SHARE

คัดลอกแล้ว

 

เมื่อแม่น้ำกก เต็มไปด้วย ‘สารหนู – ตะกั่ว’ ไทยแก้ยังไงกับมลพิษข้ามพรมแดน จากเหมืองแร่ในเมียนมา

“สงกรานต์นี้ จะเล่นน้ำที่ไหน?”

เมื่อน้ำกก ไม่อาจใช่สวรรค์ของนักเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้

ปกติทุกฤดูร้อน สะพานท่าตอน และแม่น้ำกก จะเต็มไปด้วยผู้คน เป็นหนึ่งในสะพานยอดฮิตทุกเทศกาล ของคนในพื้นที่ เริ่มตั้งแต่ต้นปีด้วยสงกรานต์ และจบปีด้วยงานลอยกระทง ทำให้สะพานท่าตอนเป็นจุดร่วมผู้คน และวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

แต่สงกรานต์ปีนี้อาจจะต้องถามกันอีกครั้งว่า ‘สะพานท่าตอน’ ไปจนถึงพระธาตุสบฝาง จะลงเล่นน้ำได้ไหม?

“ตอนนี้ปิดแล้ว ติดป้ายห้ามลงเล่น” พัฒนพงศ์ อินทะนะ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านร่มไทย ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ หมู่บ้านต้นน้ำของแม่น้ำกกในไทยที่ไหลมาจากเมียนมา แม่น้ำสายเดียวที่ไหลย้อนขึ้นเหนือ ก่อนที่จะไหลลงรวมเป็นแม่น้ำโขง ตรงปากน้ำเชียงราย

หลังจาก วันที่ 4 เมษายน 2568 สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 เชียงใหม่ หรือ สคพ.1 เผย ตรวจพบสารหนู ในแม่น้ำกก สูงเกินค่ามาตรฐานเท่าตัว และมีความเชื่อมโยงกับการทำเหมืองแร่ทองคำ ที่ต้นแม่น้ำกก ประเทศเมียนมา 

แม่น้ำกกสายนี้ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนทุกเส้นโค้งที่ไหลผ่าน เป็นแหล่งน้ำสำคัญของหมู่บ้านเล็กๆ จำนวนมาก ทั้งในจังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ ด้วยความยาวในไทย 130 กิโลเมตร และยาว 285 กิโลเมตรรวมทั้งหมด นับจากต้นกำเนิดทิวเขาแดนลาวและทิวเขาผีปันน้ำ ของตอนเหนือเมืองกก จังหวัดเชียงตุง เขตรัฐฉาน ถึงน้ำโขงเชียงราย

“ความน่ากังวลที่สุดก็คือ มันอยู่ในแหล่งน้ำดิบผลิตปะปา ทั้งของการปะปาส่วนภูมิภาค จังหวัดเชียงราย ซึ่งใช้กันหลายพื้นที่ อย่างน้อยมีผู้ใช้ทั้งหมด 40,000 ครอบครัวในจังหวัดเชียงราย แล้วไหนจะปะปาหมู่บ้าน ปะปาท้องถิ่นที่อาจจะมีระบบบำบัด และการรับมือกับคุณภาพน้ำแบบนี้ไม่ได้” เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ International Rivers ให้ความเห็นในฐานะ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย

การตรวจพบสารตะกั่ว เริ่มจากที่ประชาชนสังเกตุเห็นน้ำกกเปลี่ยนสี ที่ปกติช่วงฤดูแล้งแบบนี้น้ำควรจะใส แต่กลับกลายเป็นหน้าแล้งปีนี้น้ำเปลี่ยนเป็นสีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จนมีการเรียกร้องหน่วยงานรัฐในพื้นที่ให้ช่วยตรวจสอบ จนได้ผลออกมาว่า ความขุ่นของแม่น้ำเกินค่ามาตรฐาน 8-9 เท่า ที่แหล่งน้ำปกติควรมีค่าความขุ่นไม่เกิน เกิน 100 NTU แต่กลับพบว่า ค่าความขุ่นสูงในจุดที่ 1 ที่ติดชายแดนไทย-พม่า อยู่ที่ 988 NTU ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ พืช และระบบนิเวศ

“ที่บ้านท่าตอน ที่น้ำกกตอนนี้เงียบ เพราะห้ามลงเล่น ติดป้ายแล้ว จนกว่าจะพิสูจน์ได้ วันนี้ (9 เมษายน 2568 วันที่สัมภาษณ์) หน่วยราชการก็มาตรวจเรื่องน้ำ ตามริมน้ำกกที่ชาวบ้านใช้น้ำปะปาจากน้ำกก มี รพ.สต และโรงพยาบาลมาเจาะเอาน้ำใต้ดินไปตรวจ” ผู้ใหญ่บ้านกล่าว

