Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การตั้งพรรคการเมืองถือเป็นสิทธิพื้นฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เพราะตามนิยามทางรัฐศาสตร์ พรรคการเมืองหมายถึงการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน หรือมีผลประโยชน์แบบเดียวกัน

ไม่แปลกที่เมื่อ คสช. เปิดช่องให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองหลังจากทำไม่ได้มาเกือบ 4 ปี จะมีคนจำนวนมากแสดงความจำนง  และแน่นอนว่าหลายๆ พรรคนั้นต้องการที่จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งหน้า ที่หากคำมั่นสัญญาของ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นไปตามนั้นก็น่าจะอยู่ราวเดือน ก.พ. 2562 หรืออีก 1 ปี นับจากนี้

ล่าสุดหากไม่นับพรรค “มวลมหาประชาชนฯ” ของแกนนำกลุ่ม กปปส. พรรคที่ถูกจับตามากที่สุดคือพรรคของกลุ่ม “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” นักธุรกิจหนุ่มจากกลุ่มไทยซัมมิท  ผู้ประกาศตัวว่าเป็น “ไพร่” มีแนวคิดที่จะจัดตั้งพรรคการเมือง โดยมีกระแสข่าวว่าจะมีผู้เข้าร่วมอย่าง “ปิยบุตร แสงกนกนกุล” อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ตามกระแสข่าวยังระบุว่าจะมีคนหนุ่มคนเด่นคนดังมาร่วมงานกับพรรคดังกล่าวอีกหลายคน

หลายคนมองว่านี่เป็นพรรคการเมืองทางเลือกแห่งอนาคต  ซึ่งต่างจากพรรคการเมืองที่มีอยู่ในอดีตและปัจจุบันซึ่งหลายคนดูท่าจะหมดความหวัง  จากความเป็นพรรคการเมืองรุ่นใหม่ ยึดมั่นอุดมการณ์ และเป็นตัวแทนของอุดมการณ์ทางการเมืองแบบหนึ่ง

ด้วยช่องทางตามรัฐธรรมนูญ 2560  เปิดทางให้พรรคการเมืองที่แม้ไม่มี ส.ส. เขต สามารถมี ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อได้ โดยคำนวณจากคะแนนป๊อปปูลาร์โหวตทั่วประเทศ  นั่นหมายความว่าแม้จะไม่ชนะเลือกตั้งในระบบเขตแม้แต่คนเดียว  แต่โอกาสมี ส.ส. ในสภาก็ไม่ใช่เรื่องในฝัน หากทำดีๆ มีคะแนนนิยมสัก 20% ของคนมาเลือกตั้ง ส.ส. 100 คน ก็ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้

เมื่อประตูแห่งโอกาสเปิด ใครเล่าจะไม่ลอง ว่ากันตามจริงด้วยสภาวะการเมืองแบบปัจจุบัน โอกาสสอดแทรกเข้ามาเป็น ส.ส. เขตของพรรคการเมืองทางเลือกนั้นเกิดยาก  ดังนั้นความคาดหวังกับระบบนี้จึงเกิดขึ้น

กลุ่มคนตั้งพรรคมองว่าขณะนี้พรรคการเมืองและนักการเมืองในระบบเดิมถึงทางตัน และการที่จะต่อสู้กับระบบปัจจุบันจำต้องมีทางเลือกใหม่ ต้องเป็นพรรคการเมืองที่เป็นความหวัง ต้องทำให้ประชาชนมีทางเลือก การเมืองการปกครองที่ต้องการจึงจะเดินหน้าได้  หากเป็นอย่างที่แล้วๆ มา โอกาสจะพ่ายแพ้แก่ระบอบปัจจุบันนั้นเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์

