SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่ญี่ปุ่น ถ้าไม่มีบ้านเลขที่ก็ไม่มีงานประจำ ถ้าไม่มีงานประจำก็ไม่มีเงิน ถ้าไม่มีเงินก็เช่าบ้านไม่ได้ วงจรอุบาทว์ที่บีบให้หลายคนต้องไปอาศัยนอนตามเน็ตคาเฟ่

หนุ่มญี่ปุนวัย 26 ปี เล่าว่าช่วงแรกที่ค้างคืนที่อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เสียงกรนจากห้องข้าง ๆ เสียงคนเดินไปเดินมาทำให้เขานอนไม่หลับทั้งคืน ผ่านมา 10 เดือนตอนนี้เขาหลับสนิทได้ทั้งคืน ไม่รู้สึกรำคาญเสียงพวกนั้นแถมยังชินกับการนอนคลุมโปงกันแสงสว่างจากหลอดไฟไม่ให้แยงตา ทำให้คิดว่าชีวิตในอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ “ไม่ได้เลวร้ายนัก”

อินเทอร์เน็ตคาเฟ่มีอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่น เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สามารถค้างคืนได้ในราคาถูก บางแห่งแค่คืนละพันกว่าเยน (ประมาณ 300-400 บาท) ข้างในมีห้องเล็ก ๆ ที่กั้นแบ่งง่าย ๆ เพื่อความเป็นส่วนตัว บางที่มีห้องอาบน้ำและเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่จึงไม่ใช่แค่ที่เล่นเน็ตแต่ยังเป็น “บ้าน” ของคนไร้บ้านด้วย

ผลการสำรวจล่าสุดที่ทางการกรุงโตเกียวที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมกราคมระบุว่ามีคนใช้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เฉพาะในโตเกียววันละประมาณ 15,000 คน ในจำนวนนี้กว่า 4,000 คนเป็นคนที่ไม่มีที่พักเป็นหลักแหล่ง

หนุ่มวัย 26 ปี คนนี้เริ่มใช้ชีวิตในอินเทอร์เน็ตคาเฟ่หลังออกจากงานที่มีหอพักให้ ตอนแรกเขาคิดจะเช่าอะพาร์ตเมนต์อยู่แต่เงินไม่พอจึงตัดสินใจไปนอนตามอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ จ่ายแค่ครั้งละประมาณ 2,000 เยน ราคานี้รวมค่าน้ำค่าไฟค่าอินเทอร์เน็ต มีน้ำให้ดื่มฟรี มีผ้าห่มกับหมอนอิง และแน่นอนว่ามีพื้นที่ส่วนตัวเล็ก ๆ แต่ก็พอให้เหยียดตัวนอนได้ แม้เขาจะได้งาน รปภ.แล้วแต่ก็เป็นแค่ลูกจ้างรายชั่วโมง ยังไงก็ไม่มีเงินมากพอจะเช่าอะพาร์ตเมนต์อยู่ดี การเช่าอะพาร์ตเมนต์ในญี่ปุ่นนั้น นอกจากต้องจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าแล้วยังมีค่าแรกเข้า เงินประกันความเสียหายและอีกสารพัด

กลุ่มสนับสนุนคนไร้บ้านระบุว่าคนที่อาศัยนอนตามอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เป็นคนไร้บ้านในอีกรูปแบบหนึ่งเพราะคนกลุ่มนี้มีงานทำ ต่างจากคนไร้บ้านที่นอนตามสวนสาธารณะหรือตามริมถนน แต่ก็เป็นแค่งานชั่วคราวจึงไม่มีเงินมากพอจะเช่าที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งก็ไม่มีบ้านเลขที่ ไม่มีบ้านเลขที่ก็ไม่มีบริษัทไหนรับเป็นพนักงานประจำ ไม่มีงานประจำก็ไม่มีเงิน ทุกอย่างกลายเป็นวงจรอุบาทว์ ซึ่งจริง ๆ แล้วคนกลุ่มนี้เป็นแรงงานที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ การสนับสนุนจากภาครัฐอาจช่วยเปลี่ยนชีวิตของพวกเขา

 

ที่มา Tokyo’s internet cafe ‘refugees’ number 4,000, survey says  Japanese Homeless Find Refuge at Internet Cafes  INTERNET CAFE REFUGEES

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า