SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าแบงก์ชาติห่วง Entertainment Complex อาจทำภาพลักษณ์ประเทศไทยดูหม่นในสายตานักลงทุนโลก ชี้ยุคนี้ ‘ความขาวสะอาด’ กลายเป็นทรัพยากรหายากและทรงคุณค่า พร้อมแนะไทยควรเดินหน้าสู่ Wellness Center รองรับสังคมสูงวัย ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ได้ดีกว่า

‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงความห่วงใยต่อแนวคิดการพัฒนา ‘Entertainment Complex’ ซึ่งรวมถึงกาสิโน โดยชี้ว่าในภาวะที่โลกเผชิญความไม่แน่นอนสูง ‘ความขาวสะอาด’ กลับกลายเป็นจุดแข็งที่หายากและมีมูลค่าสูงขึ้น

‘Blue Space ที่เคยมีเริ่มหมดไป คนกำลังหาสิ่งที่ถูกต้อง โปร่งใส ปลอดภัย ซึ่งยิ่งเป็นพรีเมียมในยุคนี้’ ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว

[ กาสิโนทำประเทศเทา ]

พร้อมอ้างอิงถึงรายงานของ Moody’s ที่ปรับแนวโน้มเครดิตประเทศไทยจาก ‘Stable’ เป็น ‘Negative’ โดยเหตุผลหลักมาจากประเด็นด้านธรรมาภิบาล (Governance) และความน่าเชื่อถือของนโยบายสาธารณะ

‘หาก Entertainment Complex เพิ่มความเทาในภาพลักษณ์ อาจทำให้เสี่ยงในเชิงชื่อเสียง ถ้าให้เลือก ทางที่เหมาะกับบริบทโลกสูงวัยและความโปร่งใส คือการลงทุนใน Wellness Center มากกว่า’ ผู้ว่าฯ เสนอแนวทาง

ในวันเดียวกัน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติยังเปิดเผยสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด โดยชี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วง ‘ชะลอตัวลงสู่จุดต่ำสุด’ และยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน พร้อมประเมินว่า ‘จุดต่ำสุด’ ของภาวะเศรษฐกิจจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงไตรมาส 4 ของปี 2568 และการฟื้นตัวยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร

‘ภาพเศรษฐกิจในตอนนี้เหมือนพายุที่ยังไม่ผ่าน… เรือจะแล่นด้วยความเร็วเท่าเดิมไม่ได้ ต้องชะลอ ควบคุมให้ความเสียหายเบาบางที่สุด และเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อลมสงบ’ ผู้ว่าแบงก์ชาติกล่าว

[ พร้อมลดดอกเบี้ยเพิ่ม ]

ผู้ว่า ธปท. เน้นย้ำว่า ธปท. ‘พร้อมจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม’ หากสถานการณ์เศรษฐกิจเลวร้ายเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สองครั้งติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นระดับที่ ‘เหมาะสม’ กับสถานการณ์ปัจจุบัน

แต่หาก ‘แรงกระแทก’ จากเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะความไม่แน่นอนจากสงครามการค้า รุนแรงกว่าคาด ธปท. ก็พร้อมจะ ‘ดำเนินการเพิ่มเติม’ อย่างรอบคอบ

‘ลูกกระสุนเรามีไม่มาก ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง แต่หากต้องใช้… เราไม่ลังเล’

ทั้งนี้ ยังมีกรรมการ กนง. บางรายแสดงความกังวลถึง ‘พื้นที่นโยบาย’ (Policy Space) ที่เหลือไม่มากนัก พร้อมเตือนว่าประสิทธิภาพของการลดดอกเบี้ยอาจลดลงในการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบถัดไป หากไม่มีมาตรการเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ

[ ช็อกครั้งนี้ไม่ลึกเท่าอดีต ]

แม้ผู้ว่าการ ธปท. มองว่าผลกระทบจากสถานการณ์ครั้งนี้จะ ‘ไม่รุนแรง’ เท่าในช่วงวิกฤตปี 2008 หรือโควิด-19 (ซึ่ง GDP หดตัวถึงระดับ 13%) แต่ความกังวลหลักอยู่ที่ ‘ความยืดเยื้อ’ และ ‘ความยากในการฟื้นตัว’

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเปลี่ยนแปลงจาก ‘สงครามการค้า’ ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ไม่เพียงกระทบต่อการค้าโลก แต่ยังส่งผลต่อโครงสร้างการผลิตและการส่งออกของไทยในระยะยาว ซึ่งจะทำให้ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (Potential Growth Rate) ลดลงต่ำกว่า 3% หากไม่มีการปรับตัว

‘ประเทศเราพึ่งพาการส่งออกสูง ถ้าไม่ปรับตัว เศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่ำกว่าที่ควรจะเป็นแน่นอน’ ผู้ว่าฯ ระบุ

[ นโยบายต้องไม่ปูพรม ]

มาตรการที่ ธปท. จะนำมาใช้ในระยะต่อไป จะไม่ใช่การ ‘ปูพรม’ แบบแจกทั่วถึง แต่จะเลือกเจาะจงกลุ่มเป้าหมายตามผลกระทบที่แตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน เช่น

• เซกเตอร์อิเล็กทรอนิกส์: ส่งออกสูงถึง 70% แต่บริษัทต่างชาติเยอะ หากไม่มีแรงจูงใจอาจย้ายฐานการผลิต

• เซกเตอร์อาหารแปรรูป: มี Local Content สูง เชื่อมโยงกับเกษตรกรไทย การย้ายฐานทำได้ยาก ต้องการการสนับสนุนเฉพาะทาง

• เซกเตอร์สิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม: SMEs ขนาดเล็กกว่า 120,000 ราย จ้างงานกว่า 400,000 คน กำลังเสี่ยงหนักจาก “สินค้าทะลัก” เข้าประเทศ ต้องมีมาตรการป้องกัน (เช่น Anti-dumping)

‘เซกเตอร์ไหนเปราะบาง ก็ต้องใช้เครื่องมือที่ตรงกับจุดนั้น อย่าคิดว่าทุกคนต้องการความช่วยเหลือแบบเดียวกัน’ ผู้ว่าฯ ย้ำ

[ ดูแลตลาดเงินใกล้ชิด ]

ธปท. ยังจับตาสถานการณ์ในตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และกระแสเงินทุนไหลเข้าทองคำ โดยผู้ว่า ธปท. ชี้ว่า ‘เงินบาทมีความสัมพันธ์กับราคาทองคำสูงมาก’

‘เราไม่ fix ค่าเงิน แต่จะไม่ปล่อยให้มันเคลื่อนไหวเร็วหรือแรงเกินไป หากไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน เช่น การเก็งกำไร เราจะเข้าไปดูแล’

แม้ภาพเศรษฐกิจจะดูหม่นหมองจากหลายปัจจัยสะสม ทั้งโควิด ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือน SMEs เปราะบาง ไปจนถึงความกังวลด้านความปลอดภัยในภาคท่องเที่ยว แต่ผู้ว่า ธปท. ยังเชื่อว่า ‘เราจะผ่านพ้นไปได้’ หากสามารถใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสในการปรับตัว

‘ถ้าปรับตัวได้ Potential Growth ของเราก็ยังโตได้ดีกว่าเก่า… แต่ต้องทำวันนี้ ไม่รอให้พายุผ่านไปก่อน’ ผู้ว่าฯ กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า