SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้ (2568) จะเติบโตสูงถึง 3.3% แรงหนุนมาจากนโยบาย ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ การแจกเงิน 10,000 บาทของรัฐบาล รวมถึงภาคการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว และภาคการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น

‘เจมส์ เชียว’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย เอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวท แบงค์กิ้ง (HSBC Global Private Banking) คาดการณ์ว่า

เศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน-6 (ASEAN-6) จะมีการเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งถึง 4.8% ในปี 2568 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 4.4% โดยได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนในระดับสูง

โดยประมาณ 60% ของจีดีพีของอาเซียนมาจากการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเติบโตของการส่งออกที่อ่อนแอในท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านการค้าในปี 2568

ประเทศที่มีความเชื่อมโยงกับการส่งออกเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอาเซียนจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของวงจรอัพไซเคิลเทคโนโลยีระดับโลก (Global Tech Upcycle)

โดยเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนยังคงได้รับประโยชน์จากการปรับโครงสร้างการค้าและห่วงโซ่อุปทานที่ขับเคลื่อนด้วยการจำกัดการค้าของสหรัฐฯ และมาตรการกีดกันทางการค้าต่อจีน

[ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยและคำแนะนำการลงทุนปี 2568 ]

เจมส์เน้นย้ำว่า เศรษฐกิจในประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในภูมิภาคที่คาดว่าจะเห็นการเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2568

โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการคลังที่แข็งแกร่งและการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 3.3%

ทั้งนี้ มาตรการการคลังของรัฐบาลยังช่วยส่งเสริมการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งยังคงแข็งแกร่งเนื่องจากตลาดแรงงานที่มั่นคง

นอกจากนี้ ภาคการส่งออกของไทยก็กำลังฟื้นตัว โดยผู้ส่งออกเร่งการส่งมอบสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากภาษีนำเข้า ภาคการท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม จากมุมมองเชิงกลยุทธ์ของเอเชียในด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน  ทำให้เราลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทยเล็กน้อย เนื่องจากเราเห็นโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจกว่าในตลาดเอเชียอื่น ๆ

สำหรับด้านอัตราแลกเปลี่ยน คาดว่า ดอลลาร์สหรัฐต่อบาทไทย (USD-THB) จะมีความผันผวนเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า โดยคาดการณ์ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง USD-THB จะสิ้นสุดปีที่อัตรา 36.0

‘เราคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ในปี 2568 ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน’

อย่างไรก็ตาม นโยบายการคลังจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโต เนื่องจากธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

เจมส์ เชียว (James Cheo)

[ แนวโน้มการลงทุนในเอเชียในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ]

เอชเอสบีซี โกลบอล ไพรเวท แบงค์กิ้ง แนะนำ 4 ธีมการลงทุนในเอเชียที่น่าสนใจที่สุดเพื่อคว้าโอกาสการเติบโตและผลตอบแทนในเอเชีย

(1) บริษัทในเอเชียที่เป็นผู้นำธุรกิจของประเทศ

เราให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีคุณภาพสูงในเอเชียที่พึ่งพาการบริโภคในประเทศและมีการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ เพียงเล็กน้อย

โดยพบโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในจีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น ที่ก้าวข้ามขีดการลงทุนจากบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาดในประเทศด้วยความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่งในฐานะผู้นำและการเติบโตของรายได้ที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม

สำหรับญี่ปุ่น แนวโน้มเงินเฟ้อคงที่และการปรับขึ้นค่าแรงเป็นแรงหนุนการเติบโตของบริษัทที่เน้นการบริโภคในประเทศ

โดยความยืดหยุ่นของบริษัทที่เป็นผู้นำในประเทศในอาเซียนเหล่านี้เป็นเสมือนที่หลบภัยในการลงทุนเมื่อเผชิญกับความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้า

โดยคาดว่าบริษัทเหล่านี้จะมีผลการดำเนินธุรกิจดีกว่าบริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกและมีสหรัฐฯ เป็นตลาดหลัก

(2) ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของบริษัทในเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้น

เรามองหาผลตอบแทนจากหุ้นที่ยืดหยุ่นและป้องกันความเสี่ยงได้ ด้วยการลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพสูงซึ่งเพิ่มผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นผ่านการจ่ายเงินปันผลที่สูงหรือการซื้อหุ้นคืน

โดยคาดการณ์ว่า ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นในเอเชีย (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นถึง 12% ในปี 2568 โดยการซื้อหุ้นคืนในเอเชียกำลังเติบโตในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะในญี่ปุ่น จีนแผ่นดินใหญ่ และฮ่องกง

การเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งคาดว่าจะนำไปสู่การเติบโตของเงินปันผลกว่า 7% ในเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) และ 9% ในญี่ปุ่นในปี 2568

โดยได้รับแรงหนุนจากความก้าวหน้าในด้านธรรมาภิบาลองค์กรในญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ อัตราผลตอบแทนเงินปันผลในสิงคโปร์และอินโดนีเซียที่ 4.2% รวมถึงในฮ่องกงและมาเลเซียที่ 3.9% ยังคงน่าสนใจเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยทั่วโลกที่ 1.8%

(3) การเติบโตของอินเดียและ ASEAN

เราพบโอกาสที่น่าสนใจในอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยการบริโภคภายในประเทศ ความเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ของคนรุ่นใหม่

ชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น และความเจริญทางเทคโนโลยี โดยเรามุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจที่เป็นผู้นำในตลาดบริโภคภายในประเทศเพื่อลดความเสี่ยงจากการกีดกันทางการค้า

ทั้งนี้ การปรับลดราคาหุ้นอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดนี้ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากการเติบโตของกำไรที่คาดว่าจะอยู่ที่ 16% ในปี 2568

ตราผลตอบแทนต่อทุนที่สูง และการไหลเข้าของเงินทุนจากนักลงทุนภายในประเทศ โปรไฟล์การเติบโตที่ขับเคลื่อนโดยตลาดภายในของอินเดียทำให้ประเทศนี้มีความยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงด้านการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐฯ

สำหรับอาเซียน เราให้ความสำคัญกับหุ้นสิงคโปร์ เนื่องจากประเทศนี้มีการขาดดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในระดับต่ำ

ซึ่งทำให้การลงทุนในหุ้นสิงคโปร์เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีเมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านภาษีในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อได้รับการสนับสนุนจากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่น่าสนใจ

(4) ตราสารหนี้เอเชียที่มีคุณภาพสูง

การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพิ่มเติมในปี จะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางในเอเชียลดอัตราดอกเบี้ยของประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตราสารหนี้คุณภาพในภูมิภาคนี้

เราจึงมุ่งเน้นไปที่ตราสารหนี้ของภาคธุรกิจที่มีความน่าเชื่อถือเหมาะกับการลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากภูมิภาคเอเชีย, ตราสารหนี้จากกลุ่มสถาบันการเงินในเอเชีย, ตราสารหนี้ในสกุลเงินท้องถิ่นของอินเดียและอินโดนีเซีย,

USD Quasi-sovereign Investment Grade Bonds ที่เป็นตราสารหนี้คุณภาพสูงในสกุลเงินดอลลาร์ของอินโดนีเซีย และตราสารหนี้จากกลุ่มธุรกิจคาสิโนในมาเก๊า รวมถึงตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจีนที่ทำธุริจในกลุ่ม Technology, Media and Telecom (TMT)

สามารถดูรายงานกลยุทธ์การลงทุนในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 ฉบับเต็มได้ที่นี่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า