SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – เทศบาลนครยะลา ได้เป็น 1 ใน 5 เมืองน่าอยู่นำร่องของประเทศไทย ซึ่งมีผังเมืองที่สวยงามและถือเป็นผังเมืองทีดีที่สุดในประเทศ เป็นอันดับที่ 23 ของโลก ล่าสุดจับมือ กฟภ. ร่วมทุนก่อสร้างระบบไฟฟ้าใต้ดิน เตรียมรองรับเป็น “เมืองอัจฉริยะ” ในอนาคต

วันที่ 27 มีนาคม 61 เวลา 10.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณสี่แยก หน้าโรงพยาบาลยะลา นายเจษฎา จิตรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด โครงการก่อสร้างปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน บริเวณถนนสิโรรส

โครงการดังกล่าว เทศบาลนครยะลาได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เขต 3 (ภาคใต้) จังหวัดยะลา จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินบริเวณถนนสิโรรส ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร โดยนำระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าฝังลงใต้ดิน ระยะทางตั้งแต่สี่แยกโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ถึงบริเวณสามแยกตลาดสดรถไฟ งบประมาณในการดำเนินการในครั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคลงทุนงานด้านไฟฟ้า จำนวน 98 ล้านบาทเศษ และเทศบาลนครยะลาลงทุนงานด้านโยธา จำนวน 92 ล้านบาทเศษ

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เปิดเผยว่า ทางเทศบาลนครยะลาร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ทำโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน ระยะที่ 1 โดยเริ่มจากหน้าโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ถึงบริเวณถนนพาดรถไฟ ระยะที่ 2 ก็จะเริ่มจากถนนพาดรถไฟ ไปจนสิ้นสุดถนนสิโรรส ย่านตลาดเก่า โดยโครงการนี้เพื่อความสวยงามและความเป็นระเบียบ จากในอดีตที่จะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ก็จะนำลงใต้ดินทั้งหมด เพื่อสร้างความรู้สึกดีๆ ให้กับพี่น้อง

“เทศบาลนครยะลา ได้เป็น 1 ใน 5 เมืองน่าอยู่นำร่องของประเทศไทย เรามีผังเมืองที่สวยงาม ที่ถือว่าเป็นผังเมืองทีดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 23 ของโลก และเมื่อสามารถนำสายไฟลงดินได้จนเรียบร้อยนั้น ก็จะส่งผลให้เมืองมีความสวยงามมากขึ้น โดยทางการไฟฟ้ารับผิดชอบเรื่องไฟฟ้า ส่วนเทศบาลนครยะลารับผิดชอบเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ที่ในอนาคตก็จะมีการลงทุนเรื่องข่ายการสื่อสาร เพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลนครยะลาด้วย” นายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าว

นายพงษ์ศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ระยะเวลาการก่อสร้างตามสัญญาประมาณ 2 ปี เชื่อว่าน่าจะดำเนินการได้ตามระยะเวลา แต่ก็หวังไว้ว่าทางการไฟฟ้าจะเร่งรัดการก่อสร้างให้เร็วขึ้น ภายใน 500-  600 วัน ส่วนปัญหาด้านการจราจรช่วงการก่อสร้างนั้น การดำเนินการโครงการนี้เป็นการก่อสร้างโดยไม่ต้องเปิดหน้าพื้นผิวถนน ดำเนินการเพียงขุดหลุม แล้วนำเครื่องเจาะคล้ายสว่าน เจาะลงใต้ดิน เพราะฉะนั้นส่วนที่ได้รับผลกระทบก็จะมีแค่บางจุดเท่านั้น เชื่อว่าจะเกิดผลกระทบจากการจราจรน้อยมาก

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า