SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 ก.พ. 2568) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูความเชื่อมั่นตลาดหุ้นไทย (เอาจริงๆ ก็แล้วแต่จะเรียก) ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นกองทุนลดหย่อนภาษี LTF การทำโครงการเพิ่มกำไรบริษัทจดทะเบียน Jump+ รวมถึง ‘การนิรโทษกรรมภาษี’ ที่เป็นประเด็นในโลกออนไลน์ด้วย

TODAY Bizview สรุปรายละเอียดมาให้ตามนี้…

1. กองทุน LTF: หลายคนน่าจะพอเห็นข่าวแล้วว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเสนอให้ฟื้นกองทุน LTF ขึ้นมาอีกรอบ (ซื้อได้ปีสุดท้าย 2562) เพราะที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยถูกกระทบจากการขายกองทุน LTF ที่ถือครบอายุแล้ว (7 ปี) แถมยังถูกกระทบจากปัจจัยต่างประเทศไม่เว้นวันอีก

การเอากองทุน LTF กลับมา ก็หวังว่าจะช่วยลดผลกระทบ (แรงขาย+ปัจจัยภายนอก) ที่เกิดกับตลาดหุ้นไทยได้บ้าง รวมถึงสนับสนุนเรื่องการออมด้วย แต่จะชะลอแรงขายอย่างไร จูงใจแบบไหน ภาครัฐ (กระทรวงการคลัง) กำลังศึกษาอยู่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีหน้าที่ให้คำปรึกษา

แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะการฟื้นกองทุน LTF เท่าที่ฟังคือ ไม่ใช่การนำกองทุน LTF กลับมา แต่เป็นการเปิดให้โยกเงินจาก LTF ไปยังกองทุน Thai ESG ซึ่งเป็นกองทุนลดหย่อนภาษีอันใหม่ได้ แต่สิทธิลดหย่อนจะปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นอย่างไรเพื่อจูงใจ ยังต้องติดตามกันต่อไป

2. โครงการ Jump+: เป็นโครงการสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนเติบโตแบบก้าวกระโดด (กำไรสุทธิเติบโตแบบก้าวกระโดด) ตามชื่อโครงการ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นผู้ช่วยบริษัทในการสื่อสารกับนักลงทุน วิเคราะห์แผนธุรกิจ และขอสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกระทรวงการคลัง

ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ว่านั้นมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ไม่เก็บภาษีกับกำไรส่วนเพิ่มที่มาจากโครงการ Jump+ เช่น บริษัท A มีกำไร 1,300 ล้านบาท แต่มีกำไรจากแผนธุรกิจที่ดำเนินการภายใต้โครงการ Jump+ 300 ล้านบาท ในส่วนของ 300 ล้านบาทนี้ก็จะไม่ถูกเก็บภาษีในช่วง 3 ปีแรก เป็นต้น

ส่วนที่สองคือ การนิรโทษกรรมภาษี จริงๆ ใช้คำว่านิรโทษกรรมภาษี (ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ อธิบายให้เข้าใจง่าย) อาจฟังดูรุนแรง แต่จริงๆ คือการไม่คิดภาษีย้อนหลังกับบริษัทเล็กๆ ที่บริษัทจดทะเบียนไปควบรวมมา ซึ่งบริษัทเล็กๆ เหล่านี้ มักจะมี 2 บัญชีเพื่อหลบเลี่ยงภาษี (คือมันเป็น Ugly Truth แต่ต้องยอมรับว่ามีจริง และมีเยอะด้วย)

ถามว่าทำไมต้องทำแบบนี้ ประเทศได้ประโยชน์อย่างไร เอื้อการควบรวมของกลุ่มทุนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาหรือไม่ ตอบทีละข้อว่า ท้ายที่สุดประเทศก็จะได้ประโยชน์ เพราะรัฐสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นจากการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งเป็นผลจากแผนลงทุนภายใต้โครงการ Jump+ และส่วนที่ยกเว้นภาษีให้ ก็ยกเว้นให้แค่ช่วงแรกเท่านั้น