จากการรายงานของสำนักข่าวชายขอบ ก็ได้ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการลงพื้นที่ ตรวจสอบและเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินในแม่น้ำกก และตรวจวัดไซยาไนด์และโลหะหนัก 10 ชนิด ทั้งหมด 3 จุด เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมาและพบว่าแม่น้ำกกอยู่ในเกณฑ์ “เสื่อมโทรม” ทั้ง 3 จุด พบตะกั่ว(Pd) เกินมาตรฐาน ในจุดที่หนึ่งชายแดนไทย-พม่า หย่อมบ้านแก่งตุ๋ม ซึ่งการปนเปื้อนตะกั่ว มักมีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงาน จากเหมืองแร่ ทำให้การขุ่นของแม่น้ำกกนี้ อาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในเขตต้นน้ำ อย่างการทำเหมืองแร่ทองคำ ในประเทศเมียนมา 

และความอันตรายอีกอย่างจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำครั้งแรกก็คือ ตรวจพบสารหนู (As) เกินมาตรฐาน ทั้ง 3 จุด อยู่ที่ 0.026 ,0.012 และ 0.013 mg/L ตามลำดับโดยที่ค่ามาตรฐานเฉลี่ยที่ไม่ควรเกินอยู่ที่ 0.01 mg/L

โดยที่นอกจากจะมีการรายงานผลตรวจว่าพบสารอันตราย การรายงานของ สคพ.1 ยังได้ระบุด้วยว่า สารหนูมีความเป็นพิษอย่างรุนแรงและเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง หากบริโภคเข้าสู่ร่างกายเกิน 100 มก.สามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ และสามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้ในระยะยาว

ซึ่งหลังการตรวจพบ สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษก็ได้เสอนแนวทางแก้ปัญหาระยะสั้น อย่างการแจ้งเตือนประชาชนเบื้องต้น และให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา ลดระดับความขุ่นและสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก

มาจนถึงตรงนี้ถ้าไม่ใช่คนในพื้นที่ เราคงไม่รู้สึกอะไรมาก น้ำปนเปื้อนก็แค่ห้ามคนลงเล่น แต่กรณีแม่น้ำกกนี้ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะแม่น้ำสายนี้ นอกจากจะเป็นที่รวบรวมวัฒนธรรมและประเพณี แต่วิถีชีวิตและปากท้องของคนในพื้นที่ผูกโยงกับแม่น้ำสายนี้แน่นแฟ้น

“ล่าสุดเห็นผู้ว่าฯ สั่งการว่าห้ามสัมผัส และงดใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรด้วย ซึ่งก็นำมาสู่คำถามว่า แล้วยังไงต่อ จะเอาอะไรใช้ สมมติลงทุนแปลงกระเทียมขนาดใหญ่ แล้วใช้น้ำรดต่อไปไม่ได้ แล้วจะยังไง ต้องมีคำตอบในขั้นต่อๆ ไปด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ห้าม” 

ไผ่ มองว่าการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทำได้ แต่การเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่อาจแก้ได้ภายในวันสองวัน ควรมีนโยบายที่มองเห็นหนทางในอนาคตมากกว่านี้ ซึ่งแม่น้ำกกเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการทำเกษตร น้ำกกจะถูกสูบเพื่อรดน้ำพืชผลิตทางการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกมันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน มะม่วง พริก หอมแดง และกระเทียม

และความอันตรายจึงไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับปลาในน้ำ หรือ ผู้คนที่ลงเล่นเท่านั้น แต่ผลิตทางการเกษตรเหล่านี้ที่เติบโดตด้วยแม่น้ำกกนี้จะปลอดภัยหรือเปล่า ไม่มีอะไรรับประกันได้ ทำให้นักวิชาการบางคน ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ‘ตรวจน้ำไม่พอ ต้องตรวจเลือดชาวบ้าน’ ด้วย 

อาจจะดูเหมือนเล่นใหญ่ เราอาจจะรู้สึกว่าต้องถึงขึ้นนี้เลยเหรอ? แต่ปัญหานี้กลับเป็นปัญหาที่ไม่สามารถให้หน่วยงานท้องถิ่นแก้กันเองได้ เพราะการจะแก้ปัญหานี้ได้คือ การแก้ไขต้นตอ ต้องแก้ที่สาเหตุของมลพิษข้ามพรมแดน ที่มีความซับซ้อนมากกว่านั้น ซึ่งไทยมีหรือเปล่าสำหรับอำนาจรัฐในการเจราจาต่อรอง?

