพื่อปรับตัวขึ้นได้ต่อ และมีโอกาสทำ All-time High ได้ใหม่ในปีหน้า

โดยคาดว่าแนวรับในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยให้แนวรับแรกที่คาดว่ามีโอกาสที่ราคาทองคำจะฟื้นตัว คือ บริเวณแนวรับ 2,540 ดอลลาร์ และแนวรับถัดไปที่ระดับ 2,470 ดอลลาร์ ส่วนแนวต้านช่วงที่เหลือของปีนี้คือ 2,800 ดอลลาร์ และ 2,850 ดอลลาร์

ส่วนราคาทองคำแท่งในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลงในระยะสั้น แต่เป็นการย่อตัวเพื่อปรับขึ้นได้ต่อเช่นกัน โดยมีแนวรับ 42,000 บาท และ 41,300 บาท ส่วนแนวต้าน 44,500 บาท และ 45,000 บาท

ทั้งนี้ ประเมินว่าในปีหน้าราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ต่อ มีโอกาสทดสอบถึงระดับ 3,000-3,100 ดอลลาร์ จากสัญญาณทางเทคนิคในรูปแบบ ‘Cup and Handle’ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ราคาเป้าหมาย

ส่วนราคาทองคำแท่งในประเทศมีโอกาสปรับตัวขึ้น All-time High ใหม่ที่ 49,950 บาท และ 51,600 บาท เนื่องจากนโยบายของทรัมป์ อาจส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่า

ทอง ทองคำ ราคาทองคำ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า