SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลุ่มสหภาพแรงงาน ย่านรังสิตและใกล้เคียง นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายต่อตัวแทนพรรคการเมือง 6 พรรค ณ ร้านอาหารโคเซ่เรสเตอร์รองท์ ซ.คลองหลวง 17 (ซอยไวท์เฮ้าท์) ถ.พหลโยธิน อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่ ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เกียรติศักดิ์ ส่องแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต 5 พรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการประทรวงแรงงาน วรวีร์ มะกูดี รองหัวหน้าพรรคประชาชาติ สุนทร บุญยอด กรรมการบริการพรรคอนาคตใหม่ (ปีกแรงงาน) เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรคสามัญชน เสน่ห์ หงษ์ทอง กรรมการบริหารพรรคสังคมประชาธิปไตยไทย และชัยพร จันทนา ตัวแทนจากพรรคพลังพลเมืองไทย และนายประเมืองวุฒิ ลิ้มรสสุคนธ์ จากพรรคเพื่อชาติ

การเสวนาภายในงานเริ่มจากตัวแทนจากกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง ประกาศข้อเสนอของแรงงานต่อพรรคการเมือง โดยแยกออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ด้านการทำงาน สุขภาพ ชีวิตหลังเกษียณ การรวมตัวของแรงงาน เศรษฐกิจและการเมือง

——

ในด้านการทำงาน

  • โครงสร้างค่าจ้างควรเป็นไปตามหลักการของปฏิญญาสากลขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ที่คนทำงานเพียงคนเดียวต้องเพียงพอแก่การเลี้ยงชีพได้ 3 คน
  • ลดชั่วโมงทำงานปกติลง 2 ชั่วโมงทุกประเภทงานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตคนงาน จากที่ปัจจุบันมีการจ้างงานแบบทั้ง 8 ชั่วโมงและ 7 ชั่วโมงโดยชี้ว่าเป็นมาตรฐานที่หลาย ๆ ประเทศได้ทำกันแล้ว
  • ควรเพิ่มวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากปกติอยู่ที่ 6 วันให้เป็น 15 วันและวันหยุดประจำปีควรเพิ่มตามอายุงาน
  • ความปลอดภัยต้องเป็นศูนย์ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีคนตาย ตามที่เคยมีนโยบาย Zero Accident นอกจากนี้กฎหมายความปลอดภัยในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ควรมีการจัดจ้างพนักงานด้านความปลอดภัยจากทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง เนื่องจากการจัดจ้างจากฝ่ายนายจ้างจะทำให้การตรวจความปลอดภัยไม่เข้มงวดเพียงพอ นอกจากนี้ยังควรมีการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่สวัสดิการแรงงาน และสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ต้องรับความผิดอาญาหากตรวจสอบโดยประมาทเลินเล่อจนเกิดอุบัติเหนุ คล้าย ๆ กับความรับผิดรับชอบของวิศวกร
  • ให้มีการยกเลิกเหมาค่าแรง (Sub-contract) โดยให้บรรจุพนักงานเหล่านั้นเป็นพนักงานประจำไปเลย
  • ยกเลิกการจ้างงานพนักงานแบบรายวัน เช่น การจ้างงาน 4วันต่อสัปดาห์และให้หยุด 2 วัน ซึ่งทำให้มีรายได้ต่อเดือนไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพจนต้องทำโอทีเกินจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ด้านสุขภาพ

  • ให้การตรวจสุขภาพเป็นบริการฟรีเพื่อป้องกันความเจ็บไข้ตั้งแต่ต้นทาง

ด้านชีวิตหลังวัยเกษียณ

  • ให้ลูกจ้างที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถขอเกษียณก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการกำหนดอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้นเป็นวัยที่มากเกินไปสำหรับงานแรงงาน
  • การจ่ายเงินบำนาญ ควรไม่ต่ำกว่า 50% ของค่าจ้างเดือนสุดท้าย
  • ควรมีพื้นที่รองรับผู้สูงอายุบริเวณใกล้บ้านอย่างทั่วถึง มีเจ้าหน้าที่พยาบาล จากปัจจุบันมีไม่กี่แห่งและห่างไกลจากภูมิลำเนา