ปิยบุตร แสงกนกกุล ให้สัมภาษณ์กับ บีบีซีไทย ว่า ประเทศไทยอ่อนล้าเหนื่อยล้ากับความขัดแย้งมาสิบกว่าปี พรรคไหนชนะ อีกข้างหนึ่งก็จะต่อต้าน พรรคหนึ่งชนะ อีกข้างต่อต้าน แบบนี้ตลอดเวลา คนมีความรู้สึกว่าเลือกตั้งแล้วไม่จบ เลือกตั้งแล้วจะเจอการชุมนุม เกิดความวุ่นวาย ถ้ามีนายทหารคนหนึ่งขึ้นมาในนามของ ‘การรักษาความสงบ’ ขจัดความขัดแย้ง ทำให้บ้านเมืองสงบกลับมาเข้ารูปเข้ารอย มาในลักษณะแบบนี้ คนก็จะคิดว่าอย่างนี้เรา ‘ยอมพักประชาธิปไตยไว้ชั่วคราว’ กลับไปอยู่กับเผด็จการดีกว่า”

เช่นเดียวกับ “สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี” หรือ  “หมอเลี้ยบ” คีย์แมนคนสำคัญของพรรคไทยรักไทยในสมัยเรืองอำนาจ ระบุว่า  “พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคการเมืองอื่นๆ ที่อาสาเข้ามาบริหารประเทศในการเลือกตั้งครั้งหน้า จึงต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรับความคาดหวังของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแค่ การซ่อม (Fix), ปรับปรุง (Renovate) หรือใหญ่ขนาด รื้อถอน (Disrupt) ก็ตาม  ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสที่พรรคการเมือง “ใหม่” ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ สามารถเสนอตัวเป็นทางเลือก หากพรรคการเมืองเดิม อุ้ยอ้าย ขยับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้”

ผมทำนายว่า หลังวันที่ 1 มีนาคมนี้ เราจะได้เห็นคนหนุ่มสาวลุกขึ้นมาตั้งพรรคการเมืองของพวกเขาเอง ขับเคลื่อนโดยวิธีคิดแบบคนหนุ่มสาว เพื่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกเขาจะใช้ชีวิตไปอีก 50-60 ปี”

ถึงนาทีนี้ยังไม่ชัดเจนว่าแนวทางของพรรคการเมืองนี้จะเป็นอย่างไร  เพราะยังไม่มีใครที่พูดแทนพรรคใหม่ได้อย่างเต็มที่  แต่ที่แน่ๆ ทุกคนคาดหวังว่านี่คือพรรคทางเลือก

.

หากย้อนดูประวัติศาสตร์  พรรคที่เราเรียกกันว่าพรรคหัวก้าวหน้า พรรคทางเลือก ไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย หากแต่มีมาเรื่อยๆ  และก็เช่นกันที่กระแสแห่งการเวลาก็เปลี่ยนให้รุ่นใหม่กลายเป็นรุ่นเก่า ซึ่งถือเป็นสัจธรรมของโลก ลองมาย้อนดูว่าพรรคแห่งความหวัง พรรคทางเลือกในไทยนั้นมีพรรคใดบ้าง

พรรคประชากรไทย”  ย้อนกลับไปสมัยปี 2522 นักการเมืองหนุ่มที่แตกตัวออกมาจากพรรคประชาธิปัตย์อย่าง “สมัคร สุนทรเวช” ได้ตั้งพรรคประชากรไทย  ด้วยสไตล์ปราศรัยที่สนุก หลายคนมองว่าพรรคนี้คือทางเลือกใหม่ เอาเป็นว่าในยุคสมัยนั้น พรรคประชากรไทยกวาดที่นั่ง  29 ที่นั่งจาก 32 ที่นั่งใน กทม.

