SHARE

คัดลอกแล้ว
  • ร่าง ‘พ.ร.บ.e-Payment’ มีสาระสำคัญคือ สถาบันการเงินจะต้องส่งข้อมูลบัญชีรับโอนเงินบ่อยๆ ถี่ๆ ให้กรมสรรพากรตรวจสอบภาษี
  • อธิบดีฯ ชี้ว่าเพื่อเป็นการตรวจสอบภาษีได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และป้องกันการทุจริตหรือการฟอกเงินได้
  • ภาคเอกชนบางแห่งคัดค้าน พ.ร.บ.ดังกล่าว เพราะจะยิ่งทำให้ผู้ค้าออนไลน์บางกลุ่มพยายามหนีและหลีกเลี่ยงเงินในระบบ

ตั้งแต่วันที่ 1-15 เม.ย. 2561 นี้ กรมสรรพากรอยู่ระหว่างเปิดให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือการทำธุรกรรมไร้เงินสด หรือ พ.ร.บ.e-Payment ผ่านเว็บไซด์กรมสรรพากร www.rd.go.th

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรมีอำนาจในการขอรายงานธุรกรรมการเงินของลูกค้าจากสถาบันการเงินที่เห็นว่ามีความผิดปกติได้อยู่แล้ว แต่การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเน้นไปยังลูกค้าที่มีธุรกรรมพิเศษ เช่น การขายสินค้าหรือบริการต่างๆ ระบบออนไลน์ ก็ขอให้มีการรายงานเป็นประจำทุกปี

ส่วนที่ไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการ หากมีธุรกรรมการรับหรือโอนตามที่กำหนด ก็จะต้องรายงาน เพื่อให้ทราบว่า เป็นธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอะไร ซึ่งกรณีนี้ก็จะช่วยป้องกันการทุจริตในด้านต่างๆ และรวมถึงปัญหาฟอกเงินด้วย

สำหรับธุรกรรมพิเศษที่สถาบันการเงินต้องรายงานนั้น หมายถึง ยอดฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปี หรือยอดฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้งขึ้นไปและมียอดรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาท ขึ้นไปต่อปี

นายประสงค์ กล่าวว่า ไม่กังวลเกี่ยวกับผู้ที่มีความเห็นคัดค้านการออกกฎหมายดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นการดำเนินการในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีรายอื่น และหากผู้ค้าออนไลน์เห็นว่าไม่ควรเสียภาษี ก็สามารถแสดงหลักฐานการลดหย่อนรายจ่ายต่างๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น กรณีมีรายได้ 2 ล้านบาทต่อปี แต่มีรายจ่าย เมื่อหักลดหย่อนต่างๆ ก็จะถือว่าไม่มีภาระภาษี

ด้านนายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งตลาดดอทคอม ให้ความเห็นว่า ไม่เห็นด้วยกับการออกกฏหมายดังกล่าว เนื่องจากจะยิ่งส่งผลให้สถานการณ์ทุกอย่างแย่ลง และบีบพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์บางกลุ่มพยายามหนีและหลีกเลี่ยง การใช้ระบบการเงินไทยหรือการเงินในระบบ

กฏหมายลักษณะนี้จะผลักดันให้ผู้ค้าหนีออกจากระบบธนาคารไปสู่ระบบอื่น หรือไปประเทศอื่น แนวทางการรับมือของ ร้านค้าต่างๆ คาดว่าจะได้เห็นแม่ค้าเปิดบัญชีกันมากขึ้น โดยอาจเปิดเอง หรือให้ญาติๆ เปิดให้ และกระจายเงินรายได้ออกไปยังบัญชีต่างๆ เพื่อให้สรรพากรตรวจสอบไม่พบ

สำหรับทางออกที่เหมาะสม ส่วนตัวเห็นด้วยกับการเก็บภาษีธุรกิจ แต่ควรเก็บกับผู้ที่มีรายได้จำนวนมาก หรือหากจะออกมาตรการใด ก็ไม่ควรเสียงดังจนเกินไป มิเช่นนั้นผู้ค้ารายเล็กจะเกิดความกังวลและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภาพรวม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า