ด้านการรวมตัวของแรงงาน

  • รัฐควรรับสัตยาบรรณอนุสัญญา ขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO)  ฉบับ ที่ ๘๓ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน ค.ศ. ๑๔๘ และอนุสัญญาฉบับที่ ๕๔ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวกันและร่วมเจรจาต่อรอง ค.ศ. ๑๕๔๕

ด้านเศรษฐกิจ

  • ปัจจุบันแรงงานถูกอยแพหลายครั้ง มีการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย หรือปดบริษัทหนีไปเลย เสนอว่ารัฐควรมีกองทุนไว้เพื่อจ่ายค่าชดเชยให้แรงงานได้ตามส่วนที่ควรได้จริง
  • เสนอให้ยกเลิกการลดหย่อนภาษีให้นิติบุคคล ยกเว้นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อนำเงินภาษีส่วนนี้มาใช้ในด้านสวัสดิการปากท้องอย่างมีคุณภาพ
  • เสนอให้ยกเลิกสัมปทานทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้รับเป็นผู้ดำเนินกิจการเองเพื่อหารายได้เข้าประเทศ
  • เสนอให้มีการจัดการคมนาคมฟรี เช่น รถเมล์หรือรถไฟฟรี เพื่อบำรุงคุณภาพชีวิตให้ประชาชนทุกพื้นที่ใช้อย่างเท่าเทียมกัน

ด้านการเมือง

  • คนงานที่เป็นประชากรแฝงควรมีสิทธิเลือกตั้งนักการเมืองระดับชาติในเขตการเลือกตั้งที่ตนเองทำงานเพื่อให้มีอำนาจต่อรองกับนักการเมืองในท้องที่และสถานประกอบการที่ตนเองสังกัดอยู่
  • ปัญหาการรัฐประหารทำให้ผู้นำแรงงานถูกละเมิดหลายครั้งจนส่งผลกระทบต่อชีวิตและร่างกาย กลุ่มแรงงานจึงเสนอห้ามนิรโทษกรรมให้ผู้ทำรัฐประหาร

ศรีไพร นนทรี สมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงาน ย่านรังสิตและใกล้เคียงกล่าวว่า “ถ้าคนจะกลับไปเลือกตั้งก็เป้นเรื่องยากมากสำหรับผู้ใช้แรงาน ดังนั้นเราขอให้แรงงานได้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตพท้นที่พักอาศัยจริงหรือพื้นที่ที่ทำงาน ถ้าเลือกตั้งในพื้นที่ที่ทำงานหรือพื้นที่การศึกษาแทนภูมิลำเนาเดิมได้ก็จะดีมาก สมมติว่าอยู่ในนวนครก็เลือกตั้งที่นวนครหรือรังสิตก็เลือกตั้งในโรงงานที่รังสิต อันนี้จะทำให้เราได้มีตัวแทนของเราจริง ๆ”

หลังจากนั้นตัวแทนพรรคการเมืองได้กล่าวถึงความสอดคล้องของนโยบายแรงงานของพรรคต่อข้อเสนอที่สภาพแรงงานฯ ได้ยื่นมา ดังนี้

พรรคเพื่อไทย

  • นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งลดาวัลลิ์ โฆษกพรรคยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องฟังเสียงนายจ้างด้วย
  • นอกจากนี้ก็มีนโยบายเงินสงเคราะห์บุตร โดยพรรคเพือไทยคิดว่าควรมี 1,200 บาทเป็นขั้นต่ำและให้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเด็กอายุถึง 8 ขวบ
  • ให้มีนโยบาย Zero Accident โดยจะมีมาตรการลงดาบผู้รับผิดชอบการตรวจสอบด้านความปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุอันเกิดจากการปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่ขึ้น
  • เรื่องสุขภาพนั้นสอดคล้องกับนโยบาย 30 บาทของพรรคเพื่อไทยที่กำลังจะยบกระดับขึ้นมาและจะมีการตรวจสุขภาพฟรีเพื่อที่จะได้รู้และรักษาโดยเร็ว
  • ในด้านอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่รับรอง สิทธิคนงานในการตั้งสหภาพแรงงานและคุ้มครองคนงานไม่เลือกหน้า ปัจจุบันมีแค่บางประเทศที่ไม่รับรอง แต่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายจะพิจารณาเรื่องนี้ เนื่องจากให้สิทธิในการรวมตัวและคุ้มครองการรวมตัวของคนานนั้นไม่ได้เสียหายอะไรเลย
  • จะมีการปรับโครงสร้างภาษี ให้ผู้เสียภาษีน้อยลง เพื่อจูงใจให้คนที่กลัวการเสียภาษีหันมาเสียภาษีกันให้เยอะ
  • ให้มีกองทุนสำหรับผู้ที่จะเปลี่ยนงาน โดยร่วมมือกับนายจ้างเตรียมงานเตรียมอาขีพให้พนักงานที่กำลังจะโดนหุ่นยนต์มาแทนที่
  • อาชีวะจะไม่ตกงานโดยสาขาใดที่ขาดแคลนจะมีทุนฟรี
  • มีกองทุนสร้างเนื้อสร้างตัวสำหรับคนรุ่นใหม่ เรียกว่า “กองทุนเถ้าแก่ใหม่”
  • กองทุนประกันสังคม จะมีการขยายการลงทุนนอกกรอบเพื่อนำกำไรมาต่อยอดการเพิ่มเงินอุดหนุน
  • สานต่อโครงการรถเมล์รถไฟฟรี

