SHARE

คัดลอกแล้ว
“มันเกิดจากผมเผลอเอานิ้ว ไปโดนหน้า … ผมต้องการทำร้ายตัวเอง” คำสัมภาษณ์พร้อมเสียงหัวเราะก่อนเดินจากไป ของเป๊ป กวาร์ดิโอล่า กุนซือ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ คุณคิดว่าเป็นเรื่องปกติเหรอ?

ร่องรอยขีดข่วนบนใบหน้าของผู้จัดการทีมเรือใบสีฟ้า หลังจบเกมที่เปิดบ้านเสมอเฟเยนอร์ด ทั้งที่ขึ้นนำก่อนถึง 3-0 มองผิวเผินก็อาจเป็นเพียงกีฬาเกมหนึ่ง จบแล้วก็เริ่มใหม่ ภาพดังกล่าวถึงได้ถูกใช้บรรยาย และความตึงเครียดของฟุตบอลเกมหนึ่ง จนอาจไปถูกใจคอบอลบางกลุ่ม มองว่าเป็นสีสัน เก็บตกนอกสนามเท่านั้น ไม่ต้องคิดอะไรมาก ภาพใบเดียวนี้ถึงได้กลายเป็นมีม รวมถึงภาพข่าวที่ได้รับรีแอคชันไปในเชิงตลกขบขัน

แต่หากถอยออกมา มองอีกมุม ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ทำงานแลกเงินด้วยความตั้งใจยิ่งกว่าใคร เป๊ป ก็ไม่ต่างกับหัวหน้า หรือมนุษย์เงินเดือน ที่ต้องแบกรับความกดดันจากการทำงาน สะสมและก่อตัวเป็นความเครียด อย่างสถานการณ์ของเขา ที่ทีมไม่ชนะติดต่อกันมาถึง 6 นัดติด ช่วงเวลา 90 นาที จึงมากพอที่ เป๊ป จะพาตัวเองมาถึงจุดนี้

ที่ภาพหนึ่งฉากชีวิตของกุนซือมือดีรายนี้ ไม่ได้มีเพียงการนำทัพชูถ้วย พร้อมเสียงเชียร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีวินาทีของการดิ้นรนเอาชนะความเจ็บปวด เป็นหนึ่งภาพจำไปแล้ว

(ภาพจาก Darren Staples / AFP)

ความกดดันจากงาน

ไม่ว่าเรื่องที่กำลังไม่สบายใจเล็ก หนัก นาน ยาก แก้ได้เอง หรือแก้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร เครียดก็คือเครียด อย่างที่มีการพูดถึง ภาวะ ‘Overwhelmed’ คือ การมีความเครียด ความกดดันจากที่ทำงานหนักมากๆ จนความรู้สึกนี้มันท่วมท้นอยู่ภายในใจ.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล เคยสรุปสาเหตุของความเครียดจากการทำงานคร่าวๆ ไว้ดังนี้

  • ทำงานแบบกดดันตัวเอง ทำให้เกิดความเครียดสะสม มีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น
    ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ หรือตื่นกลางดึก
  • ผลงานต้องออกมาดีที่สุด มีความคาดหวังสูงในการทำงานต้องการความสมบูรณ์แบบ
  • ทำงานตลอดเวลา ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการคิด การวิเคราะห์ และสมาธิแย่ลง

ก่อนจะ ‘เดี๋ยว’ ก็ผ่านไป

เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ลักษณะนี้ในที่ทำงาน และต้องการพื้นที่ปลดปล่อย แต่จะหันหน้าหาใครแบบด่วนๆ ก็ติดจะเกรงใจ เพราะเสียงเคาะแป้นพิมพ์ หรือสายตาที่เคร่งเครียดของเพื่อนร่วมงาน ก็ตอกย้ำว่าเราอาจอยู่บนเรือลำเดียวกันอยู่ ถึงได้ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก ที่ “เดี๋ยวก็ผ่านไป” กลายเป็นหนึ่งประโยคฮิต

แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลจะเพิกเฉยต่ออารมณ์เหล่านั้น ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยาในเบื้องต้น การทำความเข้าใจกับตัวเอง ว่าตอนนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และถ้าไม่โอเคขอให้ยอมรับ และลองหาวิธีการจัดการกัน คือเรื่องสำคัญแต่ทำได้ยากที่สุด

ooca ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ให้บริการปรึกษา เคยแนะนำเอาไว้ว่า ให้ลองถามตัวเองด้วยคำถามอย่าง เรื่องเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้คืออะไร? เกิดแล้วคุณจะทำยังไง? และหากเพื่อนสนิทตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน จะแนะนำเพื่อนอย่างไร? เสียงที่ตอบอยู่ในใจ นั่นแหละ คุณลองทำดู

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า