SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 23 พ.ค. 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. และพญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษก ศบค. ร่วมกันแถลงข่าวการรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวมีการเรียกรับหัวคิวจากโรงแรมเพื่อใช้กักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ หากโรงแรมยอมจ่ายเงินค่าดำเนินการให้ในอัตรา 40% ของค่าหัวที่รัฐจ่ายให้รายละ 1,000 บาทต่อวัน ยืนยันว่าไม่เคยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้ ไม่มีการรับส่วนต่างใดๆ ทั้งสิ้น ฝากให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั่วประเทศหากพบกลุ่มบุคคลที่ไปแอบอ้างขอให้แจ้งความดำเนินคดีได้ทันที

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ตอนนี้มีผู้ประกอบการโรงแรมอีกหลายรายที่จะมาเข้าร่วมเป็น State Quarantine เปิดใหม่เพิ่มเติม โดยที่จะมีหลากหลายรูปแบบให้ผู้ที่มีกำลังทรัพย์ที่เดินทางกลับมาจากต่างแดนพักระหว่างกักตัว 14 วันโดยจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติม หรือเรียกสถานที่ทางเลือกเหล่านี้ว่า Alternative State Quarantine โรงแรมทั้งหลายที่เข้ามาต้องขอขอบพระคุณที่เป็นส่วนหนึ่งในการที่ได้ดูแลพี่น้องประชาชนคนไทย เราก็ซึ้งใจอย่างมากอยู่แล้วจะไม่มีการไปเอารัดเอาเปรียบใดๆ ทั้งสิ้น

จากนั้น พญ.พรรณประภา แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ว่า วันนี้มีรายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 3 ราย รักษาหายเพิ่มขึ้น 6 ราย รวมกลับบ้านแล้ว 2,916 ราย ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล 68 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ยอดผู้เสียชีวิตยังคงที่ 56 ศพ

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย
1. ชายชาวอิตาลี อายุ 49 ปี อาศัยอยู่ จ.ภูเก็ต เข้ารับการตรวจหาเชื้อเมื่อ 22 พ.ค.63 ไม่แสดงอาการ

2. ชายไทย อายุ 24 ปี เป็นนักศึกษาเดินทางกลับจากประเทศอียิปต์ เมื่อ 8 พ.ค.63 เข้า State Quarantine จ.สระบุรี เริ่มมีอาการป่วยและตรวจพบเชื้อวันที่ 20 พ.ค.63

3. หญิงไทย อายุ 43 ปี กลับจากอินเดีย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.63 เข้า State Quarantine จ.ชลบุรี มีอาการไข้ ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้และไม่ได้กลิ่น พร้อมเข้ารับการตรวจหาเชื้อและพบเชื้อในวันที่ 21 พ.ค. 63

สำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่กักตัวที่รัฐกำหนด ตั้งแต่วันที่ ก.พ. – 23 พ.ค.นี้ พบติดเชื้อทั้งหมด 104 คน เป็นชาย 91 คน หญิง 13 คน ส่วนใหญ่พบติดเชื้อหลังกลับมาจากอินโดนีเซีย 65 คน ปากีสถาน 10 คน อียิปต์ 4 คน ผู้ป่วยยืนยันสะสมในช่วง 14 วัน พบปัจจัยเสี่ยงเดินทางมากจากต่างประเทศ 17 คน สัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 10 คน ไปสถานที่ชุมชน 5 คน อาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในที่แออัด 3 คน ค้นหาเชิงรุก 1 คน

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 5.3 ล้านคน เสียชีวิต 3.4 แสนคน สหรัฐฯ พบผู้ป่วยใหม่ 2.4 หมื่นคน สะสม 1.6 ล้านคน เสียชีวิต 9.7 หมื่นคน ส่วนในเอเชียพบอินเดียป่วยเพิ่ม 6.5 พันคน สะสม 1.2 แสนคน ส่วนใหญ่อยู่ในอันดับที่ 73 ของโลก ผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในบราซิลเพิ่มเป็น 20,082 คน โดยผู้ว่าการรัฐส่วนใหญ่ เน้นย้ำให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคม และเพิ่มมาตรการของสถานประกอบการต่างๆ

ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินว่า หัวใจสำคัญในการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินช่วงสถานการณ์โควิด19 คือ การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อในห้องฉุกเฉิน ทั้งจากผู้ป่วยไปสู่ผู้ป่วยและผู้ป่วยไปสู่ผู้ให้บริการ และมีความปลอดภัยสำหรับทุกคน มาตรการ 3 ส่วนสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างเข้มข้น คือ 1.การคัดกรอง ตั้งแต่การซักประวัติอาการป่วย รวมไปถึงประวัติเสี่ยงติดเชื้อโควิด19 ต้องเว้นระยะห่าง ลดความแออัด การจัดคิวอย่างเหมาะสม 2. การจัดระบบบริการที่เหมาะสมทั้งการแต่งกายด้วยชุดป้องกันความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และพื้นที่ที่เหมาะสมเช่น ห้องแยกโรคความดันลบ พื้นที่แยกโรคที่ชัดเจนสำหรับหัตถการละอองฝอยขนาดเล็ก 3.การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความแออัดในการมาโรงพยาบาล การใช้ระบบการให้คำปรึกษาทางไกล (Telemedicine Consult) กับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ร่วมกับระบบการจัดส่งยาและบริการอื่นๆ ถึงบ้าน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความปกติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในการให้บริการทางแพทย์ในช่วงโควิด19ระบาด

กระทรวงสาธารณสุขคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้มารับบริการภายในโรงพยาบาลได้สื่อสารไปยังโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดรูปแบบการให้บริการห้องฉุกเฉินให้มีความปลอดภัยทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และญาติผู้ป่วย และขอย้ำว่าเรื่องการสวมหน้ากาก การคัดกรองประวัติของญาติที่จะมาเยี่ยมไข้ยังเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยถือเป็นความปกติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในชีวิต

ขณะที่ นพ.เฉลิมพล ไชยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์เขตสุขภาพที่ 10 (โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี) กล่าวว่า หัวใจสำคัญของห้องฉุกเฉิน คือ ไม่แออัด มีการเว้นระยะห่าง และระบบความปลอดภัยของบุคลากรและผู้ป่วย การทำงานของห้องฉุกเฉินจะทำงานต่อเนื่องตั้งแต่จุดเกิดเหตุ การรักษาในห้องฉุกเฉินและส่งต่อการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆ บุคลากรต้องปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสม อาทิ การใส่เครื่องช่วยหายใจ การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น (CPR) การส่งต่อผู้ป่วย จะต้องใช้บุคลากรที่จำกัด ทำงานเป็นทีมและปฏิบัติการในพื้นที่ที่เหมาะสมพร้อมอุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อลดขั้นตอนการดูแลผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า