ส่วนการนิรโทษกรรมภาษี แน่นอนว่าไม่เกี่ยวกับดีลใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาตามที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ เพราะดีลดังกล่าวเป็นดีลระหว่างบริษัทใหญ่ในตลาดหุ้นควบรวมกัน แต่การนิรโทษกรรมภาษีภายใต้โครงการ Jump+ มีไว้เพื่อบริษัทเล็กนอกตลาดหุ้นที่จะถูกบริษัทใหญ่ในตลาดหุ้นควบรวมในอนาคต

ที่ต้องสนับสนุน M&A ก็เพราะ การควบรวมกิจการเป็นกลไกที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งขึ้น ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนการทำงาน และเพิ่มพลังทางธุรกิจ (Synergy) แต่ที่ผ่านมาอาจจะทำได้ยาก เพราะบริษัทเล็กๆ ที่ถูกควบรวมต้องจัดการตัวเองให้เหลือบัญชีเดียวก่อน

โครงการ Jump+ เป็นโครงการภาคสมัครใจ บริษัทไหนก็สมัครได้ก็จริง แต่เฟสแรกที่จะเริ่ม พ.ค. 2568 นี้ จะคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนเข้ามาประมาณ 50 บริษัทก่อน และในอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า หรือในเฟส 2 ถึงจะเปิดให้บริษัทอื่นๆ เข้าร่วมได้ คาดหวังให้บริษัทในตลาดหุ้นเข้าร่วม 50%

นอกจากนี้ บริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการได้ ต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนที่เป็น ‘เด็กดี’ ไม่มีประเด็นเรื่องธรรมาภิบาล (Governance) ไม่ถูกแขวนเครื่องหมายต่างๆ แผนธุรกิจต้องชัดเจน แผนธุรกิจต้องผ่านบอร์ดก่อน แผนธุรกิจต้องสื่อสารกับนักลงทุนให้เรียบร้อย ฯลฯ

เบื้องต้นรายละเอียดก็ประมาณนี้ ส่วนเรื่องภาษีจะได้ตามนี้หรือไม่นั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ แต่เท่าที่เคยแลกเปลี่ยนกันมา กระทรวงการคลังดูจะเห็นด้วยกับอะไรก็ตามที่ไม่ทำให้การจัดเก็บรายได้ ‘ลดลง’ (คือเท่าเดิมได้ เพิ่มขึ้นได้ แต่อย่าลด)

3. การใช้ AI วิเคราะห์หุ้น: ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างศึกษาการลงทุนในการเอา AI มาช่วยวิเคราะห์หุ้นขนาดเล็ก เพราะปัญหา (Pain Point) ของบริษัทจดทะเบียนขนาดเล็กคือ นักวิเคราะห์ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ครอบคลุม (Cover) เพราะไม่คุ้ม

โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะลองดูว่า เทคโนโลยี AI จะช่วยให้บริษัทขนาดเล็กเหล่านี้ได้มีโอกาสการสื่อสารกับนักลงทุนทั่วโลกได้มากขึ้นได้หรือไม่ เพราะ AI ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ พิจารณาอยู่นั้น สามารถวิเคราะห์ และแปลเป็น 16 ภาษาได้ทันที

นี่เป็นเพียงมาตรการระยะกลางเท่านั้น ระยะยาวตลาดหลักทรัพย์ฯ อยากจะผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Listing Hub หรือศูนย์กลางการระดมทุนให้กับบริษัทในภูมิภาค รวมถึงบริษัททั่วโลกด้วย

อัสสเดช คงสิริ

ในวันเดียวกันมีการถามถึง Negative Surprise ข่าวช็อกตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกลโกงของผู้บริหาร หุ้นขนาดใหญ่ที่ชี้นำตลาด บริษัทขนาดใหญ่ที่มีปัญหาสัมปทาน ฯลฯ แต่ ‘คุณกวาง-อัสสเดช คงสิริ’ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังเชื่อมั่นว่า ตลาดหุ้นไทยยังไปได้อีกไกล

เหตุผลก็เพราะ ภาครัฐเริ่มออกมาตรการต่างๆ มาสนับสนุนธุรกิจ เพื่อให้จีดีพีไทยเติบโตขึ้น เมื่อก่อนเราได้ยินตัวเลขการเติบโตแถวๆ 2.6-3.0% มาโดยตลอด แต่วันนี้รัฐบาลเริ่มพูดถึงเป้าหมายที่จะทำให้ได้ 3.5-4.5% แล้ว ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยแข็งแรงแน่นอน…

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า