SHARE

คัดลอกแล้ว

ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วมภาคใต้ที่ยังต้องจับตามอง อีกหนึ่งประเด็นที่ถูกวิพากษ์อย่างหนักในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือคำตอบของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจากการให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา หลังถูกถามถึงประเด็น ‘ละเลยพี่น้องภาคใต้’

เรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นพูดถึงอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีประชาชนอีกว่า 122,000 ครัวเรือน ใน 5 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี และนราธิวาส ที่รอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอยู่

“โอ้ คำว่าละเลยภาคใต้ สามีเป็นคนใต้ ครอบครัวสามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ ไม่รักคนใต้ แต่งงานคนใต้ไม่ได้นะคะ” คำตอบนี้กลายเป็นไวรัล และทำให้นายกฯ ถูกวิจารณ์อย่างหนัก หลายคนมองว่าเป็นคำตอบที่ขาดวุฒิภาวะและความเข้าใจถึงสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน บางฝ่ายก็มองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรที่จะครอบครัวมาพูดถึง

ย้ำกันก่อนว่า แพทองธารไม่ได้กล่าวแค่ “สามีเป็นคนใต้” เท่านั้น หลังจากสิ้นประโยคข้างต้น นายกฯ ยังกล่าวถึงกระบวนการทำงานที่คณะรัฐมนตรีดำเนินการไปแล้วด้วย ทั้งย้ำว่า ประชาชนในทุกภาคล้วนมีความสำคัญเท่ากัน ไม่มีใครถูกละเลย

ดังนั้นแล้ว สิ่งที่ต้องมามองกันต่อก็คือ ปัญหาของเรื่องนี้อยู่ตรงไหน มีประเด็นอะไรให้ชวนคิดตามต่อจากคำสัมภาษณ์ของนายกฯ บ้าง?

[ประเด็นแรก: ลำดับของการสื่อสาร และชูภูมินิยมผิดตรรกะ]

ในสถานการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากและรอฟังการช่วยเหลือให้พ้นจากวิกฤตนั้น การอธิบายให้ชัดเจนว่ารัฐบาลกำลังดำเนินการและมีแผนรับมืออย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะนั่นคือสิ่งที่ประชาชนต้องการได้ยินมากที่สุด ดังนั้น นายกฯ จึงควรเริ่มสื่อสารด้วยการตอบอย่างชัดเจนว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างไร เพื่อคลี่คลายสถานการณ์นั้น

ส่วนการพูดติดตลกหรือกล่าวถึงสถานการณ์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์นั้น สามารถกล่าวถึงได้เป็นการปิดท้าย หลังจากที่เนื้อหาสำคัญถูกบอกเล่าออกไปแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้น คำกล่าวของนายกฯ ยังสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการสื่อสารของนักการเมือง ที่อิงกับความเป็น ‘ภูมิภาคนิยม’ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด อีกทั้งยังใช้ได้ดีในหลายครั้ง ตามความเห็น ของ รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา

“โดยสามัญสำนึกปกติ โดยเฉพาะคนต่างจังหวัด สิ่งหนึ่งที่มี คือความเป็นภูมิภาคนิยม รักบ้านเกิดโดยธรรมชาติ แต่นายกฯ ใช้ตรรกะผิด การจะสร้างกระแสภูมิภาคนิยมนั้น ต้องยืนอยู่บนผลประโยชน์ของคนในภูมิภาคนั้น ในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงวัฒนธรรม”

นั่นถึงเป็นต้นเรื่องว่า เหตุใด ความพยายามที่จะสร้างเนื้อหาแบบภูมิภาคนิยมของนายกฯ ถึงได้ไม่ประสบความสำเร็จ และทำให้ความหมายที่ต้องการสื่อสารผิดเพี้ยนไปเสียหมด

“นอกจากผลประโยชน์แล้ว การสื่อสารนั้นต้องทำให้ผู้คนรู้สึกภาคภูมิใจ มั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืน แต่ปรากฏว่าหลักการข้างต้นไม่ถูกตอบสนอง”

[ประเด็นสอง: ชูครอบครัว]

