SHARE

คัดลอกแล้ว

กระแสต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ #Me Too ปลุกไม่ขึ้นในญี่ปุ่นเพราะยิ่งเรียกร้องกลับยิ่งถูกด่า  

ท่ามกลางกระแสการเคลื่อนไหวต่อต้านการล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศซึ่งเป็นที่รู้จักในสัญลักษณ์ #Me Too และกำลังแพร่หลายไปทั่วโลก แต่ไม่ใช่ในญี่ปุ่น เพราะการออกมาเคลื่อนไหวนอกจากจะไม่ได้รับความเห็นใจแล้วยังถูกวิจารณ์แม้แต่จากผู้หญิงด้วยกันเอง

ริกะ ชิอิกิ เธอถูกโลกออนไลน์กล่าวหาว่าปั้นเรื่องขึ้นมาหลังจากที่เธอทวีตข้อความว่า ถูกยกเลิกสัญญาธุรกิจเพราะไม่ยอมมีอะไรกับลูกค้า “ฉันกลับเป็นฝ่ายถูกโจมตี เราต้องสร้างสังคมที่ผู้คนกล้าลุกขึ้นมาพูดสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่อย่างนั้นการล่วงละเมิดทางเพศและการกระทำที่ไม่สมควรก็จะไม่มีวันหมดไป”

ชิโอะริ อิโต นักข่าวสาวเป็นอีกคนหนึ่งที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองหลังอัยการปฏิเสธที่จะดำเนินคดีกับผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ต้นสังกัด เธอจึงตัดสินใจประกาศให้สังคมรู้ว่าเธอตกเป็นเหยื่อถูกเจ้านายใช้กำลังบังคับข่มขืนเมื่อหลายปีก่อน แต่ผลคือเธอถูกโลกออนไลน์วิจารณ์ว่าเป็นฝ่ายยั่วยวนและหวังทำลายชื่อเสียงของผู้บริหารนั้น

สถิติของกระทรวงยุติธรรมพบว่ามีคดีข่มขืนเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่เข้าสู่การพิจารณาคดีในชั้นศาลและส่วนใหญ่ถูกตัดสินลงโทษไม่รุนแรง

ยุกิโกะ สึโนะดะ ทนายความที่เชี่ยวชาญคดีอาญาความผิดเกี่ยวกับเพศมองว่า “#Me Too ในญี่ปุ่นปลุกไม่ขึ้นเพราะหลายคนคิดว่าการล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เหยื่อหลายคนอายที่ต้องขึ้นศาล กลัวคนรอบข้างรู้และที่สำคัญคือกลัวตกงาน”

ศาสตราจารย์มะริ มิอุระ จากมหาวิทยาลัยโซเฟียในโตเกียวกล่าวว่าในสังคมญี่ปุ่นที่ผู้ชายเป็นใหญ่ สิ่งที่เหยื่อทำได้คือลืมเรื่องที่ตัวเองถูกทำร้ายแทนที่จะออกมาร้องหาความยุติธรรม “สังคมญี่ปุ่นยังขาดความรู้สึกร่วมแม้แต่ผู้หญิงด้วยกันเอง จึงเป็นธรรมดาที่เหยื่อจะรู้สึกลังเลที่จะพูดถึงสิ่งที่ตัวเองประสบ”

มิกะ โคะบะยะชิ จัดตั้งกลุ่มที่ให้เหยื่อข่มขืนได้แบ่งปันประสบการณ์โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อจริงซึ่งตอนนี้มีสมาชิกหลายพันคน ตัวเธอเองคือหนึ่งในนั้นและจนถึงทุกวันนี้ตำรวจ

ก็ยังจับคนร้ายไม่ได้ “ฉันเคยคิดว่าตัวเองสกปรกและต้องเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ บอกใครไม่ได้เด็ดขาด แต่การได้เล่าได้คุยกับคนหัวอกเดียวกันช่วยให้ฉันเข้มแข็งขึ้น อันที่จริงถ้าใครไม่อยากลุกขึ้นมาประกาศให้สังคมรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองก็ไม่ผิด ฉันเคารพทุกการตัดสินใจถ้าสิ่งนั้นจะช่วยให้เหยื่อสบายใจที่สุด”

 

ที่มา In patriarchal Japan, saying ‘Me Too’ can be risky for women

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า