SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็น – มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด นำรูปภาพนางออง ซาน ซูจี ออกจากพื้นที่แสดงภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หลังถูกนานาชาติวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของเธอในการใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจา

วันที่ 30 กันยายน 2560 สำนักข่าว theguardian รายงานว่า มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ที่นางออง ซาน ซู จี เคยศึกษาในระดับปริญญาตรี เพิ่งนำภาพวาดของเธอออกจากการแสดงในที่สาธารณะบริเวณทางเข้าหลักของอาคารวิทยาลัย St.Hugh’s ภายหลังเสียงนานาชาติวิพากษ์วิจารณ์บทบาทของเธอในวิกฤตด้านมนุษยธรรมในเมียนมา

ทางวิทยาลัย St.Hugh’s College ซึ่งเป็นวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ตัดสินใจนำภาพของเธอออก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันก่อนวันเปิดภาคเรียนของนักศึกษาใหม่

ในปี 2555 นางจูซีได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และมีการจัดงานเลี้ยงครบรอบวันเกิด 67 ปีของเธอ ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งเธอเคยศึกษาเกี่ยวกับการเมือง ปรัชญา และเศรษฐศาสตร์ ในช่วงปี 2507 – 2510

แต่ในช่วงเดือนที่ผ่านมา (สิงหาคม – กันยายน) ผู้นำเมียนมาถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในรัฐยะไข่ จนทำให้ชาวโรฮีนจาต้องอพยพออกนอกประเทศเกือบ 500,000 คน

แถลงการณ์ของวิทยาลัย St.Hugh’s College กล่าวว่า วิทยาลัยได้รับของขวัญชิ้นใหม่เป็นภาพวาด เมื่อต้นเดือน โดยภาพดังกล่าวจะจัดแสดงแทนภาพนางซูจีเป็นระยะเวลาหนึ่ง ขณะที่ภาพของนางซูจีถูกนำไปเก็บไว้

หนังสือข่าวของนักศึกษาในวิทยาลัย St.Hugh’s College ระบุว่า การนำภาพนางซูจีออกเป็นการตัดสินของผู้บริหารวิทยาลัย ซึ่งรวมถึง Dame Elish Angiolini ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ด้วย แต่ทางผู้นำกลุ่ม Burma Campaign UK ออกมากล่าวว่าการกระทำของทางวิทยาลัยค่อนข้างขี้ขลาด และควรออกมากล่าวความจริงว่า ประเด็นที่นางซูจีออกมาปกป้องกองทัพเมียนมาที่ใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจา  และควรเขียนจดหมายถึงนางซูจี ให้เคารพสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮีนจา

ภาพวาดนางซูจีถูกวาดโดยศิลปิน Chen Yanning เมื่อปี 2540 ซึ่งภาพเป็นของนายไมเคิล อริส สามีชาวอังกฤษของนางซูจี ต่อมาเมื่อนายอริสเสียชีวิตในปี 2542 ภาพวาดดังกล่าวถูกยกให้กับวิทยาลัย St Hugh’s College และถูกแขวนใกล้กับทางเข้าหลักของวิทยาลัย บนถนน St Magaret ในนอร์ทอ๊อกซฟอร์ด

เมื่อปี 2534 นางออง ซาน ซูจี ในฐานะผู้นำพรรคฝ่ายค้านของเมียนมาในขณะนั้น ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แม้ว่าเธอจะไม่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ก็สามารถได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมียนมาในปี 2558 และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา

สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่ เมียนมา เกิดขึ้นระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มก่อความไม่สงบโรฮีนจา ส่งผลให้ชาวโรฮีนจาเกือบ 5 แสนคนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้องลี้ภัยเอาชีวิตรอดไปยังบังกลาเทศ นับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา

นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า “นางอองซานซูจีและรัฐบาลเมียนมาจำเป็นต้องให้ความชัดเจนว่ากองทัพเมียนมาควรหยุดใช้ความรุนแรง”

ในขณะที่นางซูจีออกมาปฏิเสธการใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจามาโดยตลอด และยืนยันจะให้ความคุ้มครองในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านมนุษยธรรมต่อประชาชนทุกคนในเมียนมา

อ่านเรื่องราวล่าสุดเพิ่มเติม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า