“มันเป็นปัญหาที่มากกว่าแค่ระดับท้องที่จะคุยกัน ทำอย่างไรที่รัฐบาลจะเห็นว่านี้เป็นปัญหา และนำไปสู่การหาทางออก โดยเฉพาะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ชายแดนที่มีความซับซ้อนกว่านั้น รัฐบาลทหารพม่าจะมีอำนาจสั่งการพื้นที่นี้ได้มั้ย เพราะพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่กองกำลังว้า ซึ่งมันมีความซับซ้อนมากกว่านั้น” เพียงพรกล่าว

แล้วแน่ใจได้อย่างไรว่า เหนือพื้นที่ขึ้นไทยไป ต้นน้ำกกมีการทำเหมืองแร่ทองคำจริง?

ย้อนกลับไปช่วงเดือนต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation-SHRF) หรือ SHRF ได้ออกมาระบุว่า มีการขยายพื้นที่ทำเหมืองทองคำบริเวณภาคตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นสาเหตุของ แม่น้ำที่แม่สายกลายเป็นสีข่าวขุ่น ซึ่งเคยเป็นข่าวไปแล้วเช่นกัน

และยังได้มีการระบุว่า  ช่วงปลายปี 2565 กองทัพสหรัฐว้า อนุญาตให้คนงานเหมืองของจีนหลายพันคนเริ่มทำเหมืองโดยใช้เครื่องจักรกลตามริมฝั่งแม่น้ำสายในเมืองกาน มีการสกัดภูเขาและมีการปรับสภาพดินผืนใหญ่ให้กลายเป็นหนองน้ำเพื่อสกัดแร่ทองคำ ปล่อยให้น้ำเสียไหลลงไปสู่แม่น้ำโดยตรง (อ้างอิงจาก สำนักข่าวชายขอบ)

และจากการติดตามอย่างต่อเนื่องของ ThaiPBS ภาคเหนือ ก็เคยมีการรายงานว่า มีการทำเหมืองแร่กระจายอย่างน้อย 6 จุด ที่บริเวณต้นน้ำสาย 

ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของแม่น้ำ น้ำกก แล น้ำสาย ก่อนไหลเข้าไทยทั้ง 2 เส้นผ่านจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายก่อนลงสู่แม่น้ำโขง

[ ต้องรอให้มีคนเสี่ยงชีวิตก่อนถึงจะเป็นข่าว กับมลพิษข้ามพรมแดนที่ขยายจากอากาศ มาสู่น้ำ และผืนดิน]

ระหว่างเขียนบทความ ยิ่งค้น ยิ่งสืบ ก็ยิ่งพบว่าปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเฉพาะหน้า เหมือนวิธีการรับมือกับปัญหาในตอนนี้ แต่นี้คือปัญหาเรื้อรัง ที่หากไม่ตรวจพบว่าอันตรายกับมนุษย์ อย่างการตรวจพบสารหนูและตะกั่วก็จะไม่มีใครสนใจ

ก่อนหน้านี้ วันที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา ชาวบ้านกว่า 700 คน ใน ต.ท่าตอน รวมตัวกันเดินเรียกร้อง ว่าพวกเขสได้รับผลกระทบจากการขุดเหมืองและการตัดไม้ทำลายป่าข้ามพรมแดนริมแม่น้ำกกในรัฐฉานทางตะวันออก ที่ห่างออกไปเพียงแค่ 30 กิโลเมตร เหนือน้ำกก ซึ่งเป็นสาเหตุของน้ำท่วมใหญ่ช่วงเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา

ทำให้เรารู้ว่าปัญหาการตรวจพบสารหนูและตะกั่วเป็นอีกแค่ปรากฎหารณ์หนึ่งของผลกระทบที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ และประเด็นนี้ก็คือ การสร้างมลพิษข้ามพรมแดน อีกรูปแบบหนึ่งที่ก่อนหน้านี้เราคุ้นชินกันดี กับแค่ PM2.5 ที่ตอนนี้ก็ยังแก้ไม่ได้

และดูเหมือนปัญหานี้จะเป็นสิ่งที่รัฐบาลรับรู้อยู่แล้ว จากการรายงานของ ThaiPBS วันที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมา ระบุว่า การการลงพื้นที่ของรัฐบาล ทั้ง นายภูมิธรรม เวชยธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ที่ลงพื้นที่เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2567 หลังจากเกิดพายุยางิ จนทำให้เกิดน้ำท่วมจังหวัดเชียงรายจากดินโคลน และอุทกภัยข้ามพรมแดน