 

พรรคประชาธิปัตย์

  • จัดทําแผนแม่บทการผลิตและจัดหากําลังแรงงาน ให้ตรงกับความต้องการของภาคการผลิตในประเทศ
  • ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองแรงงาน โดยปรับอัตราค่าจ้างด้วยการประกันรายได้ ยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์สากล
  • กําหนดสิทธิลาคลอดแก่มารดาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 เดือน และให้สิทธิบิดาลาหยุดเพื่อร่วมดูแลบุตรเป็นระยะเวลา ๑ เดือน ส่งเสริมให้มีศูนย์เด็กเล็กคุณภาพในสถานประกอบการ
  • ดําเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย
  • พัฒนาการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ และจัดเก็บฐานข้อมูลกลุ่มแรงงานนอกระบบอย่างละเอียด
  • ขยายสิทธิและสวัสดิการของแรงงานนอกระบบ
  • การอํานวยความสะดวกและการจัดระบบการจ้างงานแรงงานข้ามชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต
  • ส่งเสริมการมีงานทําของผู้สูงอายุและคนพิการ
  • พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
  • ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ปฏิรูประบบประกันสังคม ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส ขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนใ
  • ปรับปรุงระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทํางานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน และคุ้มครองผู้ดําเนินการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
  • สนับสนุนการจ้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีโดย คํานึงถึงการเปิดตลาดแรงงานวิชาชีพในกรอบอาเซียน

พรรคประชาชาติ

  • แรงงานต้องมีสิทธิได้รับการประกันด้านความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน
  • ต้องมีหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นจากการทำงานไปแล้ว
  • ส่งเสริมให้ประชากรได้มีงานทำ ขจัดการว่างงาน
  • พัฒนาทักษะแรงงานและการประกอบอาชีพ
  • จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ตลอดจนระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน
  • จัดระบบประกันสังคม
  • คุ้มครองให้ผู้ทำงานมีคุณค่า ได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ สวัสดิการที่เป็นธรรม

 

สังคมประชาธิปไตยไทย

  • พรรคจะดําเนินการให้เกิดความเสมอภาคในการจ้างงาน ป้องกันนายจ้างเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน โดยไม่เป็นธรรม หากลูกจ้างทํางานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันหรืองานที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ให้ได้รับสภาพการจ้างอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันทุกเพศสภาพ
  • ปรับปรุงกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ มิให้นายจ้างยื่นที่เรียกร้องลดค่าใช้จ้างสวัสดิการจากลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
  • สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ให้สิทธิในการต่อรองตามที่มีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(
  • สนับสนุนให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำและโครงสร้างอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมรวมทั้งปรับปรุง เงินเดือนข้าราชการและเงินเดือนพนักงานรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของภาวะค่าครองชีพที่ สูงขึ้น เพื่อให้เพียงพอในการดํารงชีพ โดยจากงานวิจัยค่าดำรงชีพอยู่ที่ 710 บาท
  • ปรับปรุงสถานะของสํานักงานประกันสังคม จากหน่วยงานราชการให้เป็น “องค์การมหาชน”
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสถานเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนในสถานประกอบการหรือชุมชน พื้นที่ที่มีครอบครัวคนงานจํานวนมาก โดยไม่คิดค่าบริการ ให้รัฐหรือท้องถิ่นเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยทํางานมีงานทํา
  • คุ้มครองแรงงานเด็ก สตรี แรงงานภาคการเกษตรและแรงงานข้ามชาติ
  • จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ และระบบไตรภาคี จัดระบบ ประกันสังคมใหม่ โดยออกกฎหมายให้คุ้มครองไปถึงแรงงานนอกระบบ แรงงานภาคเกษตรกรรม
  • คุ้มครองความปลอดภัยในการทํางานตามมาตรฐานสากล
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มสิทธิประโยชน์จากกฎหมายประกันสังคม โดยฝ่ายรัฐบาลต้อง จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเดียวกันกับฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง และ
  • ลาคลอดการการเลี้ยงดูบุตรออกไม่น้อยกว่า 180 วัน โดยได้รับค่าจ้างเต็มจํานวน
  • ขยายขอบข่ายการให้สิทธิสวัสดิการให้ถึงแรงงานนอกระบบ