ต่อมาคือ “พรรคพลังธรรม” ที่ตั้งขึ้นในปี 2531 ยุค “มหาจำลองฟีเวอร์”  พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ปฏิวัติภาพนักการเมืองเดิมๆ มาสู่ชายผู้สมถะ ภาพนักธุรกิจการเมืองที่ร่ำรวยถูกเปลี่ยนมาเป็น ชายใช่เสื้อม่อฮ่อม หาเสียงด้วยเข่ง ชูเรื่องความยากจน ความสมถะและความซื่อสัตย์สุจริต

มหา 5 ขัน” กลายเป็นจุดขาย  ทุกคนบอกว่านี่คือทางเลือกใหม่ และ “มหาจำลอง” ก็นำทีมกวาดที่นั่ง ส.ส. กทม. ไปแบบชิลๆ 32 จาก 35 ที่นั่ง  เหลือเพียง 3 ที่นั่ง   โดยสองที่นั่งเป็นของพรรคที่เคยเป็นทางเลือกอย่าง “พรรคประชากรไทย” และ อีกหนึ่งที่นั่งตกเป็นของนักการเมืองหนุ่มอย่าง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”

สิ้นยุค “มหาจำลอง” ที่ประกาศวางมือทางการเมืองหลัง “พฤษภาทมิฬ” พรรคพลังธรรมก็กลายเป็นพรรคธรรมดาๆ จนกระทั่งปี 2538 มหาเศรษฐีหนุ่มนักธุรกิจสื่อสารนาม “ทักษิณ ชินวัตร” ก็ได้เข้าบริหารพรรค สร้างกระแสความหวังความเปลี่ยนแปลง โดยเน้นทั้งแนวคิดและการตลาด แต่ก็ได้ที่นั่งเพียง 16 ที่นั่ง และเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคชาติไทยของ “บรรหาร ศิลปอาชา”  ภาพของพรรคทางเลือกก็หายไป และพลังธรรมก็ค่อยๆ หายไปจากสาระบบ

จนปี 2541 “ทักษิณ ชินวัตร” หอบประสบการณ์จากพรรคพลังธรรม รวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งพรรคขึ้นในนาม “พรรคไทยรักไทย”  ตอนแรกเริ่ม “ไทยรักไทย” ก็ดูจะมีแนวคิดเป็นพรรคก้าวหน้าและพรรคทางเลือก เพราะเป็นการตั้งพรรคตามรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปการเมือง 2540 และรวบรวมนักคิด หัวกะทิ และกลุ่มคนเดือนตุลาฯ จำนวนมากมาไว้ เอาแค่ กรรมการบริหารขณะนั้นก็ต้องร้องอู้หู ไม่ว่าจะเป็น คณิต ณ นคร, ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ , พันธุ์เลิศ ใบหยก, สิริกร มณีรินทร์, สุวรรณ วลัยเสถียร  นอกจากนี้ยังมีคนเบื้องหลังอย่าง ภูมิธรรม เวชยชัย, เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี, ภูมินทร์ เลิศสุริย์เดช และอดีตผู้พิพากษาอย่าง พงษ์เทพ เทพกาญจนา มีการนำนโยบายที่ถูกมองข้ามอย่างหลักประกันสุขภาพของ “หมอหงวน” น.พ.สงวน นิตยารัมภ์พงษ์  มาทำให้เป็นจริงภายใต้ชื่อใหม่ 30 บาท รักษาทุกโรค”

แต่เมื่อเข้าสู่สนามเลือกตั้ง ความเป็นพรรคทางเลือก พรรคก้าวหน้า ก็หายไปเมื่อเกิดการควบรวม ร่วมมือ รวบรวมพรรคและนักการเมืองเก่าๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน

และนับจากนั้นมาก็ยังไม่มีพรรคทางเลือกพรรคใดที่ก้าวขึ้นมาสู่แถวหน้าของการเมืองไทยได้อีกเลย  ต้องจับตาดูว่าพรรค “ใหม่” ที่จะเกิดขึ้นนี้จะทำได้หรือไม่  ที่สำคัญกับดักเรื่องแนวคิดอุดมการณ์บางเรื่องอาจกลายเป็นจุดอ่อนให้ถูกโจมตี  แต่ถ้าก้าวผ่านได้  ไม่แน่ว่าเราอาจถึงคราวมี “พรรคก้าวหน้า” ขึ้นมาจริงๆ

.

บทความโดย “อสรพิษ”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า