Thai PBS ได้สอบถามเกี่ยวกับประเด็นเหมืองแร่ต้นน้ำสายกับแม่น้ำกก และได้รับการตอบกลับว่า “ดินโคลนที่มาจากเหมืองในดินแดนพม่า ต้องเจรจา เพราะเป็นสิทธิในอาณาเขตของเขา”

เช่นเดียวกันกับ นายกฯ แพทองธารที่ทีมข่าว ThaiPBS ก็ได้สอบถามเกี่ยวกับเหมืองทองคำในเมียนมา ขณะที่นายกฯ ลงพื้นที่ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมในปีที่ผ่านมา และได้คำตอบว่า ‘อยู่ระหว่างการเจรจาความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ที่เป็นกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงกับจีน หาทางออกและติดตั้งระบบเตือนภัย 5 จุด’ ซึ่งชัดเจนว่ารัฐบาลรู้ปัญหานี้อยู่แล้ว แต่คำตอบที่ได้ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ทำให้คนในพื้นที่ไว้วางใจมากพอ ว่านี่หรือคือแนวทางการแก้ปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน

“ถ้าเห็นว่าประชาชนกำลังเดือดร้อนอยู่ กำลังอาบน้ำสกปรก เอาน้ำปนเปื้อน รดผัก กระเทียม หรือนาข้าว แปรงฟัน ใช้กันทุกวัน คุณต้องแก้ปัญหา ถ้าคุณเป็นรัฐบาลจริงๆ ทำไมมันจะแก้ไม่ได้ ต้องแก้ได้สิ เพียงแต่ตระหนักถึงปัญหานี้ได้หรือไม่”

เพียงพรแสดงความคิดเห็นในฐานะที่เป็นคนหนึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำกก-น้ำสาย และแสดงความเป็นห่วงว่าปัญหานี้ไจะไม่จบลงง่ายๆ หากยังปล่อยให้ท้องถิ่นตัวเล็กๆ แก้ปัญหากันอยู่อย่างนี้ เพราะนี้คือ ปัญหาที่เกิดจาก ‘ลำน้ำข้ามพรมแดน’ พร้อมกับเชื่อมโยงให้เห็นประเด็นที่สำคัญมากๆ อีกประเด็นหนึ่ง คือ….

การไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเราได้เช่นกัน

“หลายๆ ครั้งที่เรามองว่า ประเทศพื้นบ้านก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรา เป็นกิจการภายในของเขา สุดท้ายกรณีนี้ เป็นกรณีที่สะท้อนได้อย่างชัดเจนเลยว่า ความไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลกระทบโดยตรงเลยกับคุณภาพชีวิตของเรา นี่เป็นครั้งที่สองแล้ว ก่อนหน้านี้เราเห็นหมอกควัน หมอกพิษ pm2.5 ล้อมจังหวัดเชียงรายอย่างหนักเลย เพราะเชียงรายเขาห้ามเผาเด็ดขาด แต่ปรากฎว่า ประเทศเพื่อนบ้านจุดเผาแดงเลย ในขณะที่เราแทบจะไม่มีเผาเลย แต่เราก็โดนฝุ่นพิษเต็มๆ”

 “พี่โกรธมาก ที่เห็นประเทศเราต้อนรับเผด็จการทหาร จับมือ เชิญไปกินข้าว” ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นต่อ การต้อนรับ มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพเมียนมาและประธานสภาบริหารแห่งรัฐ หรือ เอสเอซี (State Administration Council – SAC) ที่ได้เดินทางมายังประเทศงไทยเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา

ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดี จากรัฐบาลไทย พร้อมออกตัวร่วมสร้างสันติภาพ ที่ความเป็นจริงในวันนี้ การจับมือกับรัฐบาลทหารเมียนมา ของรัฐบาลไทย อาจไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและคุณภาพชีวิตที่เสื่อมโทรมลงของประชาชนได้เลย

อ้างอิงเพิ่มเติม

https://epo01.pcd.go.th/th/news/detail/181960/

https://www.facebook.com/KowitBoondham/posts/pfbid02EcFqrMykUkrrZyhb2ufL97rCuwap6F9Cqb6p6tYjN99DvhWMNrxnBZwhrz7Tmdu1l

https://www.facebook.com/newstransborder/posts/pfbid0PDTU7ymjVAue6zy5J3kgpnDzFRsTr7Qf745gVm5uXhmcsVCwDV7Fzr4C18oUS2Vql

https://transbordernews.in.th/home/?p=42047

https://transbordernews.in.th/home/?p=42034

Chainarong.stc

https://www.facebook.com/KowitBoondham/posts/pfbid037rr8iV2dHkWQuHCLxju2TrHnu7E7jhUdGVgxUxYZszfweS5RsskpBjFkbCdQuvfSl

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า