SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.47″ custom_padding=”0px|0px|7px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” custom_padding=”10px|0px|12px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

สักวันหุ่นยนต์อาจคิดตีเสมอหรืออยู่เหนือมนุษย์หรือถึงขั้นฆ่ามนุษย์อย่างเหี้ยมโหดหากไม่ป้องกันไว้ก่อนด้วยการฝังชิป

ดร. Michio Kaku นักอนาคตศาสตร์ (futurist) ในสหรัฐเชื่อว่าเราสามารถยับยั้งหุ่นยนต์นักฆ่าได้ง่าย ๆ เพียงแต่ฝังชิปควบคุมความคิดลงไปในสมองหุ่นยนต์ หุ่นยนต์อาจฉลาดขึ้นและมากพอจะเป็นอันตรายกับมนุษย์ได้ก่อนสิ้นศตวรรษนี้ “เราควรฝังชิปลงไปในสมองหุ่นยนต์ เป็นชิปที่สามารถหยุดการทำงานของพวกมันได้ถ้าเกิดวันหนึ่งหุ่นยนต์พวกมันเกิดความคิดที่จะฆ่าคนขึ้นมา”

ถึงแม้เวลานี้หุ่นยนต์จะยังมี “จุดบกพร่องทางสติปัญญา” จึงทำได้แต่เดินหรืออะไรอีกนิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังไม่สามารถทำสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับมนุษย์อย่างเช่น เก็บกวาดขยะ ซ่อมแซมของเล็ก ๆ แต่ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าหุ่นยนต์จะได้รับการพัฒนาให้ฉลาดขึ้น “หุ่นยนต์อาจฉลาดขึ้นเท่าหนู จากนั้นก็เท่าแมว หมา แล้วก็ลิง” ดร. Kaku เชื่อว่าเมื่อระดับสติปัญญาของหุ่นยนต์ไปถึงจุดนั้น พวกมันก็อาจคิดที่จะก้าวขึ้นมาแทนที่หรืออยู่เหนือมนุษย์ “นี่อาจฟังดูแปลกแต่ต้องจำไว้ว่าคนในอนาคต(ซึ่งไม่ใช่รุ่นเรา)จะต้องตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองยังไงบ้างเพื่อรับมือกับหุ่นยนต์ที่ฉลาดขั้นเทพหรือฉลาดกว่ามนุษย์”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/04/1523441083_33170_robot.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”10px|0px|14px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ศาสตราจารย์ Michael Wooldridge นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์กล่าวว่า AI อาจพัฒนาตัวเองจนซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจการทำงานของมันได้ ทำให้มนุษย์ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าพวกมันกำลังคิดอะไรอยู่และจะออกนอกกรอบเมื่อไหร่ ซึ่งเท่ากับว่าเราเสี่ยงตกอยู่ในอันตรายนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น AI ในรถไร้คนขับอาจคิดขึ้นมาเองว่าจะขับรถพุ่งชนคนแทนที่จะทำตามกฎจราจร

อีลอน มัสก์ นักธุรกิจชื่อดังที่สนใจธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ บอกว่าในอนาคตมนุษย์อาจกลายเป็นแค่ “สัตว์เลี้ยง” ของหุ่นยนต์ “ทุกอย่างที่ทำให้คนเสี่ยงจะเกิดอันตรายล้วนแต่อยู่ภายใต้การควบคุมไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา รถ และ AI ก็ไม่ควรได้รับการยกเว้น” เขาเรียกร้องว่าจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้พวกมันพัฒนาตัวเองจนอยู่เหนือการควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับคำเตือนของศ. สตีเฟ่น ฮอว์กิ้น นักฟิสิกส์ทฤษฎีชื่อก้องโลกที่ว่า “เกือบจะแน่นอน” ว่าหายนะภัยทางเทคโนโลยีจะคุกคามมนุษยชาติภายใน 1,000-10,000 ปีข้างหน้า

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า