SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ความคืบหน้ากรณีการเสียชีวิตของ พล.ต.อ.สล้าง ล่าสุดลูกชายเผย พ่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาหลายปีเเล้ว โดยโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย ถือว่าเป็นภัยเงียบที่ลูกหลานต้องเฝ้าระวัง 

จากการเสียชีวิตของ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค วัย 81 ปี อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ย่านถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อเวลา 11.00 น. โดยภาพจากกล้องวงจรปิดของห้างฯ บันทึกภาพ พล.ต.อ.สล้างเดินอยู่บริเวณชั้น 7 เเล้วเดินไปที่ราวกั้น ก่อนปีนเเละตกลงมาที่ชั้น 1

ล่าสุด ลูกชายของ พล.ต.อ.สล้าง ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ผู้เสียชีวิตป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามานานหลายปีแล้ว ทางทีมข่าวจึงได้ค้นหาข้อมูลของโรคนี้เพื่อให้ท่านผู้อ่านนำไปสังเกตพฤติกรรมของผู้สูงอายุภายในบ้าน เเเล้วทำการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ

โดย พญ.เทพขจี เก่งกิจโกศล ได้นำเสนอข้อมูลนี้ที่ www.samitivejhospitals.com ว่า “อาการซึมเศร้าในผู้สูงวัย อายุตั้ง 60 ปีขึ้นไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. อาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ 2.อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

สาเหตุของภาวะซึมเศร้า อาจเกิดจากโรคทางจิตเวช เช่น โรค Major depressive disorder , โรค Bipolar disorder ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองเป็นหลัก คนไข้กลุ่มนี้ควรปรึกษาหมอจิตเวช เพราะอาจมีอาการจิตเวชอื่นๆ แทรกซ้อน

ส่วนภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชโดยตรงนั้น มักจะมีสาเหตุจากปัจจัยกระตุ้นทั้งทางกาย จิต และสังคม

ปัจจัยทางกาย : ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่รุนแรง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือด ความดัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง หรือโรคที่ทำให้พิการ ร่วมถึงผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรคพากินสัน มีภาวะเนื้อสมองฝ่อตายก่อนเวลาอันควร ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ ฯลฯ

นอกจากนั้นก็ได้แก่ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานยาบางชนิด ผู้ที่มีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ หรือวิตามิน B12, Folate

ปัจจัยทางจิต และสังคม : การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในขีวิต มีปัญหาหนี้สิน รายได้น้อย ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้

โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่หย่าร้าง อยู่ตัวคนเดียว หรือสูญเสียบุคคลที่รัก อาการของโรคถ้ายังไม่รุนแรง ก็จะมีอาการตั้งแต่เศร้าเล็กน้อย อารมณ์ไม่แจ่มใส แต่ถ้าเข้าขั้นรุนแรง ก็จะมีอาการทางจิตเวชร่วมอยู่ด้วย

ส่วนอาการที่เข้าข่าย ก็อาทิเช่น 1. ถ้าเคยเป็นผู้ที่ทีอารมณ์แจ่มใส แต่เปลี่ยนไปเป็นคนหงุดหงิดง่าย 2.ไม่ค่อยมีเหตุผล 3.ขี้บ่นมากขึ้น 4.มีความสนใจสิ่งต่างน้อยลง 5.รู้สึกตัวเองไร้ค่า 6.พูดน้อย 7.ไม่ดูแลตัวเอง 8.เบื่ออาหาร 9.น้ำหนักลด 10.นอนไม่ค่อยหลับ 11.มีความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ ฯลฯ

ส่วนวิธีการรักษานั้น ถ้าสาเหตุมาจากภาวะทางจิตเวชโดยตรง ต้องปรึกษาหมอทางจิตเวช โดยการใช้ยาเป็นหลัก หากเป็นสาเหตุทางกาย ทางจิต หรือสังคม ต้องแก้ให้ตรงจุด อาจต้องอาศัยการปรับตัวของคนรอบข้าง ให้ความเข้าใจ และเอาใส่ใจดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

ในบางรายที่เป็นรุนแรง เช่น น้ำหนักลดลง นอนไม่หลับ เริ่มมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย แพทย์อาจพิจารณารักษาโดยใช้ยาร่วมด้วย โดยเริ่มใช้ยาต้านเศร้าในระดับอ่อนๆ ก่อน ซึ่งไม่จำเป็นต้องกินยาไปตลอด สามารถลดยาลงจนอาจไม่ต้องใช้ยาเลยก็ได้ ดังนั้นควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนวิธีปฏิบัติต่อผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า ต้องให้ความเอาใจใส่ ดูแล และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย โดยการคุยกันและฟังกันให้มากขึ้น เก็บของมีคม อาวุธ หรือสารพิษในบ้านให้ไกลมือผู้ป่วย ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอยู่เสมอ ไม่ควรปรับลดหรือเพิ่มยาเอง มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลจาก พญ. เทพขจี เก่งกิจโกศล โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า