การนำเรื่องครอบครัวมาพูดในการตอบคำถามสื่อ ในมุมหนึ่ง ผู้คนมองว่า นี่เป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับประชาชน ไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องกับการตอบคำถามสาธารณะ ขณะที่บางฝ่ายก็มองว่า การพูดถึงนั้นสะท้อนให้เห็นถึงภาพของความเป็น ‘คน’ ของนักการเมือง

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยในต่างประเทศ โดยนักการเมืองมักจะนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว ออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะในกรณีที่สะท้อนให้เห็นถึงนัยยะบางอย่าง เช่น เมื่อปี 2560 ลาริซซา วอร์เตอร์ส (Larissa Waters) นักการเมืองหญิงชาวออสเตรเลีย ให้นมลูกขณะกำลังประชุมรัฐสภา นับเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองออสเตรเลีย ซึ่งวอร์เตอร์สกล่าวว่า เธอต้องการสนับสนุนว่าผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเลือกเส้นทางระหว่างหน้าที่การงานกับชีวิตครอบครัว

นั่นทำให้หลายคนมองว่า การจะนำชีวิตส่วนตัวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานการเมืองนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ หากแต่ต้องขีดเส้นอย่างชัดเจน และมีเป้าหมายที่แน่วแน่ว่า การนำประเด็นครอบครัวเข้ามาในเวทีสาธารณะนั้นจะสะท้อนให้เห็นถึงวาระสำคัญอะไร

อย่างไรก็ดี อ.โอฬาร ชี้ถึงข้อควรระวังในประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ว่าสังคมไทยมีความหลากหลาย และละเอียดอ่อน ดังนั้น การที่นายกฯ นำตัวเองเป็นตัวแทน ของการสื่อสารทั้งหมดอยู่ในหลายครั้ง อย่างในประเด็นเรื่องการสร้างความอบอุ่นในครอบครัว ก็อาจส่งผลในทางลบได้เช่นกัน

Photo by TNP

[ประเด็นสาม: สารส่งไม่ถึง อะไรทำให้ชาวภาคใต้รู้สึกว่า พวกเขาถูกทอดทิ้ง?]

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ทำให้หลายพื้นที่ถูกตัดขาดจากภายนอก แม้แต่รถบรรทุกหกล้อก็เข้าไปไม่ได้ ประชาชนจำนวนหนึ่งต้องเฝ้ารอความช่วยเหลือนาน 3-4 วัน กัดกร่อนความหวังของคนรอจนอดคิดไม่ได้ว่าตัวเองถูกทอดทิ้งแล้ว

ส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ มาจากการเตรียมการรับมือที่ล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีคู่เทียบ เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เผชิญปัญหาเดียวกันอย่างมาเลเซีย ที่เผชิญกับอุทกภัยรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย สั่งการห้ามคณะรัฐมนตรีทุกคนจากการลาพักร้อน และสั่งให้รัฐมนตรีเหล่านี้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องน้ำท่วม

นอกจากนี้ อาหมัด ซาฮิด ฮามิดี (Ahmad Zahid Hamidi) รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าฝ่ายรับมือภัยพิบัติ กล่าวว่า หน่วยงานของรัฐเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติครั้งนี้แล้ว โดยเจ้าหน้าที่เกือบ 83,000 นาย เรือกู้ภัย รถยนต์สี่ล้อ และเสื้อชูชีพจำนวนมาก รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ 31 ลำพร้อมแล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราว 8,481 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งสามารถรองรับผู้คนได้กว่า 2 ล้านคน โดยทั้งหมดเกิดขึ้นก่อนมวลน้ำจะมาถึงเสียด้วยซ้ำไป

Photo by Madaree TOHLALA / AFP

ทั้งประเทศไทยและมาเลเซียนั้น ต่างมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับอุทกภัยสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น การเตรียมรับมือล่วงหน้า ให้ความช่วยเหลือ และเยียวยาประชาชน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศต้องเตรียมพร้อมให้ดี

นั่นแปลว่า ทั้งแผนการรับมือ ข้อมูลเรื่องภัยพิบัติ และการสื่อสารต่อสาธารณชน เป็นอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ที่นายกฯ ต้องให้ความใส่ใจ เพื่อไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าพวกเขาถูกทอดทิ้งซ้ำแล้วซ้ำอีก

อ้างอิง 

apnews.com

thairath.co.th

nbcnews.com 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า