SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – กรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย เดินหน้าพิจารณา 2 ร่างกฎหมายลูก ไม่กังวล นายกฯ สั่งห้ามคว่ำร่างทั้ง 2 ฉบับ ยัน สนช. มีอำนาจพิจารณาหลักเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญ

วันที่ 21 ก.พ. 2561 พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ โฆษกกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่า ไม่กังวลกับการส่งสัญญาณของนายกรัฐมนตรี ที่ห้ามคว่ำร่างกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. เนื่องจาก สนช.มีอำนาจพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญ

สำหรับวันนี้จะพิจารณาในส่วนของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.จะหารือกันต่อเนื่องใน 3 ประเด็น ที่ กรธ.โต้แย้งมา ได้แก่ การลดกลุ่มอาชีพจาก 20 กลุ่ม เหลือ 10 กลุ่ม, การแบ่งผู้สมัครออกเป็น 2 ประเภท และการยกเลิกระบบเลือกไขว้ มาเป็นการเลือกกันเอง ซึ่งกรรมาธิการฯ จะเร่งพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 28 ก.พ.นี้ ตามกรอบเวลา

นายอุดม รัฐอมฤต กรรมาธิการร่วม 3 ฝ่ายพิจารณาร่างกฎหมายลูก ส.ว.ในฐานะตัวแทนฝ่าย กรธ. ยืนยันว่า กรธ.ไม่ได้คิดจะให้ยืนตามร่างเดิมของ กรธ.ทั้งหมด แต่สิ่งที่ กรธ.เป็นห่วง และอาจต้องอภิปรายกันหนัก คือ เรื่องการแบ่งประเภท ส.ว.ออกเป็น 2 ประเภท ที่ให้นิติบุคคลส่งผู้สมัคร กับให้มาสมัครแบบอิสระ ซึ่งจะเป็นการเขียนที่เกินกว่ามาตรา 107 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ ส.ว.มาจากการเลือกกันเอง

ประชุม กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย (ภาพจากทวิตเตอร์ @katchata_peat)

ส่วนคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.จะพิจารณาทบทวนประเด็นการขยายเวลาการลงคะแนนเลือกตั้งจาก 07.00 -17.00 น.ให้มีความเหมาะสม โดยก่อนหน้านี้ ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบไม่ให้มีการจัดมหรสพระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง โดยให้เป็นไปตามร่างเดิมของ กรธ.เนื่องจากเห็นว่าอาจมีผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนประเด็นการตัดสิทธิผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กรรมาธิการร่วมฯ เห็นควรให้คงการตัดสิทธิการได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง และตัดสิทธิการได้รับแต่งตั้งของผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นไว้ตามเดิม แต่ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปปรับถ้อยคำให้มีความชัดเจน ไม่ให้หมิ่นเหม่ต่อการขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ

ประชุม กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย (ภาพจากทวิตเตอร์ @katchata_peat)

สำหรับการพิจารณาร่างกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับ คณะกรรมาธิการฯ ทั้งสองคณะ จะส่งมอบร่างที่พิจารณาแล้วต่อ สนช.ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมพิจารณาลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่ในวันที่ 8 มี.ค.นี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า