 

อนาคตใหม่

  • ผลักดันให้ออกพ.ร.บ.ที่กำหนดให้ขึ้นค่าจ้างตามอายุงาน โดยกำหนดขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 450 บาท
  • ลดเวลาทำงานเหลือสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง
  • เพิ่มค่าล่วงเวลา จากที่เพิ่มจากค่าแรงปกติ 1.5 เท่า เป็น เพิ่มจากค่าแรงปกติ 2 เท่า
  • มีโครงการสวัสดิการถ้วนหน้าตั้งแต่เกิดจนตายเพื่อรองรับการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ โดยนำรายได้จากการลดงดกองทัพ และยกเลิกการลดหย่อนภาษี
  • ยกเลิกการจ้างพนักงานรายวัน ในสถานประกอบการที่มีการจ้างพนักงานรายเดือน เว้นแต่เป็นการจ้างเดือนละไม่เกิน 10 วัน งานประเภทเดียวกันต้องได้รับค่าจ้างและสัญญาที่มีเงื่อนไขเหมือนกัน
  • ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ภายใน 3 เดือนหากได้เป็นรัฐบาล
  • ผลักดันให้แรงงานใช้สิทธิเลือกผู้แทนราษฎรจากเขตที่ตนทำงานแทนการเลือกจากภูมิลำเนา
  • ตั้งสภาแรงงานและสวัสดิการ โดยให้มีสถานะเทียบเท่าพ.ร.บ.หอการค้า ผลิตทนายความเพื่อไปประจำทุกจังหวัด ทำคดีความให้ผู้ใช้แรงงานฟรี

 

สามัญชน

  • ให้ค่าจ้างขั้นต่ำมีสถานะเป็นค่าจ้างแรกเข้าเท่านั้น ไม่ใช่ค่าจ้างตลอดชีวิต ต้องมีการปรับเพิ่มตามอายุงานเสมอ โดยเสนอว่าควรเริ่มต้นที่ 500 บาท
  • แก้กฎหมายให้คนงานแบบเหมาช่วงสามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้
  • ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 89 และ 98 คุ้มครองสิทธิในการตั้งสหภาพและรวมตัวต่อรองของพนักงาน
  • สนับสนุนสวัสดกิารเด็กและทารก โดยให้พ่อและแม่ลาคลอดได้ 365 วัน ให้พ่อและเพศสภาพอื่น ๆ ลาคลอดได้ด้วยเพื่อช่วยกันเลี้ยงลูก
  • ปรับสัดส่วนคณะกรรมการค่าจ้างให้เสยงของแรงงานสมดุลกับเสียงของนายจ้างและข้าราชการ

 

พรรคเพื่อชาติ

  • ชูนโยบายเกษตรกรมเพื่อรองรับแรงงานกลับบ้าน

 

พรรคพลังพลเมืองไทย

  • ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเร่งด่วนตามค่าครองชีพและความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์
  • ดึงกองทุนเงินทดแทนมาสร้างความปลอดภัยในการทำงานให้ผู้ใช้แรงงาน เช่น ปรับปรุงสถานที่หรือจัดการอบรม

 

ชมการถ่ายทอดสดการพูดคุยเต็ม  ๆ ได้ที่นี่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า